การแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

ข่าวการเมือง Tuesday September 29, 2020 19:07 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ดังนี้

1. เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ และให้ สศช. ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำแผนแม่บทฯ ในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในช่วงระหว่างปี 2564 -2565 ตามที่ สศช. เสนอ ประกอบด้วย

1.1 มอบหมาย สศช. ใช้ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด ? 19 พ.ศ. 2564 ? 2565 (แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ) ที่ สศช. ได้จัดทำขึ้นเบื้องต้นในการรับฟังความคิดเห็นผ่านวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ให้แล้วเสร็จภายในช่วงเดือนตุลาคม 2563 โดยจะใช้การประชุมประจำปี 2563 ของ สศช. เป็นเวทีแรกในการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ เพื่อนำความคิดเปห็นมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ฉบับสมบูรณ์

1.2 มอบหมาย สศช. เสนอร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไปภายในเดือนพฤศจิการยน 2563

2. เห็นชอบโครงการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมอบหมายให้ สศช. สำนักงบประมาณ (สงป.) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสำคัญตามที่ สศช. เสนอ ประกอบด้วย

2.1 มอบหมาย สงป. พิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 571 โครงการ ในลักษณะงบประมาณพิเศษ หรืองบประมาณแบบบูรณาการ และให้ใช้ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ และห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand) เพื่อประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป

2.2 มอบหมายให้ สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่มีโครงการสำคัญจัดทำรายละเอียดโครงการสำคัญให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ต้นจากระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2570 ต่อไป

2.3 มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐจัทำแผนปฏิบัติราชการรายปีตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

สาระสำคัญของเรื่อง

สศช. รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. การแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

1.1 ความเป็นมา

สศช. ได้ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ในมิติต่าง ๆ ที่อาจเกดิขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้เกิดการดำรงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) สรุปได้ ดังนี้ (1) ผลกระทบระยะสั้น อาทิ การลดลงของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ การหดตัวของเศรษฐกิจ ความเสี่ยงในการปิดกิจการโดยเฉพาะ SMEs และการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น (2) ผลกระทบระยะยาว อาทิ การเร่งขึ้นของการเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น ทั้งต่อพฤติกรรมการบริโภค แนวทางการประกอบธุรกิจ และรูปแบบการทำงาน การลดความเข้มข้นของกระแสโลกาภิวัฒน์ และ (3) จุดแข็งและโอกาส อาทิ ความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโควิด ? 19 ความพร้อมของไทยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศ ความต้องการของตลาดโลกโดยเฉพาะด้านอาหารปลอดภัย สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ผลกระทบจากการระบาดของโควิด ? 19 ข้างต้นแล้ว พบว่า ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 มีประเด็นการพัฒนาที่ครอบคลุมถึงเรื่องการรับมือและปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่แล้ว โดยบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์ชาติที่ 5) ดังนั้น จึงควรมีการถ่ายระดับเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาจากยุทธศาสตร์ชาติถึงแผนระดับต่าง ๆ และโครงการที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship : XYZ) โดยเฉพาะการดำเนินการในส่วนของแผนแม่บทฯ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 ที่มีการถ่ายระดับเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาก่อนการระบาดของโควิด ? 19 และยกระดับการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

สศช. จึงได้จัดให้มีการประชุมหารือประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 คณะ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ สศช. จึงได้ดำเนินการยกร่าง ?แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ? และนำเสนอที่ประชุมร่วมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติอีกครั้ง ก่อนนำเสนอคณะกรรมกรยุทธศาสตร์ชาติเห็นชอบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

1.2 ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ - รายละเอียด

หลักการ

มุ่งเน้นการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน ความรู้ และคุณธรรม เพื่อให้ประเทศในระยะต่อไปได้รับการพัฒนาให้สามารถ ?ล้มแล้วลุกไว? (Resilience)

วัตถุประสงค์

เพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถกลับเข้าสู่ระดับการพัฒนาก่อนการระบาดโควิด ? 19 และยกระดับการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เป้าประสงค์

เพื่อให้ ?คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (Economic Transformation)?

แนวทางการพัฒนา

ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) การพร้อมรับ (Cope) (2) การปรับตัว (Adapt) และ (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform)

ประเด็นการพัฒนาที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในระยะ 2 ปีข้างหน้า

(1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy)

(2) การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth)

(3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital)

(4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของประเทศ

โครงการรองรับการดำเนินการตามร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ

(1) โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เพื่อรองรับผลกระทบจากโควิด ? 19 ได้อย่างทันท่วงที

(2) โครงการประจำปีงบประมาณปี 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563

(3) โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณประจำปี 2565 ที่ดำเนินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 จำนวน 250 โครงการ

1.3 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ โดยมอบหมายให้ สศช. เสนอต่อคณรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ สศช. ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ? 19 ในช่วงระหว่างปี 2564 ? 2565 ตามที่ สศช. เสนอ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการ - ช่วงเวลาดำเนินการ

1. สศช. เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

ภายในเดือนกันยายน 2563

2. สศช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ผ่านวิธีการที่หลากหลาย เพื่อนำความคิดเห็นมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ฉบับสมบูรณ์

ภายในเดือนตุลาคม 2563

3. สศช. นำเสนอร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะรัฐมนตรพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563

2. โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

2.1 ความเป็นมา

สศช. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในระดับกรมหรือเทียบเท่าและหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ระดับ ในการจัดทำโครงการสำคัญประจำปี 2565 รวม 571 โครงการ จาก 3,428 โครงการ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการและขั้นตอนการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มโครงการ

1. โครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 ตามแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ (Top Priorities) จำแนกตาม 4 ประด็นการพัฒนา ได้แก่

(1) การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาต่างประเทศ อาทิ โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs และโครงการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุ

(2) การยกระดับขีดความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) อาทิ ขยายตลาดข้าวอินทรีย์และข้าวสีในต่างประเทศ และสร้างอุตสาหกรรมการแพทย์ใหม่บนฐานการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์

(3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน (Human Capital) ให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ อาทิ โครงการส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) และแพลตฟอร์มการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ หรือโรคติดต่ออันตรายแบบบูรณาการ

(4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) อาทิ โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และโครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน

จำนวน 250 โครงการ

2. โครงการสำคัญรองรับการพัฒนาประเทศ ที่สอดคล้องกับการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายย่อยที่เกี่ยวข้องจากทั้ง 140 เป้าหมายของ 23 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อาทิ โครงการ Smart Tourism Village และเพิ่มโอกาสการค้าด้วย e-Commerce

จำนวน

321 โครงการ

นอกจากนี้ สศช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำรายการห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand) ของทั้ง 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย ที่มีข้อมูลองค์ประกอบ ปัจจัยสำคัญ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายซึ่งในปัจจุบันยังขาดโครงการสำคัญรองรับ

2.2 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

เห็นชอบโครงการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมอบหมายให้ สงป. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสำคัญตามที่ สศช. เสนอ

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กันยายน 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ