ทำเนียบรัฐบาล--3 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าของการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้
1. การช่วยบรรเทาปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
1.1 โครงการร่วมพัฒนาทุน ... เกื้อหนุน SMEs เป็นโครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรมลงนามความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 เพื่อกลั่นกรองผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาด้านเทคนิควิชาการจากกระทรวงอุตสาหกรรม และเสนอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พิจารณาให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยมีวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 4,500 ล้านบาทในปี 2542 และ 5,500 ล้านบาทในปี 2543 จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2542 กระทรวงอุตสาหกรรมได้รวบรวมข้อมูลเพื่อกลั่นกรองโครงการขอกู้เงินของผู้ประกอบการ SMEs และนำเสนอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว 95 โครงการ วงเงิน1,384.42 ล้านบาท และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาอนุมัติเงินกู้แล้ว 12 ราย เป็นเงิน 183.7 ล้านบาท สำหรับโครงการที่เหลือ กระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ประสานการทำงานกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อเร่งพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อต่อไป
1.2 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว และหัตถกรรมไทย เป็นเงินทุนที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมในครอบครัว หัตถกรรม อุตสาหกรรมในชุมชน และอุตสาหกรรมในชนบท นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 - วันที่ 26 กรกฎาคม 2542 มีการอนุมัติเงินกู้ไปแล้ว 1,082 ราย เป็นเงิน 80.353 ล้านบาท
2. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นกฎหมายพื้นฐานที่วางกลไกในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ให้มีระบบและเกิดความต่อเนื่อง และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542 ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในราวต้นเดือนสิงหาคม 2542 และจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป
3. โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 และ 5 เมษายน 2542 เห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs และจัดสรรงบประมาณดำเนินการในระยะแรก 864.6 ล้านบาท ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขณะนี้สถาบันพัฒนา SMEs (กลาง) ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเอเซียนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสถาบันเครือข่ายในภูมิภาค 7 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทยอยเปิดโครงการ และเริ่มเปิดการฝึกอบรมพัฒนา SMEs แล้ว ซึ่งภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2542 สถาบันพัฒนา SMEs (กลาง) และเครือข่ายได้เปิดการฝึกอบรมเรื่อง "การสร้างธุรกิจ SMEs" ไปแล้ว 8 ครั้ง มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 7,681 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังสนใจจะลงทุนประกอบการ SMEs รวมทั้งผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์แต่ต้องว่างงานเนื่องจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ในระยะแรกของการดำเนินงานภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถาบันพัฒนา SMEs และสถาบันเครือข่ายได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้ว 8,400 คน และพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจจะประกอบกิจการ SMEs 24,000 คน โดยการฝึกอบรมทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว และหลักสูตรเฉพาะด้าน
4. โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะเร่งด่วน ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 อนุมัติงบประมาณภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแก่กระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินงานโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะเร่งด่วนจำนวน 24 โครงการ วงเงิน 673.97 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ วงเงิน 436.79 ล้านบาท
ขณะนี้โครงการต่าง ๆ ดังกล่าว อยู่ในระยะเริ่มต้นของแผนการดำเนินงาน เช่น การขออนุมัติงวดเงิน การจ้างลูกจ้างชั่วคราว การจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดคุณลักษณะงานในการจ้างที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้กำกับดูแลให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
5. โครงการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ด้านหัตถกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เจรจา และลงนามความเข้าใจกับห้างแฮร์รอดส์ (Harrod)ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ณ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจัดโครงการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ด้านหัตถกรรม ณ ห้างแฮร์รอดส์ กรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2542 ขณะนี้อยู่ในระหว่างเตรียมการคัดเลือกสินค้าหัตถกรรมจากผู้ประกอบการ SMEs เพื่อนำไปร่วมแสดงและจำหน่ายในงานดังกล่าว
6. การศึกษาแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs Venture Capital Fund)
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการศึกษาแนวทางในการจัดตั้งและการดำเนินงานกองทุนร่วมลงทุนเพื่อ SMEs และได้ปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จนได้ข้อสรุปว่าควรจัดตั้งในรูปบริษัทใช้ชื่อว่า "บริษัทเงินร่วมลงทุนไทยจำกัด Thai Venture Capital Co.,Ltd." ซึ่งมีรูปแบบการบริหารที่เป็นมืออาชีพเพื่อเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนากิจการ SMEs ในสาขาที่มีศักยภาพ และเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในรูปของการเข้าไปร่วมลงทุน ทั้งนี้ มีข้อเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลการศึกษานี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 สิงหาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าของการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้
1. การช่วยบรรเทาปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
1.1 โครงการร่วมพัฒนาทุน ... เกื้อหนุน SMEs เป็นโครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรมลงนามความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 เพื่อกลั่นกรองผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาด้านเทคนิควิชาการจากกระทรวงอุตสาหกรรม และเสนอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พิจารณาให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยมีวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 4,500 ล้านบาทในปี 2542 และ 5,500 ล้านบาทในปี 2543 จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2542 กระทรวงอุตสาหกรรมได้รวบรวมข้อมูลเพื่อกลั่นกรองโครงการขอกู้เงินของผู้ประกอบการ SMEs และนำเสนอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว 95 โครงการ วงเงิน1,384.42 ล้านบาท และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาอนุมัติเงินกู้แล้ว 12 ราย เป็นเงิน 183.7 ล้านบาท สำหรับโครงการที่เหลือ กระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ประสานการทำงานกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อเร่งพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อต่อไป
1.2 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว และหัตถกรรมไทย เป็นเงินทุนที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมในครอบครัว หัตถกรรม อุตสาหกรรมในชุมชน และอุตสาหกรรมในชนบท นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 - วันที่ 26 กรกฎาคม 2542 มีการอนุมัติเงินกู้ไปแล้ว 1,082 ราย เป็นเงิน 80.353 ล้านบาท
2. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นกฎหมายพื้นฐานที่วางกลไกในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ให้มีระบบและเกิดความต่อเนื่อง และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542 ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในราวต้นเดือนสิงหาคม 2542 และจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป
3. โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 และ 5 เมษายน 2542 เห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนา SMEs และจัดสรรงบประมาณดำเนินการในระยะแรก 864.6 ล้านบาท ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขณะนี้สถาบันพัฒนา SMEs (กลาง) ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเอเซียนเกมส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสถาบันเครือข่ายในภูมิภาค 7 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทยอยเปิดโครงการ และเริ่มเปิดการฝึกอบรมพัฒนา SMEs แล้ว ซึ่งภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2542 สถาบันพัฒนา SMEs (กลาง) และเครือข่ายได้เปิดการฝึกอบรมเรื่อง "การสร้างธุรกิจ SMEs" ไปแล้ว 8 ครั้ง มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 7,681 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังสนใจจะลงทุนประกอบการ SMEs รวมทั้งผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์แต่ต้องว่างงานเนื่องจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ในระยะแรกของการดำเนินงานภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถาบันพัฒนา SMEs และสถาบันเครือข่ายได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอยู่แล้ว 8,400 คน และพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจจะประกอบกิจการ SMEs 24,000 คน โดยการฝึกอบรมทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว และหลักสูตรเฉพาะด้าน
4. โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะเร่งด่วน ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 อนุมัติงบประมาณภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแก่กระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินงานโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะเร่งด่วนจำนวน 24 โครงการ วงเงิน 673.97 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ วงเงิน 436.79 ล้านบาท
ขณะนี้โครงการต่าง ๆ ดังกล่าว อยู่ในระยะเริ่มต้นของแผนการดำเนินงาน เช่น การขออนุมัติงวดเงิน การจ้างลูกจ้างชั่วคราว การจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดคุณลักษณะงานในการจ้างที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้กำกับดูแลให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
5. โครงการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ด้านหัตถกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เจรจา และลงนามความเข้าใจกับห้างแฮร์รอดส์ (Harrod)ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ณ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจัดโครงการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ด้านหัตถกรรม ณ ห้างแฮร์รอดส์ กรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2542 ขณะนี้อยู่ในระหว่างเตรียมการคัดเลือกสินค้าหัตถกรรมจากผู้ประกอบการ SMEs เพื่อนำไปร่วมแสดงและจำหน่ายในงานดังกล่าว
6. การศึกษาแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs Venture Capital Fund)
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการศึกษาแนวทางในการจัดตั้งและการดำเนินงานกองทุนร่วมลงทุนเพื่อ SMEs และได้ปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จนได้ข้อสรุปว่าควรจัดตั้งในรูปบริษัทใช้ชื่อว่า "บริษัทเงินร่วมลงทุนไทยจำกัด Thai Venture Capital Co.,Ltd." ซึ่งมีรูปแบบการบริหารที่เป็นมืออาชีพเพื่อเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนากิจการ SMEs ในสาขาที่มีศักยภาพ และเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในรูปของการเข้าไปร่วมลงทุน ทั้งนี้ มีข้อเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลการศึกษานี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 สิงหาคม 2542--