การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2009 16:18 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับโครงสร้างส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) แบ่งส่วน ราชการฯ และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 354/2551 ลง 8 พฤษภาคม 2551 แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ โดยมี พลตำรวจโท วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (งานบริหาร 11) เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ มีอำนาจ หน้าที่ศึกษาและพิจารณาปัญหาหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงสร้างฯ ตามร่าง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมทั้ง วิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างฯ ที่เหมาะสม โดยคณะทำงานฯ ได้จัดประชุมรวมทั้งสิ้น 23 ครั้ง และได้เสนอคณะผู้บังคับ บัญชาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม ครบถ้วน ถูกต้อง แล้วปรับปรุงเสนอเป็น ร่างโครงสร้าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เหมาะสมต่อการบริหารงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิด ประโยชน์สูงสุด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. หลักการสำคัญ การประชุมเพื่อพิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง ฯ ได้เน้นการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานยกร่างเสนอ และเข้าชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น แล้วร่วมกับคณะทำงานฯ พิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับภารกิจ ยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต ด้วยความโปร่งใส โดยมีหลักการสำคัญ คือ

1.1 จัดโครงสร้างส่วนราชการให้เอื้อต่อการมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ ลดการควบคุมจากส่วนกลาง และเพิ่มอิสระแก่ หน่วยงาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ

1.2 กำหนดอำนาจหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของส่วนราชการให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และจัดหน่วยงานที่ภารกิจสอด คล้อง สัมพันธ์กันมาอยู่ในกองบัญชาการเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 กำหนดขนาดส่วนราชการให้กะทัดรัด คล่องตัว และเอื้ออำนวยต่อประสิทธิภาพในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลโดยคำนึง ถึง 1) การจัดสายการบังคับบัญชาที่เหมาะสม 2) จัดกลุ่มงานที่มีลักษณะเฉพาะด้าน ซึ่งมีคุณภาพสูงมากและมีปริมาณงานพอสมควร ให้รองรับได้ตาม ความจำเป็น 3) จัดโครงสร้างให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้สามารถบูรณาการทำงาน ประหยัดทรัพยากร มีความรวดเร็วในการ ติดต่อประสานงานและการตัดสินใจ

1.4 จัดกลุ่มงานและแบ่งงานภายในหน่วยงานต่างๆ เพื่อความสะดวกในการประสานการปฏิบัติ การควบคุม การพัฒนาบุคลากร การ หมุนเวียนถ่ายเทกำลังคนและการปฏิบัติงานทดแทนกันได้

ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการดังกล่าว จะใช้กรอบอัตรากำลังของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับ เกลี่ยตำแหน่ง/อัตราให้เหมาะสมและจะไม่มีการเพิ่มตำแหน่ง/อัตรา ในภาพรวมแต่อย่างใด

2. รายละเอียดโครงสร้าง

2.1 ส่วนบังคับบัญชา ได้แก่ สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สง.ผบ.ตร.) เป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่วางแผน บังคับบัญชา และควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วยส่วนราชการระดับต่าง ๆ ดังนี้

(1) ระดับกองบัญชาการ จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (สยศ.) , สำนักงานส่งกำลังบำรุง (สก บ.) , สำนักงานกำลังพล (สกพ.) สำนักงานงบประมาณและการเงิน (สงป.ตร.) , สำนักงานกฎหมายและคดี (สกค.) , สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการตำรวจ (สง.ก.ตร.) , สำนักงานจเรตำรวจ (จต.) และสำนักงานตรวจสอบภายใน (สตส.)

(2) ระดับกองบังคับการ จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สลก.ตร.) , กองการต่าง ประเทศ (ตท.) , กองสารนิเทศ (สท.) , สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (สง.ก.ต.ช.) , กองบินตำรวจ (บ.ตร.) และกอง วินัย (วน.)

2.2 ส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท ตลอดจนรักษา ความสงบเรียบร้อยในพื้นที่รับผิดชอบติดต่อประสานงานกับส่วนราชการอื่นและประชาชนอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกองบัญชาการ จำนวน 11 หน่วยงาน ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) , ตำรวจภูธรภาค 1-9 (ภ.1-9) และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ (ศชต.)

2.3 ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตามข้อ 2.2 มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะด้านเป็นขบวนการ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกองบัญชาการ จำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) , กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) , กอง บัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.), สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) , กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) , สำนักงาน พิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.) และสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.)

2.4 ส่วนการศึกษา เป็นหน่วยงานที่ให้การศึกษาอบรมแก่ผู้ที่เข้ารับราชการตำรวจ ตลอดจนพัฒนาข้าราชการตำรวจให้เป็นผู้บริหาร ในระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกองบัญชาการ จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กองบัญชาการศึกษา (บช.ศ.) และโรงเรียนนายร้อย ตำรวจ รร.นรต.)

2.5 ส่วนบริการ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการแก่ข้าราชการตำรวจและประชาชนทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกอง บัญชาการ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)

2.6 ส่วนปฏิบัติการเฉพาะทาง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติงานตามพระราชประสงค์ของ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ จำนวน 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (สง.นรป.) โดยต้องขึ้นการควบคุมในภารกิจถวายความปลอดภัยต่อสมุหราชองครักษ์ และต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และ เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ จึงสมควรกำหนดให้ สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และการบังคับบัญชาทั้งหมด ขึ้นตรงต่อสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีส่วนราชการ ที่มีผู้บังคับบัญชาเป็นระดับสูงกว่าผู้บัญชาการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งได้แยกเสนอแนวทางดำเนินการไปอีกส่วนหนึ่งแล้ว

ทั้งนี้ รายละเอียดของการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ เป็นไปตามร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนัก งานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....

3. สาระสำคัญเกี่ยวกับหน่วยงาน การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามข้อ 2 สรุปได้ดังนี้

3.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย หน่วยงานระดับกองบัญชาการหรือเทียบเท่า รวม 30 หน่วยงาน ดังนี้

(1) หน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน (รวมถึงหน่วยงานที่เปลี่ยนชื่อใหม่) จำนวน 26 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกฎหมายและคดี (สำนักงานกฎหมายและสอบสวน/เดิม) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ, สำนักงานจเรตำรวจ , สำนักงานตรวจสอบภายใน (เดิมเป็น กลุ่มตำแหน่งไม่ปรากฎใน พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการฯ), สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ตำรวจภูธร 1-9, ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด, กองบัญชาการตำรวจ สันติบาล) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน, สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ / เดิม), สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, โรงพยาบาลตำรวจ, กองบัญชาการศึกษา และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

(2) หน่วยงานที่จัดตั้งใหม่ (เพิ่มขึ้น) รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ , สำนักงานส่งกำลัง บำรุง , สำนักงานกำลังพล , สำนักงานงบประมาณและการเงิน

3.2 กองบัญชาการหรือเทียบเท่า ตามข้อ 3.1 แบ่งส่วนราชการภายในเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่า รวมทั้งสิ้น จำนวน 227 หน่วยงาน ทั้งนี้ มีหน่วยงานระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าเพิ่มขึ้น จำนวน 43 หน่วยงาน

3.3 การเปรียบเทียบ โครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติปัจจุบัน กับโครงสร้างที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อ 22 มกราคม 2551 ได้ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างโครงสร้างของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ ฯ ที่ปรับปรุงเสนอครั้งนี้ มีดังนี้

หน่วยงาน          (1) โครงสร้าง   (2) โครงสร้าง      ผลต่าง       (3) ร่าง     ผลต่าง (3) —      ผลต่าง
                      ฯ ปัจจุบัน              ที่   (2) — (1)     โครงสร้าง              -1    (3) — (2)
                                   คณะรัฐมนตรี                คณะทำงานฯ

เห็นชอบไว้

กองบัญชาการ                 26             34           8           30               4           -4
กองบังคับการ                184            240          56          227              43          -13

จากตารางเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นว่าโครงสร้างฯ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับปรุงเสนอในครั้งนี้ มีหน่วยงานเพิ่มขึ้นจากโครง สร้างปัจจุบัน 4 กองบัญชาการ 43 กองบังคับการ แต่น้อยกว่าโครงสร้างที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ 4 กองบัญชาการ 13 กองบังคับการ

ข้อพิจารณา

1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.ฎ. และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ฯ พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับเมื่อวัน ที่ 30 มิถุนายน 2548 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน โดยประมาณ ซึ่งที่ผ่านมาปรากฎว่าหลายหน่วยงานประสบปัญหาในการปฏิบัติ เนื่องจากขาดหน่วยงานหลักที่จะบูรณาการด้านยุทธศาสตร์ กำกับดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาพรวม ทำให้การประสานการปฏิบัติ การตรวจ สอบและติดตามประเมินผล ไม่สามารถดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ประกอบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ยังคงส่งผลกระทบ อย่างรุนแรงและต่อเนื่องแก่พี่น้องประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดได้พัฒนารูปแบบวิธีการกระทำความผิดที่ ซับซ้อน มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการกระทำความผิด มีลักษณะเป็นขบวนการเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ยากแก่การสืบ สวนจับกุม และยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ

2. การแก้ปัญหาที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กระจายอำนาจทางการบริหารให้ผู้บัญชาการหน่วยต่างๆ ไปแล้วตามระเบียบคณะ กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดี หรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 แต่โครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งให้ ฝ่ายอำนวยการของกองบัญชาการต่างๆ โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดกลุ่มงานที่มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อสร้างความชำนาญและ ความเป็นมืออาชีพ ยกฐานะกลุ่มงานด้านการสืบสวนสอบสวนและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากร ตามร่างโครงสร้างสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ ที่เสนอมา เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นไปอย่างคล่องตัว เป็นระบบ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของ รัฐ และสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ สำนัก งานตำรวจแห่งชาติ ตามร่าง พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการฯ และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ ที่เสนอดังกล่าว

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 เมษายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ