ทำเนียบรัฐบาล--3 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานพัฒ นาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2540 - 2544 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1.นโยบายและประเด็นหลักในแผนการดำเนินงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) มาจากวิสัย ทัศน์ของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมุ่งให้สำนักงานฯ เป็นองค์กรหลักใน การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคการผลิต การบริการ และสำหรับประชาชนทั่วไปอย่างแท้จริง โดยเน้นการพัฒนากำลังคนเป็นสำคัญ
2.วัตถุประสงค์หลักของแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2540 - 2544 มีความแตกต่างจาก แผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2535 - 2539 ในจุดเน้น แม้จะยังมีความต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสม กับสภาวการณ์และความต้องการที่แปรเปลี่ยนไป เพื่อให้บังเกิดผลในการพัฒนาประเทศในด้าน การสร้างคนโดยสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
2.1 ดำเนินการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ให้บริการทางเทคนิค และวางรากฐาน การพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยให้กิจกรรมทั้งสามด้านเสริมซึ่งกันและกัน
2.2 ให้การสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม และด้านอื่น ๆ ที่นำไปสู่การ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
2.3 ลงทุนและให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนในกิจการซึ่งนำไปสู่การพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. แผนการดำเนินงานประกอบด้วย แผนปฏิบัติการรวมทั้งสิ้น 5 แผน แต่ละแผนมีโครง การหลักรวมทั้งสิ้น 15 โครงการ ดังนี้
3.1 แผนการบริหาร การวางแผน และการพัฒนาข้อมูล มี 3 โครงการ
3.2 แผนการสนับสนุนหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ มี 4 โครงการ
3.3 แผนการดำเนินการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม และการบริการเทคโนโลยี มี 3 โครงการ
3.4 แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มี 2 โครงการ
3.5 โครงการพิเศษ มี 3 โครงการ
4. แหล่งทุนเพื่อดำเนินการตามแผนนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
1) งบประมาณประจำปีซึ่งรัฐบาลจัดสรรไว้
2) ทุนประเดิม
3) เงินอุดหนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
4) รายได้จากการดำเนินงาน และ
5) รายได้จากดอกผลของเงินที่มีอยู่
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนี้มีอยู่หลายประการ ที่สำคัญคือ การเพิ่ม ระดับความสามารถทางเทคโนโลยีในสาขาที่สำคัญที่สาม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ในด้านการพัฒนากำลัง คนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาขาดแคลน แผนนี้สร้างคนที่มีความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาดังกล่าว โดยให้ทุนศึกษาในต่างประเทศ และโดยพัฒนาระบบการผลิตกำลังคนภายในประเทศทั้งเพื่อวิจัยพัฒนาและ วิศวกรรม และเป็น ตัวคูณ ในการผลิตกำลังคนใหม่ ๆ ต่อไป โดยเฉพาะ และเพื่อด้านอื่น ๆ โดยทั่ว ไป นอกจากนี้ โครงการ สมองไหลกลับ โครงการวิจัยหลายโครงการยังสามารถก่อให้เกิดผลประ โยชน์เชิงพาณิชย์ซึ่งอาจมาจากการขายเทคโนโลยีจากสิทธิบัตร จากการลงทุนเพื่อการพัฒนาผลจาก งานวิจัยนั้น ภาคเอกชนจะได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นการลดการพึ่งพาต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 กันยายน 2539--
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานพัฒ นาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2540 - 2544 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1.นโยบายและประเด็นหลักในแผนการดำเนินงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) มาจากวิสัย ทัศน์ของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมุ่งให้สำนักงานฯ เป็นองค์กรหลักใน การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคการผลิต การบริการ และสำหรับประชาชนทั่วไปอย่างแท้จริง โดยเน้นการพัฒนากำลังคนเป็นสำคัญ
2.วัตถุประสงค์หลักของแผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2540 - 2544 มีความแตกต่างจาก แผนการดำเนินงาน พ.ศ. 2535 - 2539 ในจุดเน้น แม้จะยังมีความต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสม กับสภาวการณ์และความต้องการที่แปรเปลี่ยนไป เพื่อให้บังเกิดผลในการพัฒนาประเทศในด้าน การสร้างคนโดยสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
2.1 ดำเนินการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ให้บริการทางเทคนิค และวางรากฐาน การพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยให้กิจกรรมทั้งสามด้านเสริมซึ่งกันและกัน
2.2 ให้การสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม และด้านอื่น ๆ ที่นำไปสู่การ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
2.3 ลงทุนและให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนในกิจการซึ่งนำไปสู่การพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. แผนการดำเนินงานประกอบด้วย แผนปฏิบัติการรวมทั้งสิ้น 5 แผน แต่ละแผนมีโครง การหลักรวมทั้งสิ้น 15 โครงการ ดังนี้
3.1 แผนการบริหาร การวางแผน และการพัฒนาข้อมูล มี 3 โครงการ
3.2 แผนการสนับสนุนหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ มี 4 โครงการ
3.3 แผนการดำเนินการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม และการบริการเทคโนโลยี มี 3 โครงการ
3.4 แผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มี 2 โครงการ
3.5 โครงการพิเศษ มี 3 โครงการ
4. แหล่งทุนเพื่อดำเนินการตามแผนนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
1) งบประมาณประจำปีซึ่งรัฐบาลจัดสรรไว้
2) ทุนประเดิม
3) เงินอุดหนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
4) รายได้จากการดำเนินงาน และ
5) รายได้จากดอกผลของเงินที่มีอยู่
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนี้มีอยู่หลายประการ ที่สำคัญคือ การเพิ่ม ระดับความสามารถทางเทคโนโลยีในสาขาที่สำคัญที่สาม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ในด้านการพัฒนากำลัง คนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาขาดแคลน แผนนี้สร้างคนที่มีความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาดังกล่าว โดยให้ทุนศึกษาในต่างประเทศ และโดยพัฒนาระบบการผลิตกำลังคนภายในประเทศทั้งเพื่อวิจัยพัฒนาและ วิศวกรรม และเป็น ตัวคูณ ในการผลิตกำลังคนใหม่ ๆ ต่อไป โดยเฉพาะ และเพื่อด้านอื่น ๆ โดยทั่ว ไป นอกจากนี้ โครงการ สมองไหลกลับ โครงการวิจัยหลายโครงการยังสามารถก่อให้เกิดผลประ โยชน์เชิงพาณิชย์ซึ่งอาจมาจากการขายเทคโนโลยีจากสิทธิบัตร จากการลงทุนเพื่อการพัฒนาผลจาก งานวิจัยนั้น ภาคเอกชนจะได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นการลดการพึ่งพาต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 กันยายน 2539--