ทำเนียบรัฐบาล--29 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่อง ร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิส และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทางการทูตเพื่อให้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างประเทศทั้งสองต่อไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ตุลาคม 2536) อนุมัติให้คณะผู้แทนรัฐบาลไทยดำเนินการเจรจาจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิส รวม 5 รอบ นั้น คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ทุกข้อบท และได้มีการลงนามย่อกำกับร่างอนุสัญญาฯ ฉบับที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยแล้วแต่เนื่องจากร่างอนุสัญญาฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเว้นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ทำนองเดียวกับอนุสัญญาหรือความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่น ๆ และมีผลบังคับใช้มานานแล้ว (ขณะนี้มี 26 ประเทศ) การมีอนุสัญญาฯ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนระหว่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอนุสัญญาฯ ได้มีการจำกัดเพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศอันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศแล้ว รวมถึงส่งเสริมให้ธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่อง ร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิส และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทางการทูตเพื่อให้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างประเทศทั้งสองต่อไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ตุลาคม 2536) อนุมัติให้คณะผู้แทนรัฐบาลไทยดำเนินการเจรจาจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิส รวม 5 รอบ นั้น คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ทุกข้อบท และได้มีการลงนามย่อกำกับร่างอนุสัญญาฯ ฉบับที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยแล้วแต่เนื่องจากร่างอนุสัญญาฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเว้นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ทำนองเดียวกับอนุสัญญาหรือความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่น ๆ และมีผลบังคับใช้มานานแล้ว (ขณะนี้มี 26 ประเทศ) การมีอนุสัญญาฯ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนระหว่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอนุสัญญาฯ ได้มีการจำกัดเพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศอันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศแล้ว รวมถึงส่งเสริมให้ธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--