ทำเนียบรัฐบาล--19 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่อง ผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ และปัญหาการขาดสภาพคล่องด้านการเงินของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อการเปลี่ยนเครื่องจักรผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บรรษัทฯ) โดยกำหนดสัดส่วนเงินให้ความช่วยเหลือแก่ ธสน. หรือบรรษัทฯ เป็นจำนวนเงินไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนเงินที่ธสน. หรือบรรษัทฯ จะให้กู้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม หรือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 6,250 ล้านบาท กำหนดใช้เงินไม่เกิน 5 ปี การให้ความช่วยเหลือแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกปี 2540 - 2541 และระยะที่สองปี 2542 - 2543 เมื่อรวมเงินช่วยเหลือจาก ธปท. และเงินสมทบจาก ธสน. และบรรษัทฯ จะมีวงเงินสำหรับช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 25,000ล้านบาท
ในปี 2540 ธปท. ได้จัดสรรเงินช่วยเหลือ ธสน. และบรรษัทฯ จำนวน 500 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ประกอบการได้ยื่นความประสงค์ขอกู้เงินต่อสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวน 51 ราย ผ่านการพิจารณารับรองจากสถาบันฯ แล้วจำนวน28 ราย ได้รับการอนุมัติวงเงินจาก ธสน. แล้ว 3 ราย จำนวนเงิน 129.15 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติจาก ธสน.และบรรษัทฯ จำนวน 18 ราย และไม่ผ่านการพิจารณา 3 ราย
ในปี 2541 ธปท. จะให้เงินช่วยเหลือจำนวน 1,750 ล้านบาท ในปี 2542 จำนวน 2,000 ล้านบาท และปี 2543 จำนวน 2,000 ล้านบาท
เนื่องจากกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเป็นมาตรการสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และสอดคล้องกับแนวทางปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมีมติให้ ธปท., ธสน. และบรรษัทฯ ให้การสนับสนุนและเร่งรัดการพิจารณาโครงการที่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอยื่นความประสงค์ขอกู้เงินจากกองทุนดังกล่าว
2. พิจารณาปัญหาการขาดสภาพคล่องด้านการเงินของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในฤดูการผลิตปี2540/2541 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมต้องการให้นำเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย โดยโยกย้ายจากธนาคารพาณิชย์มาอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า คงจะต้องนำเงินของ ธกส. เองมาดำเนินการ และปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ ธนาคาพาณิชย์ต่าง ๆ ปล่อยเงินกู้ออกมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้ค้าหลายรายยังมีปัญหาผูกพันกับธนาคารพาณิชย์เรื่องหนี้เดิมอยู่
ดังนั้น คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ ติดตามดูแลเรื่องนี้ ลักษณะเดียวกันกับการส่งออกข้าวซึ่งเป็นปัญหารายสาขา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มกราคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่อง ผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ และปัญหาการขาดสภาพคล่องด้านการเงินของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อการเปลี่ยนเครื่องจักรผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บรรษัทฯ) โดยกำหนดสัดส่วนเงินให้ความช่วยเหลือแก่ ธสน. หรือบรรษัทฯ เป็นจำนวนเงินไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนเงินที่ธสน. หรือบรรษัทฯ จะให้กู้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม หรือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 6,250 ล้านบาท กำหนดใช้เงินไม่เกิน 5 ปี การให้ความช่วยเหลือแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกปี 2540 - 2541 และระยะที่สองปี 2542 - 2543 เมื่อรวมเงินช่วยเหลือจาก ธปท. และเงินสมทบจาก ธสน. และบรรษัทฯ จะมีวงเงินสำหรับช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 25,000ล้านบาท
ในปี 2540 ธปท. ได้จัดสรรเงินช่วยเหลือ ธสน. และบรรษัทฯ จำนวน 500 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ประกอบการได้ยื่นความประสงค์ขอกู้เงินต่อสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวน 51 ราย ผ่านการพิจารณารับรองจากสถาบันฯ แล้วจำนวน28 ราย ได้รับการอนุมัติวงเงินจาก ธสน. แล้ว 3 ราย จำนวนเงิน 129.15 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติจาก ธสน.และบรรษัทฯ จำนวน 18 ราย และไม่ผ่านการพิจารณา 3 ราย
ในปี 2541 ธปท. จะให้เงินช่วยเหลือจำนวน 1,750 ล้านบาท ในปี 2542 จำนวน 2,000 ล้านบาท และปี 2543 จำนวน 2,000 ล้านบาท
เนื่องจากกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเป็นมาตรการสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และสอดคล้องกับแนวทางปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมีมติให้ ธปท., ธสน. และบรรษัทฯ ให้การสนับสนุนและเร่งรัดการพิจารณาโครงการที่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอยื่นความประสงค์ขอกู้เงินจากกองทุนดังกล่าว
2. พิจารณาปัญหาการขาดสภาพคล่องด้านการเงินของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในฤดูการผลิตปี2540/2541 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมต้องการให้นำเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย โดยโยกย้ายจากธนาคารพาณิชย์มาอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า คงจะต้องนำเงินของ ธกส. เองมาดำเนินการ และปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ ธนาคาพาณิชย์ต่าง ๆ ปล่อยเงินกู้ออกมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้ค้าหลายรายยังมีปัญหาผูกพันกับธนาคารพาณิชย์เรื่องหนี้เดิมอยู่
ดังนั้น คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ ติดตามดูแลเรื่องนี้ ลักษณะเดียวกันกับการส่งออกข้าวซึ่งเป็นปัญหารายสาขา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มกราคม 2541--