ทำเนียบรัฐบาล--7 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาวงเงินและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอแล้วมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1. นโยบายและแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 ตาม
แนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2542 ตามประมาณรายได้
และวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542
2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 โดยให้สำนักงบ
ประมาณปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงบประมาณภายในวงเงินที่กำหนดได้ตามความเหมาะสมกับความ
จำเป็น
แนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2542
เศรษฐกิจไทยในปี 2542 คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2541 กล่าวคือ อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ -3.0 ถึง -3.5 ในปี 2541 และอัตราเงิน
เฟ้อจะลดลงจากร้อยละ 11.6 เป็น 6.0 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจทั่วไปในปี 2542 มีแนว
โน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น แต่ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะยังไม่ฟื้นขึ้นมากภายใต้ภาวะการณ์ดังกล่าวรัฐบาล
จำเป็นที่จะต้องดูแลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ให้สอดคล้องกับการดำเนิน
นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท และให้มีการลงทุนในระดับที่เหมาะสม ดังนั้น
เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ นโยบายการจัดสรรงบประมาณจึงมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย
รัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยน
แปลงไป โดยจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินงานที่ควรสนับสนุน และ
ส่วนที่สองเป็นแนวทางที่ควรพิจารณาตัดทอน ชะลอ หรือยกเลิก
สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่ควรสนับสนุน ประกอบด้วย มาตรการเร่งด่วน ซึ่งจะมี
ส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปโดยเร็ว และมาตรการหลัก ซึ่งมีความจำเป็น
ต้องได้รับการสนับสนุนและจะมีผลในการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งสรุปได้ดังนี้
มาตรการเร่งด่วน 1) การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก 2) การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวและบริการ 3) การลดผลกระทบทางสังคมจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
มาตรการหลัก 1) การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2) การพัฒนาคนและสังคม 3) การปรับระบบบริหารและการจัดการของรัฐ
ประมาณการรายได้และวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542
เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมาย
ทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และเพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลัง
จึงเห็นควรจัดทำงบประมาณประจำปี 2542 เป็นงบประมาณสมดุลโดยให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย
จำนวน 800,000 ล้านบาท เท่ากับประมาณการรายได้สุทธิ
ประมาณการรายได้ ในปีงบประมาณ 2542 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวม
เป็นจำนวน 862,690 ล้านบาทและเมื่อหักการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ๆ รวมทั้งการกันเงินเพื่อ
ชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออกรวม จำนวน 62,690 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิจำนวน
800,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.3 ของผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจาก
ประมาณการรายได้สุทธิที่ได้ปรับปรุงใหม่ของปีงบประมาณ 2541 จำนวน 17,980 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.3 โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
:ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2541 ปีงบประมาณ 2542
หน่วยงาน/รายการ คาดการณ์ อัตราเพิ่มจาก คาดการณ์ อัตราเพิ่มจาก
24 ก.พ. 41 ปี 2540 6 มี.ค. 41 ปี 2541
1. กรมสรรพากร 488,441 - 5.8 530,420 8.6
2. กรมสรรพสามิต 155,125 -13.9 165,050 6.4
3. กรมศุลกากร 80,638 -22.6 80,500 0.2
4. หน่วยงานอื่น 115,456 8.7 86,720 4.9
5. รายได้รวม 839,660 - 7.6 862,690 2.7
6. หัก - การคืนภาษี 50,400 -21.9 55,000 9.1
- การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก 7,240 - 0.1 7,690 6.2
7. รายได้สุทธิ 782,020 - 6.6 800,000 2.3
8. สัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 15.4 14.3
งบประมาณรายจ่าย เห็นควรกำหนดวงเงินงบประมาณปี 2542 เป็นจำนวน 800,000 ล้าน
บาท เท่ากับประมาณการรายได้สุทธิ เพื่อให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล โดยงบประมาณรายจ่ายจำนวนนี้มี
จำนวนเท่ากับงบประมาณปี 2541 ซึ่งปรับลดวงเงินแล้วหรือคิดเป็นร้อยละ 14.3 ของผลิตภัณฑ์รวมของ
ประเทศ (GDP) เทียบกับร้อยละ 15.8 ในปีปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบของงบประมาณรายจ่ายที่สำคัญ
ดังนี้
1) รายจ่ายลงทุน กำหนดไว้เป็นจำนวนประมาณ 216,311.1 ล้านบาท ลดลงจากปีปัจจุบัน
40,121.7 ล้านบาท หรือลดลงประมาณร้อยละ 15.6 และคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27.0 ของวง
เงินงบประมาณรวมเทียบกับร้อยละ 32.1 ของปีปัจจุบัน
2) รายจ่ายประจำ กำหนดไว้เป็นจำนวนประมาณ 578,338.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
ปัจจุบัน 66,007.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12.9 ประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการบริหาร
และการป้องกันประเทศ จำนวน 247,077.7 ล้านบาท รายจ่ายเพื่อดำเนินการด้านสังคม จำนวน
281,424.0 ล้านบาท และรายจ่ายเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจ 49,837.0 ล้านบาท
3) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ กำหนดไว้เป็นจำนวน 5,350.2 ล้านบาท ลดลงจากปี
ปัจจุบัน 25,885.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 82.9 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของวงเงิน
งบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 3.9 ในปีปัจจุบัน การที่รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ในปีงบประมาณ
2542 ลดลงจากปีก่อนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้มีการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้สำหรับโครงสร้าง
งบประมาณรายจ่ายปี 2542 ซึ่งประกอบด้วยรายจ่ายลงทุน รายจ่ายประจำ และรายจ่ายชำระคืนต้น
เงินกู้ มีรายละเอียดสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณปี 2541 งบประมาณปี 2542
รายการ วงเงิน + เพิ่ม / - ลด วงเงิน + เพิ่ม / - ลด
จำนวน % จำนวน %
1. งบประมาณรายจ่าย 800,000.0 -125,000.0 -13.5 800,000.0 0.0 0.0
(สัดส่วนต่อ GDP) 15.8 14.3
ก. รายจ่ายลงทุน 256,432.8 -123,617.2 -32.5 216,311.1 -40,121.7 -15.6
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 32.1 27.0
ข. รายจ่ายประจำ 512,331.1 - 8,122.0 - 1.6 578,338.7 66,007.6 12.9
- เพื่อการบริหารและการป้องกันประเทศ 197,936.4 - 24,540.8 -11.0 247,077.7 49,141.3 24.8
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 24.7 30.9
- เพื่อดำเนินการด้านสังคม 262,027.2 18,123.9 7.4 281,424.0 19,396.8 7.4
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 32.8 35.2
- เพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจ 52,367.5 - 1,705.1 - 3.2 49,837.0 - 2,530.5 - 4.8
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 6.5 6.2
ค. ชำระคืนต้นเงินกู้ 31,236.1 6,739.2 27.5 5,350.2 -25,885.9 -82.9
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 3.9 0.7
2. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 5,076,000.0 272,000.0 5.7 583,000.0 507,000.0 10.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 เมษายน 2541--
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาวงเงินและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอแล้วมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1. นโยบายและแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 ตาม
แนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2542 ตามประมาณรายได้
และวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542
2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 โดยให้สำนักงบ
ประมาณปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงบประมาณภายในวงเงินที่กำหนดได้ตามความเหมาะสมกับความ
จำเป็น
แนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2542
เศรษฐกิจไทยในปี 2542 คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2541 กล่าวคือ อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ -3.0 ถึง -3.5 ในปี 2541 และอัตราเงิน
เฟ้อจะลดลงจากร้อยละ 11.6 เป็น 6.0 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจทั่วไปในปี 2542 มีแนว
โน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น แต่ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะยังไม่ฟื้นขึ้นมากภายใต้ภาวะการณ์ดังกล่าวรัฐบาล
จำเป็นที่จะต้องดูแลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ให้สอดคล้องกับการดำเนิน
นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท และให้มีการลงทุนในระดับที่เหมาะสม ดังนั้น
เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ นโยบายการจัดสรรงบประมาณจึงมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย
รัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยน
แปลงไป โดยจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินงานที่ควรสนับสนุน และ
ส่วนที่สองเป็นแนวทางที่ควรพิจารณาตัดทอน ชะลอ หรือยกเลิก
สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่ควรสนับสนุน ประกอบด้วย มาตรการเร่งด่วน ซึ่งจะมี
ส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปโดยเร็ว และมาตรการหลัก ซึ่งมีความจำเป็น
ต้องได้รับการสนับสนุนและจะมีผลในการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งสรุปได้ดังนี้
มาตรการเร่งด่วน 1) การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก 2) การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวและบริการ 3) การลดผลกระทบทางสังคมจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
มาตรการหลัก 1) การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2) การพัฒนาคนและสังคม 3) การปรับระบบบริหารและการจัดการของรัฐ
ประมาณการรายได้และวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542
เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2542 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมาย
ทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และเพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลัง
จึงเห็นควรจัดทำงบประมาณประจำปี 2542 เป็นงบประมาณสมดุลโดยให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย
จำนวน 800,000 ล้านบาท เท่ากับประมาณการรายได้สุทธิ
ประมาณการรายได้ ในปีงบประมาณ 2542 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวม
เป็นจำนวน 862,690 ล้านบาทและเมื่อหักการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ๆ รวมทั้งการกันเงินเพื่อ
ชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออกรวม จำนวน 62,690 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิจำนวน
800,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.3 ของผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจาก
ประมาณการรายได้สุทธิที่ได้ปรับปรุงใหม่ของปีงบประมาณ 2541 จำนวน 17,980 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.3 โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
:ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2541 ปีงบประมาณ 2542
หน่วยงาน/รายการ คาดการณ์ อัตราเพิ่มจาก คาดการณ์ อัตราเพิ่มจาก
24 ก.พ. 41 ปี 2540 6 มี.ค. 41 ปี 2541
1. กรมสรรพากร 488,441 - 5.8 530,420 8.6
2. กรมสรรพสามิต 155,125 -13.9 165,050 6.4
3. กรมศุลกากร 80,638 -22.6 80,500 0.2
4. หน่วยงานอื่น 115,456 8.7 86,720 4.9
5. รายได้รวม 839,660 - 7.6 862,690 2.7
6. หัก - การคืนภาษี 50,400 -21.9 55,000 9.1
- การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก 7,240 - 0.1 7,690 6.2
7. รายได้สุทธิ 782,020 - 6.6 800,000 2.3
8. สัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 15.4 14.3
งบประมาณรายจ่าย เห็นควรกำหนดวงเงินงบประมาณปี 2542 เป็นจำนวน 800,000 ล้าน
บาท เท่ากับประมาณการรายได้สุทธิ เพื่อให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล โดยงบประมาณรายจ่ายจำนวนนี้มี
จำนวนเท่ากับงบประมาณปี 2541 ซึ่งปรับลดวงเงินแล้วหรือคิดเป็นร้อยละ 14.3 ของผลิตภัณฑ์รวมของ
ประเทศ (GDP) เทียบกับร้อยละ 15.8 ในปีปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบของงบประมาณรายจ่ายที่สำคัญ
ดังนี้
1) รายจ่ายลงทุน กำหนดไว้เป็นจำนวนประมาณ 216,311.1 ล้านบาท ลดลงจากปีปัจจุบัน
40,121.7 ล้านบาท หรือลดลงประมาณร้อยละ 15.6 และคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27.0 ของวง
เงินงบประมาณรวมเทียบกับร้อยละ 32.1 ของปีปัจจุบัน
2) รายจ่ายประจำ กำหนดไว้เป็นจำนวนประมาณ 578,338.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
ปัจจุบัน 66,007.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12.9 ประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการบริหาร
และการป้องกันประเทศ จำนวน 247,077.7 ล้านบาท รายจ่ายเพื่อดำเนินการด้านสังคม จำนวน
281,424.0 ล้านบาท และรายจ่ายเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจ 49,837.0 ล้านบาท
3) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ กำหนดไว้เป็นจำนวน 5,350.2 ล้านบาท ลดลงจากปี
ปัจจุบัน 25,885.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 82.9 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของวงเงิน
งบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 3.9 ในปีปัจจุบัน การที่รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ในปีงบประมาณ
2542 ลดลงจากปีก่อนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้มีการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้สำหรับโครงสร้าง
งบประมาณรายจ่ายปี 2542 ซึ่งประกอบด้วยรายจ่ายลงทุน รายจ่ายประจำ และรายจ่ายชำระคืนต้น
เงินกู้ มีรายละเอียดสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณปี 2541 งบประมาณปี 2542
รายการ วงเงิน + เพิ่ม / - ลด วงเงิน + เพิ่ม / - ลด
จำนวน % จำนวน %
1. งบประมาณรายจ่าย 800,000.0 -125,000.0 -13.5 800,000.0 0.0 0.0
(สัดส่วนต่อ GDP) 15.8 14.3
ก. รายจ่ายลงทุน 256,432.8 -123,617.2 -32.5 216,311.1 -40,121.7 -15.6
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 32.1 27.0
ข. รายจ่ายประจำ 512,331.1 - 8,122.0 - 1.6 578,338.7 66,007.6 12.9
- เพื่อการบริหารและการป้องกันประเทศ 197,936.4 - 24,540.8 -11.0 247,077.7 49,141.3 24.8
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 24.7 30.9
- เพื่อดำเนินการด้านสังคม 262,027.2 18,123.9 7.4 281,424.0 19,396.8 7.4
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 32.8 35.2
- เพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจ 52,367.5 - 1,705.1 - 3.2 49,837.0 - 2,530.5 - 4.8
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 6.5 6.2
ค. ชำระคืนต้นเงินกู้ 31,236.1 6,739.2 27.5 5,350.2 -25,885.9 -82.9
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 3.9 0.7
2. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 5,076,000.0 272,000.0 5.7 583,000.0 507,000.0 10.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 เมษายน 2541--