สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 14

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2009 16:59 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 14 ณ วันที่ 20 เมษายน 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยแล้งและการช่วยเหลือ สถานการณ์ภัยธรรมชาติอื่นๆ สถานการณ์น้ำ และสถานการณ์การปลูกพืชฤดูแล้ง สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

พื้นที่ประสบภัยแล้งด้านการเกษตร ณ วันที่ 18 เมษายน 2552 รวมทั้งสิ้น 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ ยโสธร ร้อยเอ็ด ชัยนาท สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ ชุมพร แยกเป็น ด้านพืช จำนวน 16 จังหวัด ด้านปศุสัตว์ จำนวน 5 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้ง 2 ด้าน จำนวน 2 จังหวัด คือ จังหวัด อุตรดิตถ์ และเพชรบุรี

ด้านพืช จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ชัยนาท สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์

เกษตรกร 82,364 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 882,351 ไร่ แยกเป็น ข้าว 240,635 ไร่ พืชไร่ 431,082 ไร่ และพืชสวนและ อื่นๆ 177,201 ไร่

การดำเนินการให้การช่วยเหลือ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ระดมสรรพกำลังให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งและพื้นที่การเกษตร โดยการสนับสนุนเครื่อง สูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้

(1) การจัดสรรน้ำเพื่อกิจกรรมต่างในช่วงฤดูแล้ง(ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2551 ถึง 30 เม.ย. 2552) ได้แก่ เพื่อการอุปโภค-บริโภค (1,945 ล้านลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศน์(4,991 ล้านลบ.ม.) เพื่อการเกษตร(15,499 ล้านลบ.ม.) และเพื่ออุตสาหกรรม(252 ล้านลบ.ม.) วางแผนไว้ทั้งสิ้น 22,687 ล้านลูกบาศก์เมตร ณ วันที่ 20 เมษายน 2552 จัดสรรน้ำไปแล้ว 22,887 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 101 ของ แผนการจัดสรรน้ำ(มากกว่าแผนการจัดสรรน้ำ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร)

(2) สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่รวม 798 เครื่อง(จาก 1,200 เครื่อง) ในพื้นที่ 55 จังหวัด

ภาค            จังหวัด     เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง)      รายชื่อจังหวัด (จำนวนเครื่องสูบน้ำ)
เหนือ              16                  234      เชียงใหม่ (37) ลำพูน (10) แม่ฮ่องสอน (6) ลำปาง  (24)

น่าน (6) พะเยา (4) เชียงราย (12) พิษณุโลก (2) พิจิตร (30)

นครสวรรค์ (28) อุตรดิตถ์ (6) ตาก (15) สุโขทัย (12) แพร่ (19)

กำแพง เพชร (15) เพชรบูรณ์ (8)

ต.อ.เฉียงเหนือ      18                  313      อุดรธานี (9) หนองคาย (19) หนองบัวลำภู (10) เลย (6) สกลนคร (11)

ขอนแก่น (11) มหาสารคาม (29) ร้อยเอ็ด (58) กาฬสินธุ์ (54) ชัยภูมิ (5)

อุบลราชธานี (3) ยโสธร (20) นครพนม (19) มุกดาหาร (5)

อำนาจเจริญ (12) นครราชสีมา (25) สุรินทร์ (6) ศรีสะเกษ (11)

กลาง               8                   84      ชัยนาท (26) ลพบุรี (10) พระนครศรีอยุธยา (12) นนทบุรี (8) ปทุมธานี (9)

กรุงเทพมหานคร (2) อ่างทอง (10) นครปฐม (7)

ตะวันออก            5                   73      นครนายก (17) ปราจีนบุรี (29) ฉะเชิงเทรา (20) จันทบุรี (6) ตราด (1)
ตะวันตก             3                   83      กาญจนบุรี (7) ราชบุรี (40) เพชรบุรี (36)
ใต้                 5                   11       ชุมพร (5) ภูเก็ต (1) พังงา (2) ตรัง (1) นราธิวาส (2)
รวม               55                  798
หมายเหตุ:  ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 20 เม.ย. 2552

(3) สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร รวม 61 คัน 1,790 เที่ยว ปริมาณน้ำ 10.74 ล้านลิตร ใน พื้นที่ 15 จังหวัด

ภาค            จังหวัด   รถบรรทุกน้ำ(คัน)    จำนวนเที่ยว     ปริมาณน้ำ(ล้านลิตร)    รายชื่อจังหวัด(จำนวนรถบรรทุกน้ำ)
เหนือ               6              28          770               4.620    น่าน (1) พิจิตร (13) นครสวรรค์ (1)

อุตรดิตถ์(9) ตาก (3) แพร่ (1)

ต.อ.เฉียงเหนือ       2               7           19               0.114    นครราชสีมา (6) สุรินทร์ (1)
ตะวันออก            5              23          715               4.290    ฉะเชิงเทรา (2) ระยอง (3) จันทบุรี (13)

ตราด(3) สระแก้ว (2)

ใต้                 2               3          286               1.716    ประจวบคีรีขันธ์ (2) ชุมพร (1)
รวม               15              61        1,790              10.740
หมายเหตุ:  ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 20 เม.ย. 2552

(4) การปฏิบัติการฝนหลวง

เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. ถึง 9 เม.ย. 2552 จำนวน 8 ศูนย์ (9 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา ระยอง หัวหิน ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ 5 ฐานเติมสาร ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี อุบลราชธานี จันทบุรี สระแก้ว)

ขึ้นบิน จำนวน 1,544 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 57 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก แม่ฮ่องสอน พะเยา พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร น่าน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กาญจนบุรี ลพบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สระบุรี อุทัยธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา และพัทลุง รวมเป็นพื้นที่เกษตรและป่าไม้ที่ได้รับประโยชน์ 114.66 ล้านไร่

จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ทำให้พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 882,351 ไร่ สามารถลดพื้นที่คาดว่าจะเสียหาย ได้ 222,154 ไร่ ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิจิตร ร้อยเอ็ด ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ช่วยเหลือ ได้ประมาณ 1,429 ล้านบาท คงเหลือพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง 642,703 ไร่ และมีพื้นที่การเกษตรที่เสียหายแล้ว จำนวน 17,494 ไร่ ในพื้นที่ 6 จังหวัด(เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พิจิตร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ได้สำรวจและจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ลำปาง และเชียงใหม่ พื้นที่ 2,705 ไร่ วงเงิน 1.65 ล้านบาท และอยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอ พิจารณา 3 จังหวัด(เชียงราย พิจิตร และประจวบคีรีขันธ์)

ด้านปศุสัตว์ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ เพชรบุรี และชุมพร

เกษตรกร 9,168 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 31,791 ตัว เป็น โค 29,194 ตัว กระบือ 2,304 ตัว แพะ 293 ตัว ช่วย เหลือโดยสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 98.17 ตัน และดูแลสุขภาพสัตว์ 1,818 ตัว ได้แก่ หนองบัวลำภู(8.65 ตัน/1,193 ตัว) ศรีสะเกษ (4 ตัน) อุตรดิตถ์(7.2 ตัน) เพชรบุรี(58.32 ตัน) และชุมพร(20 ตัน/625 ตัว) และได้เตรียมไว้ช่วยเหลืออีก 7,532 ตัน

ด้านประมง ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ

สถานการณ์ภัยธรรมชาติอื่นๆ

วาตภัย ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ถึง 4 เมษายน 2552

พื้นที่ประสบภัย 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ ลำปาง ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองคาย ลพบุรี จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และสุราษฎร์ธานี

เกษตรกรได้รับผลกระทบ 7,571 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 35,506 ไร่ แยกเป็น ข้าว 7,004 ไร่ พืชไร่ 9,280 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 19,222 ไร่

อุทกภัย วันที่ 16 เมษายน 2552

จังหวัดนครราชสีมา ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนริมฝั่งลำบริบูรณ์ บริเวณตำบลหนองกระทุ่ม หมื่นไวย จอหอ พื้นที่ การเกษตรได้รับผลกระทบ 300 ไร่ ปัจจุบันเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรได้เฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานการณ์น้ำและสถานการณ์การปลูกพืช ดังนี้

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 20 เมษายน 2552

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 41,220 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 59 ของ ความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,864 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (42,829 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,609 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 9,161 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ ระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 21,673 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ          ปริมาตรน้ำใช้การได้          คาดการณ์ปริมาณน้ำ

ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552

                    ปริมาตร     %ความจุ       ปริมาตร     %ความจุ    ปริมาตรน้ำ      %ความจุอ่างฯ
                        น้ำ       อ่างฯ           น้ำ       อ่างฯ
1. ภูมิพล              5,917         44        2,117         16       5,550              41
2. สิริกิติ์              5,091         54        2,241         24       4,728              50
รวมภูมิพล+            11,008         48        4,358         19      10,278              45
สิริกิติ์
3. ป่าสักชลสิทธิ์           392         41          389         41         341              36

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 907 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 610 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 110 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวง อุดมธารา (ร้อยละ 20) กิ่วคอหมา (ร้อยละ 27) แควน้อย (ร้อยละ9 เนื่องจากแควน้อย เริ่มเก็บน้ำปลายฤดูฝนนี้) ลำปาว (ร้อยละ 26) ขุนด่านปราการชล (ร้อย ละ 26)

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำวังบริเวณจังหวัดตากอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำยมบริเวณจังหวัดแพร่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำน่านบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดน่านอยู่ในเกณฑ์น้อย และแม่น้ำแควน้อยบริเวณ จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำชีบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด อยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้น บริเวณจังหวัด ยโสธร อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำมูลบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และศรีสะเกษ อยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา อยู่ในเกณฑ์ ปกติ

ภาคตะวันออก แม่น้ำปราจีนบุรีบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี และแม่น้ำพระสทึงบริเวณจังหวัดสระแก้ว อยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคใต้ แม่น้ำตาปี บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีบริเวณจังหวัดยะลา และแม่น้ำโก-ลกบริเวณจังหวัดนราธิวาส อยู่ใน เกณฑ์น้อย

3. คุณภาพน้ำ

กรมประทาน ได้ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ในการดูแลรักษา คุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัด ณ วันที่ 2 เมษายน 2552 ดังนี้

แม่น้ำ        จุดเฝ้าระวัง                      ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ   ค่าความเค็ม    เกณฑ์

(Do) (มิลลิกรัม/ลิตร) กรัม/ลิตร)

เจ้าพระยา    ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                               2.08       0.106    ปกติ
ท่าจีน        ที่ว่าการอำเภอสามพราน  จ.นครปฐม                 1.17       0.151    ค่า Do ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
แม่กลอง      ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี                    4.25       0.061    ปกติ
หมายเหตุ : ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเค็มของน้ำ เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

สถานการณ์การปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 3 เมษายน 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 19.11 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 13.24 ล้านไร่(เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ จำนวน 1.63 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 14 ของพื้นที่คาดการณ์) พืชไร่-ผัก จำนวน 2.14 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ จำนวน 3.73 ล้านไร่ รายละเอียดดังนี้

พื้นที่                                  คาดการณ์พื้นที่ปลูก (ล้านไร่)              พื้นที่ปลูกจริง (ล้านไร่)
                       ข้าวนาปรัง     พืชไร่-ผัก     พืชอื่นๆ      รวม      ข้าวนาปรัง   พืชไร่-ผัก    พืชอื่นๆ      รวม
ในเขตพื้นที่ชลประทาน           8.79        0.76      3.64     13.19        10.18       0.6     3.73    14.51

(115.82) (78.95) (102.47) (110.01)

นอกเขตพื้นที่ชลประทาน          2.82        2.04         -      4.86         3.06      1.54        -      4.6
                                                                    (108.51)   (75.49)        -  (94.65)
รวม                       11.61         2.8      3.64    18.05         13.24      2.14     3.73    19.11

(114.04) (76.43) (102.47) (105.88) หมายเหตุ ( ) หมายถึง ร้อยละของพื้นที่คาดการณ์

ข้อมูลในเขตพื้นที่ชลประทาน กรมชลประทาน วันที่ 3 เมษายน 2552

ข้อมูลนอกเขตพื้นที่ชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร วันที่ 30 มีนาคม 2552


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ