เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ [ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 มีนาคม 2555]
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 มีนาคม 2555 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของเรื่อง
รง. รายงานว่า
1. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 ได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 222 บาท ถึงวันละ 300 บาท โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในบางสาขาอาชีพและบางระดับมีอัตราค่าจ้างน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนั้น คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 จึงได้มีการทบทวนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 22 สาขาอาชีพ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงานและไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง และกลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
2. ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 ได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 22 สาขาอาชีพ ตามที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือทั้ง 6 กลุ่มสาขาอาชีพเสนอ โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 11.7 — 42.9 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการปรับค่าจ้างในอัตราที่แตกต่างกันตามสภาพการจ้างงานของตลาดแรงงานในแต่ละสาขาอาชีพและระดับ ตามทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ ตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับที่กำหนดได้รับอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม และเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างได้มีการพัฒนาฝีมือให้สูงขึ้น ช่วยแก้ไขการขาดแคลนแรงงานระดับช่างฝีมื และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีด้วย โดยมีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขาอาชีพ ดังนี้
กลุ่มสาขาอาชีพ/สาขาอาชีพ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 1. ช่างเครื่องกล 1.1 ช่างสีรถยนต์ ไม่น้อยกว่า 400 465 530 1.2 ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ไม่น้อยกว่า 420 505 590 1.3 ช่างซ่อมรถยนต์ ไม่น้อยกว่า 360 445 530 2.ภาคบริการ 2.1 ผู้ประกอบอาหารไทย ไม่น้อยกว่า 400 510 ไม่มีระดับ 3 2.2 พนักงานนวดไทย ไม่น้อยกว่า 440 580 720 2.3 นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไม่น้อยกว่า 490 650 ไม่มีระดับ 3 สปาตะวันตก (หัตถบำบัด) 3. ช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ 3.1 ช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 400 500 600 3.2 ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ไม่น้อยกว่า 400 500 600 3.3 ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 400 500 600 3.4 ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้าน ไม่น้อยกว่า 400 500 600 และการพาณิชย์ขนาดเล็ก 3.5 ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์) 400 500 ไม่มีระดับ 3 4. ช่างอุตสาหการ 4.1 ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วย ไม่น้อยกว่า 460 530 670 คอมพิวเตอร์ 4.2 ช่างเชื่อมแม็ก ไม่น้อยกว่า 400 500 600 4.3 ช่างเชื่อมทิก ไม่น้อยกว่า 455 615 775 5. ช่างก่อสร้าง 5.1 ช่างไม้ก่อสร้าง ไม่น้อยกว่า 385 495 605 5.2 ช่างก่ออิฐ ไม่น้อยกว่า 345 465 585 5.3 ช่างฉาบปูน ไม่น้อยกว่า 385 495 605 5.4 ช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง ไม่น้อยกว่า 365 475 585 6. ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 6.1 ช่างเย็บ ไม่น้อยกว่า 320 370 500 6.2 ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี)ไม่น้อยกว่า 400 550 750 6.3 ช่างเครื่องเรือนไม้ ไม่น้อยกว่า 335 385 435 6.4 ช่างบุครุภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 320 370 420
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง
เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 3)
-----------------------------------
ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 22 สาขาอาชีพ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554 และประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
ข้อ 2 ในประกาศนี้
“มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้
(1) สาขาอาชีพช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท
(2) สาขาอาชีพช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบบาท
(3) สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท
(4) สาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท
(5) สาขาอาชีพพนักงานนวดไทย ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยยี่สิบบาท
(6) สาขาอาชีพนักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก(หัตถบำบัด) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท
(7) สาขาอาชีพช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท
(8) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท
(9) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท
(10) สาขาอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท
(11) สาขาอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท
(12) สาขาอาชีพช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยเจ็ดสิบบาท
(13) สาขาอาชีพช่างเชื่อมแม็ก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท
(14) สาขาอาชีพช่างเชื่อมทิก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าบาท
(15) สาขาอาชีพช่างไม้ก่อสร้าง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท
(16) สาขาอาชีพช่างก่ออิฐ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสี่สิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท
(17) สาขาอาชีพช่างฉาบปูน ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท
(18) สาขาอาชีพช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท
(19) สาขาอาชีพช่างเย็บ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท
(20) สาขาอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยห้าสิบบาท
(21) สาขาอาชีพช่างเครื่องเรือนไม้ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสามสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบห้าบาท
(22) สาขาอาชีพช่างบุครุภัณฑ์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท
ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (22) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง
ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น
ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใดไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว
เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป
ข้อ 7 ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2555--จบ--