คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยประสานการปฏิบัติงานกับจังหวัดที่มีสภาวะฝนตกหนัก และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระว่างวันที่ 10-22 พฤษภาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 20 อำเภอ 104 ตำบล 306 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา และจังหวัดอุทัยธานี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 112,832 คน 28,208 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 195 หลัง ถนน 435 สาย สะพาน 19 แห่ง ฝาย 5 แห่ง ท่อระบายน้ำ 82 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 10 แห่ง บ่อปลา 60 บ่อ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 86,725 ไร่
1.3 มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์ภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551)
1.4.1 สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
1.4.2 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครราชสีมา
1) จังหวัดอุทัยธานี ปริมาณน้ำจากลำน้ำแม่วงก์ และลำน้ำคลองโพ ไหลมารวมกันใน ลำน้ำแควตากแดด ทำให้น้ำไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีการเพาะปลูก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ (ตำบลสว่างอารมณ์) อำเภอทัพทัน 2 ตำบล (ตำบลหนองยาย และตำบลโคกหม้อ) อำเภอเมือง 3 ตำบล (ตำบลโนนเหล็ก ตำบลหนองไผ่แบน และตำบลเนินแจง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในสัปดาห์นี้
2) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ อำเภอเสนา (ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลบ้านแพน ตำบลบางนมโค ตำบลสามก้อ ตำบลรางจระเข้ เทศบาลเมืองเสนา) อำเภอผักไห่ น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมริมฝั่งขวาแม่น้ำน้อย (ตำบลจักราช ตำบลตะเคียน ตำบลดอนลาน) ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเป็นบางพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
3) จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 17-19 พ.ค.51 น้ำป่าไหลหลากไหลลงสู่ลำตะคอง และลำบริบูรณ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งลำบริบูรณ์ไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตรที่อยู่สองฝั่งลำน้ำบริบูรณ์ มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอำเภอเมือง 4 ตำบล (ตำบลหมื่นไวย ตำบลจอหอ ตำบลตลาด และตำบลบ้านโพธิ์) ในพื้นที่ชุมชน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเป็นบางพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
1.4.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 4 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง
2. สิ่งของพระราชทาน
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 พลอากาศเอก ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง ผู้แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้นำสิ่งของพระราชทาน จำนวน 700 ชุด มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี (นายอุดม พัวสกุล) เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ได้มอบสิ่งของพระราชทานแก่ผู้ประสบอุทกภัย ณ วัดโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี แล้ว
3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 21 — 27 พฤษภาคม 2551
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2551 ว่าร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2551 ร่องความกดอากาศต่ำได้เลื่อนไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนน้อยลง ส่วนคลื่นลมมีกำลังอ่อนลงด้วย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงทีตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระว่างวันที่ 10-22 พฤษภาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 20 อำเภอ 104 ตำบล 306 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา และจังหวัดอุทัยธานี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 112,832 คน 28,208 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 195 หลัง ถนน 435 สาย สะพาน 19 แห่ง ฝาย 5 แห่ง ท่อระบายน้ำ 82 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 10 แห่ง บ่อปลา 60 บ่อ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 86,725 ไร่
1.3 มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์ภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551)
1.4.1 สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
1.4.2 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครราชสีมา
1) จังหวัดอุทัยธานี ปริมาณน้ำจากลำน้ำแม่วงก์ และลำน้ำคลองโพ ไหลมารวมกันใน ลำน้ำแควตากแดด ทำให้น้ำไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีการเพาะปลูก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ (ตำบลสว่างอารมณ์) อำเภอทัพทัน 2 ตำบล (ตำบลหนองยาย และตำบลโคกหม้อ) อำเภอเมือง 3 ตำบล (ตำบลโนนเหล็ก ตำบลหนองไผ่แบน และตำบลเนินแจง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในสัปดาห์นี้
2) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ อำเภอเสนา (ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลบ้านแพน ตำบลบางนมโค ตำบลสามก้อ ตำบลรางจระเข้ เทศบาลเมืองเสนา) อำเภอผักไห่ น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมริมฝั่งขวาแม่น้ำน้อย (ตำบลจักราช ตำบลตะเคียน ตำบลดอนลาน) ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเป็นบางพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
3) จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 17-19 พ.ค.51 น้ำป่าไหลหลากไหลลงสู่ลำตะคอง และลำบริบูรณ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งลำบริบูรณ์ไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตรที่อยู่สองฝั่งลำน้ำบริบูรณ์ มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอำเภอเมือง 4 ตำบล (ตำบลหมื่นไวย ตำบลจอหอ ตำบลตลาด และตำบลบ้านโพธิ์) ในพื้นที่ชุมชน ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเป็นบางพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
1.4.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 4 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง
2. สิ่งของพระราชทาน
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 พลอากาศเอก ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง ผู้แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้นำสิ่งของพระราชทาน จำนวน 700 ชุด มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี (นายอุดม พัวสกุล) เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ได้มอบสิ่งของพระราชทานแก่ผู้ประสบอุทกภัย ณ วัดโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี แล้ว
3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 21 — 27 พฤษภาคม 2551
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2551 ว่าร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2551 ร่องความกดอากาศต่ำได้เลื่อนไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนน้อยลง ส่วนคลื่นลมมีกำลังอ่อนลงด้วย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงทีตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--