ทำเนียบรัฐบาล--20 ก.ย.--บิสนิวส์
1. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 140/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้งคณะที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) องค์ประกอบ
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาประกอบด้วย
1) นายจำนงค์ โพธิสาโร 2) นายชัชวาลย์ ชมภูแดง 3) นายเชาวน์วัศ สุดลาภา 4) นายนิยม วรปัญญา 5) นายประทวน รมยานนท์ 6) นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 7) นายไพโรจน์ เครือรัตน์ 8) นายเมธา เอื้ออภิญญกุล 9) นายวัลลภ สุปรียศิลป์ 10) นายสุรพันธ์ ชินวัตร และ 11) นายอุดมศักดิ์ อุชชิน
2) อำนาจหน้าที่
2.1 ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในงานด้านวิชาการ นโยบาย แผนงาน โครงการ และเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2.2 ติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามนโยบายของ รัฐบาล รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะมาตรการ และวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
2. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 141/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง นาย เสริมศักดิ์การุญ เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน เพื่อให้ข้อคิดเห็น คำปรึกษา และข้อเสนอแนะ ต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ด้านแรงงาน ทั้งนี้ ให้มีหน้าที่รวมไปถึงการให้คำปรึกษา ข้อ เสนอแนะ และความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
3. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการทหาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 147/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง พล เอกสนั่น เศวตเศรนี เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการทหาร เพื่อให้ข้อคิดเห็น คำปรึกษา และข้อ เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ด้านการทหาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
4. คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายแนวคิดการพัฒนา
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 115/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง คณะที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายแนวคิดการพัฒนา ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 1) นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ 2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ 3) นายลิขิต ธีรเวคิน 4) นายสมบัติ จันทรวงศ์ 5) นายสมศักดิ์ ชูโต 6) นายสรจักร เกษมสุวรรณ และ 7) นายโสภณ สุภาพงษ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนวคิดการพัฒนาโดยให้เสนอรายงานโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี
2. ขอข้อมูล เอกสาร ความเห็นจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะที่ปรึกษาฯ
3. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการดำเนิน งานของคณะที่ปรึกษาฯ
4. ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลทั้ง หลายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของคณะที่ปรึกษาฯ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5. ให้ประธานที่ปรึกษาฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่อง ต่าง ๆ ของคณะที่ปรึกษาฯ ได้ตามความจำเป็น
6. ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. คณะกรรมการไต่สวนสาธารณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2538 มีสาระสำคัญแต่งตั้งคณะกรรม การไต่สวนสาธารณะขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 1) หม่อม ราชวงศ์เทพ เทวกุล 2) พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ 3) นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ 4) นายคณิต ณ นคร 5) พลตำรวจเอก ชวลิตยอดมณี 6) พลตำรวจเอก พจน์ บุญยะจินดา 7) นายบัญญัติ สุชีวะ 8) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล 9) นายจรัญภักดีธนากุล 10) พลตำรวจโท สมชาย มิลินทางกูร และ 11) นายปรีชา จำปารัตน์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2538 เป็นต้นไป
2. อำนาจหน้าที่
2.1 ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อยุติของข้อกล่าวหาที่บุคคลไทยถูกอ้างโดย ต่างประเทศว่าพัวพันการกระทำผิดว่าด้วยการค้าสินค้าบางอย่าง ซึ่งมีผลต่อชื่อเสียงและความเป็น ธรรมของบุคคลและสังคมไทย
2.2 วางระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และกระบวนวิธีในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการฯให้เป็นการชัดเจนแน่นอน ในระหว่างที่ยังมิได้มีการวางระเบียบดังกล่าว ให้คณะ กรรมการฯ ดำเนินการไปตามหลักการและกระบวนวิธีที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควรกำหนด โดยไม่ขัด แย้งต่อกฎหมายหรือหลักแห่งความยุติธรรม
2.3 ขอข้อมูล เอกสาร และความเห็นจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงาน อื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
2.4 เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานแก่คณะกรรมการฯ
2.6 กำหนดให้การพิจารณาหรือการไต่สวนข้อเท็จจริงบางส่วนบางตอนกระทำโดยลับได้
2.7 รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2.8 ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 กันยายน 2539--
1. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 140/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้งคณะที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) องค์ประกอบ
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาประกอบด้วย
1) นายจำนงค์ โพธิสาโร 2) นายชัชวาลย์ ชมภูแดง 3) นายเชาวน์วัศ สุดลาภา 4) นายนิยม วรปัญญา 5) นายประทวน รมยานนท์ 6) นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 7) นายไพโรจน์ เครือรัตน์ 8) นายเมธา เอื้ออภิญญกุล 9) นายวัลลภ สุปรียศิลป์ 10) นายสุรพันธ์ ชินวัตร และ 11) นายอุดมศักดิ์ อุชชิน
2) อำนาจหน้าที่
2.1 ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในงานด้านวิชาการ นโยบาย แผนงาน โครงการ และเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2.2 ติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามนโยบายของ รัฐบาล รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะมาตรการ และวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
2. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 141/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง นาย เสริมศักดิ์การุญ เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน เพื่อให้ข้อคิดเห็น คำปรึกษา และข้อเสนอแนะ ต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ด้านแรงงาน ทั้งนี้ ให้มีหน้าที่รวมไปถึงการให้คำปรึกษา ข้อ เสนอแนะ และความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
3. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการทหาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 147/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง พล เอกสนั่น เศวตเศรนี เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการทหาร เพื่อให้ข้อคิดเห็น คำปรึกษา และข้อ เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ด้านการทหาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป
4. คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายแนวคิดการพัฒนา
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 115/2538 มีสาระสำคัญให้แต่งตั้ง คณะที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายแนวคิดการพัฒนา ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 1) นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ 2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ 3) นายลิขิต ธีรเวคิน 4) นายสมบัติ จันทรวงศ์ 5) นายสมศักดิ์ ชูโต 6) นายสรจักร เกษมสุวรรณ และ 7) นายโสภณ สุภาพงษ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนวคิดการพัฒนาโดยให้เสนอรายงานโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี
2. ขอข้อมูล เอกสาร ความเห็นจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะที่ปรึกษาฯ
3. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการดำเนิน งานของคณะที่ปรึกษาฯ
4. ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลทั้ง หลายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของคณะที่ปรึกษาฯ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5. ให้ประธานที่ปรึกษาฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่อง ต่าง ๆ ของคณะที่ปรึกษาฯ ได้ตามความจำเป็น
6. ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. คณะกรรมการไต่สวนสาธารณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2538 มีสาระสำคัญแต่งตั้งคณะกรรม การไต่สวนสาธารณะขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 1) หม่อม ราชวงศ์เทพ เทวกุล 2) พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ 3) นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ 4) นายคณิต ณ นคร 5) พลตำรวจเอก ชวลิตยอดมณี 6) พลตำรวจเอก พจน์ บุญยะจินดา 7) นายบัญญัติ สุชีวะ 8) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล 9) นายจรัญภักดีธนากุล 10) พลตำรวจโท สมชาย มิลินทางกูร และ 11) นายปรีชา จำปารัตน์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2538 เป็นต้นไป
2. อำนาจหน้าที่
2.1 ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อยุติของข้อกล่าวหาที่บุคคลไทยถูกอ้างโดย ต่างประเทศว่าพัวพันการกระทำผิดว่าด้วยการค้าสินค้าบางอย่าง ซึ่งมีผลต่อชื่อเสียงและความเป็น ธรรมของบุคคลและสังคมไทย
2.2 วางระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และกระบวนวิธีในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการฯให้เป็นการชัดเจนแน่นอน ในระหว่างที่ยังมิได้มีการวางระเบียบดังกล่าว ให้คณะ กรรมการฯ ดำเนินการไปตามหลักการและกระบวนวิธีที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควรกำหนด โดยไม่ขัด แย้งต่อกฎหมายหรือหลักแห่งความยุติธรรม
2.3 ขอข้อมูล เอกสาร และความเห็นจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงาน อื่นของรัฐ ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
2.4 เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานแก่คณะกรรมการฯ
2.6 กำหนดให้การพิจารณาหรือการไต่สวนข้อเท็จจริงบางส่วนบางตอนกระทำโดยลับได้
2.7 รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2.8 ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 กันยายน 2539--