ทำเนียบรัฐบาล--24 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบกับการปรับแผนการคลังตามหนังสือแจ้งความจำนงฉบับที่ 3 ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และ IMF ได้หารือร่วมกันมาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
1. ผ่อนปรนเงื่อนไขเดิมที่กำหนดให้ดุลการคลังของรัฐบาลต้องเกินดุลร้อยละ 1 ของ GDP เป็นยอมให้ขาดดุลได้ร้อยละ 1.5 ของ GDP เนื่องจาก
- IMF ตระหนักว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชลอตัวกว่าที่คาดไว้และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี 2541 จะจัดเก็บได้เพียง 775,000 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเดิม จำนวน 97,000 ล้านบาท
- ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อ ทำให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541 มีภาระเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมอีกประมาณ 58,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายมีมากขึ้น หากดำรงฐานะการคลังไว้เกินดุลดังเดิมก็จะเป็นภาระต่อเศรษฐกิจมากเกินไป2. ในการขาดดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP นี้ ยอมให้งบประมาณขาดดุลได้ร้อยละ 1 ของ GDP และการใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ อันประกอบด้วย เงินกู้จากธนาคารโลก ADB OECF และเงินกู้ต่างประเทศอื่นของรัฐบาล ให้ขาดดุลได้ ร้อยละ 0.5 ของ GDP โดยไม่ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ทั้งนี้เพื่ออำนวยให้รัฐบาลสามารถจัดทำโครงการเพื่อลดผลกระทบทางสังคม (Social Safety Net) อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อแลกกับการผ่อนปรนเงื่อนไขจากการเกินดุลเป็นการขาดดุล รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 เป็นต้นไป
4. เพื่อให้ดุลงบประมาณขาดดุลไม่เกินร้อยละ 1.5 ของ GDP รัฐบาลจะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.25 ของ GDP ในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2541 ซึ่งเป็นมาตรการภาษีที่ต้องเพิ่มประมาณ 10,000 ล้านบาท มาตรการภาษีนี้ก็เพื่อสร้างฐานให้โครงสร้างการคลังปรับตัวดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
5. กำหนดให้ปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากร้อยละ 82.0 เป็นร้อยละ 86.3 ของวงเงินงบประมาณ 800,000 ล้านบาท หรือเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นประมาณ 33,660 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการเบิกจ่ายที่จะเกิดขึ้นจริง และควบคุมการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2541 เพื่อให้สามารถประหยัดงบประมาณเป็นจำนวนร้อยละ 0.25 ของ GDP หรือประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อลดจำนวนเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี อันเป็นการบรรเทาภาระงบประมาณในปี 2542
6. ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจขาดดุลได้ในอัตราร้อยละ 0.5 ของ GDP หรือเป็นจำนวนเงิน 22,000 ล้านบาท จากที่เคยกำหนดให้สมดุล ซึ่งเมื่อรวมกับการขาดดุลของรัฐบาลจะเป็นการขาดดุลภาครัฐบาลทั้งสิ้นร้อยละ 2.0 ของ GDP
สำหรับมาตรการภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาลในวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้
(1) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากน้ำมันเบนซิน ลิตรละ 1 บาท
(2) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากเบียร์ จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 53
(3) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากไวน์ จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 55
(4) เพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากผลิตภัณฑ์ยาสูบที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
(5) เพิ่มภาษีศุลกากรจากการนำเข้าสินค้า 8 รายการ ซึ่งไม่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือมีสิ่งอื่นที่ทดแทนได้ ซึ่งได้แก่
- ผ้าขนสัตว์ จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 40
- น้ำหอม จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- เครื่องสำอาง จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- กระเป๋าและเข็มขัดหนัง จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- รองเท้าทำด้วยหนังและผ้าใบ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- เครื่องแก้วเลคคริสตัลที่ใช้บนโต๊ะอาหาร จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 35
- เครื่องประดับคริสตัล จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
- สูท เสื้อ กางเกง กระโปรง และเนคไท รวมเครื่องชั้นใน จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
(6) มอบอำนาจให้กรมที่ดินเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากการขาย อสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้เก็บภาษีเมื่อมีการจดทะเบียนการโอน
(7) ปรับเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ (ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเสียเป็นรายปี) เฉพาะรถที่จดทะเบียนใหม่ โดยเร่งรัดการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ และพระราชบัญญัติขนส่งให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
การผ่อนปรนเงื่อนไขของ IMF จากเดิมกำหนดให้มีการรักษาการเกินดุลการคลังภาครัฐบาลในปีงบประมาณ 2541 ร้อยละ 1 ของ GDP เป็นการขาดดุลภาครัฐบาล ร้อยละ 2.0 ของ GDP โดยจำแนกเป็นการขาดดุลของรัฐบาลกลางร้อยละ 1.5 และเป็นการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.5 มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ทำให้ไม่ต้องมีการปรับลดงบประมาณลงอีก 146,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง 97,000 ล้านบาท และภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอีกเนื่องมาจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินสดเพิ่มขึ้น 49,000 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่มีการนำมาตรการด้านรายได้มาใช้ และรัฐบาลต้องรักษาการเกินดุลการคลังก็จำเป็นต้องมีมาตรการปรับลดรายจ่ายลงเป็นจำนวนมาก
2. ทำให้ไม่ต้องมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมถึง 146,000 ล้านบาท หากไม่ใช้มาตรการปรับลดงบประมาณ
3. ทำให้สามารถใช้เงินกู้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 17,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น และเมื่อนำเงินดังกล่าวมาแลกเป็นเงินบาทก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เงินกู้ดังกล่าวยังนำมาใช้ดำเนินการโครงการเพื่อลดผลกระทบทางสังคม และบรรเทาปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตทางเศรษฐกิจอีกด้วย
4. ทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้อีกเป็นจำนวน 22,000 ล้านบาท
5. ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการใช้งบประมาณขาดดุลเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต่างจากงบประมาณเกินดุล ซึ่งเป็นการชะลอเศรษฐกิจ การเปลี่ยนฐานะดุลการคลังภาครัฐบาลนี้ ทำให้มีเงินเพิ่มในระบบเศรษฐกิจถึงร้อยละ 3 ของ GDP หรือประมาณ 160,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่มาจากการเกินดุลตามเป้าหมายการคลังเดิม ร้อยละ 1 ของ GDP ตามระบบ GFS หรือเป็นจำนวนเงิน 56,000 ล้านบาท และเงินที่มาจากเป้าหมายการคลังใหม่ซึ่งเป็นการขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP หรือคิดเป็นจำนวน 104,700 ล้านบาท
6. มีการกำหนดขอบเขตการขาดดุลไม่ให้มากเกินไป โดยคำนึงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและฐานะการคลังของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อมากเกินไปและเป็นการรักษาวินัยทางการคลังด้วย
7. การใช้มาตรการด้านภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เบียร์ ไวน์ บุหรี่จากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยเหล่านั้นลงไป และเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้สูงขึ้น อันจะมีผลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบกับการปรับแผนการคลังตามหนังสือแจ้งความจำนงฉบับที่ 3 ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และ IMF ได้หารือร่วมกันมาแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
1. ผ่อนปรนเงื่อนไขเดิมที่กำหนดให้ดุลการคลังของรัฐบาลต้องเกินดุลร้อยละ 1 ของ GDP เป็นยอมให้ขาดดุลได้ร้อยละ 1.5 ของ GDP เนื่องจาก
- IMF ตระหนักว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชลอตัวกว่าที่คาดไว้และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี 2541 จะจัดเก็บได้เพียง 775,000 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเดิม จำนวน 97,000 ล้านบาท
- ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อ ทำให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541 มีภาระเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมอีกประมาณ 58,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายมีมากขึ้น หากดำรงฐานะการคลังไว้เกินดุลดังเดิมก็จะเป็นภาระต่อเศรษฐกิจมากเกินไป2. ในการขาดดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP นี้ ยอมให้งบประมาณขาดดุลได้ร้อยละ 1 ของ GDP และการใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ อันประกอบด้วย เงินกู้จากธนาคารโลก ADB OECF และเงินกู้ต่างประเทศอื่นของรัฐบาล ให้ขาดดุลได้ ร้อยละ 0.5 ของ GDP โดยไม่ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ทั้งนี้เพื่ออำนวยให้รัฐบาลสามารถจัดทำโครงการเพื่อลดผลกระทบทางสังคม (Social Safety Net) อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อแลกกับการผ่อนปรนเงื่อนไขจากการเกินดุลเป็นการขาดดุล รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 เป็นต้นไป
4. เพื่อให้ดุลงบประมาณขาดดุลไม่เกินร้อยละ 1.5 ของ GDP รัฐบาลจะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.25 ของ GDP ในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2541 ซึ่งเป็นมาตรการภาษีที่ต้องเพิ่มประมาณ 10,000 ล้านบาท มาตรการภาษีนี้ก็เพื่อสร้างฐานให้โครงสร้างการคลังปรับตัวดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
5. กำหนดให้ปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากร้อยละ 82.0 เป็นร้อยละ 86.3 ของวงเงินงบประมาณ 800,000 ล้านบาท หรือเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นประมาณ 33,660 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการเบิกจ่ายที่จะเกิดขึ้นจริง และควบคุมการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2541 เพื่อให้สามารถประหยัดงบประมาณเป็นจำนวนร้อยละ 0.25 ของ GDP หรือประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อลดจำนวนเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี อันเป็นการบรรเทาภาระงบประมาณในปี 2542
6. ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจขาดดุลได้ในอัตราร้อยละ 0.5 ของ GDP หรือเป็นจำนวนเงิน 22,000 ล้านบาท จากที่เคยกำหนดให้สมดุล ซึ่งเมื่อรวมกับการขาดดุลของรัฐบาลจะเป็นการขาดดุลภาครัฐบาลทั้งสิ้นร้อยละ 2.0 ของ GDP
สำหรับมาตรการภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาลในวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้
(1) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากน้ำมันเบนซิน ลิตรละ 1 บาท
(2) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากเบียร์ จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 53
(3) เพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากไวน์ จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 55
(4) เพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากผลิตภัณฑ์ยาสูบที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
(5) เพิ่มภาษีศุลกากรจากการนำเข้าสินค้า 8 รายการ ซึ่งไม่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือมีสิ่งอื่นที่ทดแทนได้ ซึ่งได้แก่
- ผ้าขนสัตว์ จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 40
- น้ำหอม จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- เครื่องสำอาง จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- กระเป๋าและเข็มขัดหนัง จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- รองเท้าทำด้วยหนังและผ้าใบ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40
- เครื่องแก้วเลคคริสตัลที่ใช้บนโต๊ะอาหาร จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 35
- เครื่องประดับคริสตัล จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
- สูท เสื้อ กางเกง กระโปรง และเนคไท รวมเครื่องชั้นใน จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 60
(6) มอบอำนาจให้กรมที่ดินเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากการขาย อสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้เก็บภาษีเมื่อมีการจดทะเบียนการโอน
(7) ปรับเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ (ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเสียเป็นรายปี) เฉพาะรถที่จดทะเบียนใหม่ โดยเร่งรัดการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ และพระราชบัญญัติขนส่งให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
การผ่อนปรนเงื่อนไขของ IMF จากเดิมกำหนดให้มีการรักษาการเกินดุลการคลังภาครัฐบาลในปีงบประมาณ 2541 ร้อยละ 1 ของ GDP เป็นการขาดดุลภาครัฐบาล ร้อยละ 2.0 ของ GDP โดยจำแนกเป็นการขาดดุลของรัฐบาลกลางร้อยละ 1.5 และเป็นการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.5 มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ทำให้ไม่ต้องมีการปรับลดงบประมาณลงอีก 146,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง 97,000 ล้านบาท และภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอีกเนื่องมาจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินสดเพิ่มขึ้น 49,000 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่มีการนำมาตรการด้านรายได้มาใช้ และรัฐบาลต้องรักษาการเกินดุลการคลังก็จำเป็นต้องมีมาตรการปรับลดรายจ่ายลงเป็นจำนวนมาก
2. ทำให้ไม่ต้องมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมถึง 146,000 ล้านบาท หากไม่ใช้มาตรการปรับลดงบประมาณ
3. ทำให้สามารถใช้เงินกู้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 17,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น และเมื่อนำเงินดังกล่าวมาแลกเป็นเงินบาทก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เงินกู้ดังกล่าวยังนำมาใช้ดำเนินการโครงการเพื่อลดผลกระทบทางสังคม และบรรเทาปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตทางเศรษฐกิจอีกด้วย
4. ทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้อีกเป็นจำนวน 22,000 ล้านบาท
5. ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการใช้งบประมาณขาดดุลเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต่างจากงบประมาณเกินดุล ซึ่งเป็นการชะลอเศรษฐกิจ การเปลี่ยนฐานะดุลการคลังภาครัฐบาลนี้ ทำให้มีเงินเพิ่มในระบบเศรษฐกิจถึงร้อยละ 3 ของ GDP หรือประมาณ 160,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่มาจากการเกินดุลตามเป้าหมายการคลังเดิม ร้อยละ 1 ของ GDP ตามระบบ GFS หรือเป็นจำนวนเงิน 56,000 ล้านบาท และเงินที่มาจากเป้าหมายการคลังใหม่ซึ่งเป็นการขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP หรือคิดเป็นจำนวน 104,700 ล้านบาท
6. มีการกำหนดขอบเขตการขาดดุลไม่ให้มากเกินไป โดยคำนึงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและฐานะการคลังของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อมากเกินไปและเป็นการรักษาวินัยทางการคลังด้วย
7. การใช้มาตรการด้านภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เบียร์ ไวน์ บุหรี่จากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยเหล่านั้นลงไป และเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้สูงขึ้น อันจะมีผลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541--