การลงนามในความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 2, 2011 17:01 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้

1. เห็นชอบความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

2. นำเสนอความตกลงในข้อ 1. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3. เมื่อรัฐสภาเห็นชอบความตกลงตามข้อ 1. แล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สามารถลงนามในความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ผู้ลงนามสามารถใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้

4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ และหลังจากลงนามแล้ว ให้ กต. แจ้งผลการรับรองผูกพันความตกลงฯ ต่อประเทศอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ

ข้อเท็จจริง

พณ. เสนอว่า

1. ไทยและอินโดนีเซียเห็นพ้องกันที่จะจัดทำความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้เสนอร่างความตกลงทางการค้าให้อินโดนีเซียพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย (JC) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2541 ณ อินโดนีเซีย

2. ต่อมาทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในหลักการว่า เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป จึงควรยกร่างความตกลงใหม่โดยยึดตามกรอบความร่วมมือในลักษณะ Strategic Partnership ซึ่งได้ยกร่างความตกลงฉบับใหม่ และทั้งสองประเทศได้ปรับแก้ไขตลอดมา จนทั้งสองฝ่ายสามารถสรุปสาระสำคัญเป็นร่างสุดท้าย

3. คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการต่อร่างความตกลงดังกล่าว และให้ พณ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนเสนอรัฐสภาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป

4. อินโดนีเซียได้เห็นชอบกับร่างสุดท้ายที่ไทยเสนอแก้ไข และเสนอให้มีการลงนามในความตกลงดังกล่าว ในการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN SUMMIT) ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2554 ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

สาระสำคัญของเรื่อง

          ความตกลงฯ                           สาระสำคัญ
          1. การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการ         ไทยและอินโดนีเซียจะให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง
             อนุเคราะห์ยิ่ง (ข้อ 2)                (Most-Favoured-Nation Treatment : MFN) แก่อีกฝ่ายหนึ่ง

โดยให้เป็นไปตาม หลักการและกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก

          2. การปกป้องสิทธิในด้านทรัพย์สินทาง        ไทยและอินโดนีเซียจะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของอีกฝ่ายหนึ่ง
          ปัญญา (ข้อ 4)                         ตามหลักเกณฑ์ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับ

การค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights)

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงรอบอุรุกวัย

3. การส่งเสริมและอำนวยความสะดวก ไทยและอินโดนีเซียตกลงที่จะดำเนินการต่างๆ ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรม

          เพื่อเสริมสร้างการค้า และเรื่องที่           ทางการค้าและเศรษฐกิจ  และการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อขยายและ
          เกี่ยวข้องกับการค้า (ข้อ 6)               พัฒนาการค้าระหว่างกัน
          4. ข้อยกเว้นทั่วไปและข้อจำกัดในการ        ไทยและอินโดนีเซียสามารถใช้มาตรการปกป้อง (Safeguard measures) ใน

ใช้มาตรการปกป้องดุลการชำระเงิน (ข้อ 9) ลักษณะที่ไม่เลือกปฏิบัติ และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตกลงกันเท่านั้น

เช่น เพื่อสุขอนามัยของคน พืช สัตว์ และเพื่อป้องกันสมบัติ หรือวัตถุโบราณ

ของชาติ เป็นต้น

          5. การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทาง          ไทยและอินโดนีเซียจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระดับรัฐมนตรี
          การค้า (ข้อ 10)                       (Joint Trade Committee : JTC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงพาณิชย์ของไทย

และรัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียเป็นประธานร่วม โดยหน้าที่ของ

JTC ประกอบด้วย การทบทวน พิจารณาการดำเนินการตามความตกลงทางการค้าฯ

การหามาตรการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ

ตามความตกลง และการหามาตรการในการขยายการค้าที่เป็นประโยชน์แก่ทั้ง

สองประเทศ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 มีนาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ