สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 18

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 20, 2009 14:33 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 18 ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยแล้งและการช่วยเหลือ สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สถานการณ์น้ำ และสถานการณ์การปลูกพืช ฤดูแล้ง สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

พื้นที่ประสบภัยแล้งด้านการเกษตร ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 24 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร แยกเป็น ด้านพืช 21 จังหวัด ด้านปศุสัตว์ 5 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้ รับผลกระทบทั้ง 2 ด้าน จำนวน 2 จังหวัด คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ และเพชรบุรี

ด้านพืช จำนวน 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครราชสีมา หนองคาย ยโสธร ร้อยเอ็ด อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ราชบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์

เกษตรกร 83,561 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 845,560 ไร่ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 10,357 ล้านบาท แยกเป็น ข้าว 252,980 ไร่ พืชไร่ 427,481 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 165,099 ไร่

การดำเนินการให้การช่วยเหลือ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ระดมสรรพกำลังให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งและพื้นที่การเกษตร โดยการสนับสนุนเครื่อง สูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้

(1) การจัดสรรน้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2551 ถึง 30 เม.ย. 2552 วางแผนไว้ทั้งสิ้น 22,687 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ เพื่อการอุปโภค-บริโภค 1,945 ล้านลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์ 4,991 ล้านลบ.ม. เพื่อการเกษตร 15,499 ล้านลบ.ม. และเพื่ออุตสาหกรรม 252 ล้านลบ.ม. ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 จัดสรรน้ำไปแล้ว 24,160 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 106 ของแผนการ จัดสรรน้ำ(มากกว่าแผนการจัดสรรน้ำ 1,473 ล้านลูกบาศก์เมตร)

(2) สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่รวม 798 เครื่อง(จาก 1,200 เครื่อง) ในพื้นที่ 55 จังหวัด

ภาค            จังหวัด     เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง)     รายชื่อจังหวัด (จำนวนเครื่องสูบน้ำ)
เหนือ            16           234              เชียงใหม่ (37) ลำพูน(10) แม?ฮ?องสอน(6) ลำปาง(24) น?น(6)

พะเยา(4) เชียงราย(12) พิษณุโลก(2) พิจิตร(30) นครสวรรค์? (28)

อุตรดิตถ์(6) ตาก(15) สุโขทัย(12) แพร่(19) กำแพงเพชร (15) เพชรบูรณ์ (8)

ต.อ.เฉียงเหนือ    18           313              อุดรธานี(9) หนองคาย(19) หนองบัวลำภู(10) เลย(6) สกลนคร(11) ขอนแก่น

(11) มหาสารคาม(29) ร้อยเอ็ด(58) กาฬสินธุ์(54) ชัยภูมิ(5) อุบลราชธานี(3)

ยโสธร(20) นครพนม(19) มุกดาหาร(5) อำนาจเจริญ(12) นครราชสีมา(25)

สุรินทร์(6) ศรีสะเกษ(11)

กลาง             8            84              ชัยนาท(26) ลพบุรี(10) พระนครศรีอยุธยา(12) นนทบุรี(8) ปทุมธานี(9)

กรุงเทพมหานคร(2) อ่างทอง(10) นครปฐม(7)

ตะวันออก          5            73              นครนายก(17) ปราจีนบุรี(29) ฉะเชิงเทรา(20) จันทบุรี(6) ตราด(1)
ตะวันตก           3            83              กาญจนบุรี(7) ราชบุรี(40) เพชรบุรี(36)
ใต้               5            11              ชุมพร(5) ภูเก็ต(1) พังงา(2) ตรัง(1) นราธิวาส(2)
รวม             55           798
หมายเหตุ:  ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 12 พ.ค. 2552

(3) สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร รวม 61 คัน 1,877 เที่ยว ปริมาณน้ำ 11.262 ล้านลิตร ใน พื้นที่ 15 จังหวัด

ภาค              จังหวัด   รถบรรทุกน้ำ   จำนวน    ปริมาณน้ำ       รายชื่อจังหวัด
                           (คัน)      เที่ยว    (ล้านลิตร)    (จำนวนรถบรรทุกน้ำ)
เหนือ               6        28        770      4.620     น่าน(1) พิจิตร(13) นครสวรรค์ (1) อุตรดิตถ์(9) ตาก(3)

แพร่(1)

ต.อ.เฉียงเหนือ       2         7         19      0.114     นครราชสีมา(6) สุรินทร์(1)
ตะวันออก            5        23        802      4.812     ฉะเชิงเทรา(2) ระยอง(3) จันทบุรี(13) ตราด(3) สระแก้ว(2)
ใต้                 2         3        286      1.716     ประจวบคีรีขันธ์(2) ชุมพร(1)
รวม               15        61      1,877     11.262
หมายเหตุ:  ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 12 พ.ค. 2552

(4) การปฏิบัติการฝนหลวง

เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. ถึง 14 พ.ค. 2552 จำนวน 8 ศูนย์ (9 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ระยอง หัวหิน สุราษฎร์ธานี และ 5 ฐานเติมสาร ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี นครสวรรค์ จันทบุรี สระแก้ว)

ขึ้นบิน จำนวน 2,507 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 60 จังหวัด รวมเป็นพื้นที่เกษตรและป่าไม้ที่ได้รับประโยชน์ 144.12 ล้านไร่

จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ทำให้พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 845,560 ไร่ สามารถลดพื้นที่คาดว่าจะเสียหายได้ 682,092.50 ในพื้นที่ 14 จังหวัด(เชียงราย น่าน แพร่ สุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยนาท ฉะเชิงเทรา สระแก้ว เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ช่วยเหลือได้ประมาณ 8,274 ล้านบาท และมีพื้นที่การเกษตรเสียหาย จำนวน 163,467.50 ไร่ ในพื้นที่ 12 จังหวัด(เชียงราย เชียงใหม่ พิจิตร ลำปาง อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ยโสธร หนองคาย อำนาจเจริญ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ได้สำรวจและจ่ายเงินช่วยเหลือด้วยเงินทดรองราชการของจังหวัดแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ เพชรบุรี วงเงิน 3.17 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ เพชรบุรี และชุมพร

เกษตรกร 9,168 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 31,791 ตัว เป็น โค 29,194 ตัว กระบือ 2,304 ตัว แพะ 293 ตัว ช่วยเหลือ โดยสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 98.17 ตัน และดูแลสุขภาพสัตว์ 1,818 ตัว ได้แก่ หนองบัวลำภู(8.65 ตัน/1,193 ตัว) ศรีสะเกษ (4 ตัน) อุตรดิตถ์(7.2 ตัน) เพชรบุรี(58.32 ตัน) และชุมพร(20 ตัน/625 ตัว) และได้เตรียมไว้ช่วยเหลืออีก 7,532 ตัน

จากการให้ความช่วยเหลือโดยการสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์ ทำให้ไม่มีสัตว์ตาย

ด้านประมง ไม่มีความเสียหาย

สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง พบว่ามีการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุสำคัญ มาจากการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันของเกษตรกรที่มีเพลี้ยตัวอ่อนอยู่ไปยังพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ เนื่องมาจากการขยายพื้นที่การ เพาะปลูกอย่างรวดเร็ว ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนด 5 มาตรการหลักในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการในเรื่องนี้ ได้แก่

1. การควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้ลุกลามไปยังแปลงเพาะปลูกอื่น เช่น ควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์จากพื้นที่ที่พบการระบาด

2. การกำจัดและทำลายเพลี้ยแป้งในพื้นที่ที่พบการระบาดแล้ว

3. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของศัตรูพืชตามระเบียบ ของกระทรวงการคลัง

4. การแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์แก่เกษตรกรในทุกพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังทั้งในพื้นที่เดิมและจะมี การปลูกใหม่

5. การตั้งศูนย์ป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่และจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกร

พื้นที่ประสบภัย 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร เลย อุบลราชธานี ลพบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กาญจนบุรี จำนวน 749,612 ไร่ สำรวจความเสียหายแล้ว 1 จังหวัด คือ จังหวัด ปราจีนบุรี พื้นที่ 62,013 ไร่ อยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2552)

นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานการณ์น้ำและสถานการณ์การปลูกพืช ดังนี้

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 38,383 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 15,027 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (41,336 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 60) จำนวน 2,953 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 31,045 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ       ปริมาตรน้ำในอ่างฯ         ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำระบาย
               ปริมาตร   %ความจุ     ปริมาตร      %ความจุ     วันนี้       สะสมตั้งแต่     วันนี้     เมื่อวาน    สะสมตั้งแต่
                   น้ำ     อ่างฯ         น้ำ        อ่างฯ               1 พ.ย.51                       1 พ.ย.51
1. ภูมิพล         5,295       39      1,495          11   10.62         4.65      20.00     20.00      8,167
2. สิริกิติ์         4,486       47      1,636          17    8.04         1.43      24.67     25.18      5,024
รวมภูมิพล+สิริกิติ์    9,781       43      3,131          14   18.66         6.08      44.67     45.18     13,191
3. ป่าสักชลสิทธิ์      315       33        312          32    7.05         0.37       2.20      2.19        645

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,104 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 347 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 43 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 6 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ แม่กวงอุดมธารา(ร้อย ละ 18) กิ่วคอหมา(ร้อยละ 23 เนื่องจากเริ่มเก็บน้ำปลายฤดูฝนนี้) แควน้อย(ร้อยละ 12 เนื่องจากเริ่มเก็บน้ำปลายฤดูฝนนี้) ลำปาว(ร้อยละ 26) ทับเสลา(ร้อยละ 28) ขุนด่านปราการชล(ร้อยละ 19)

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำวังบริเวณจังหวัดตากอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำยมบริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตรอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำน่านบริเวณจังหวัดน่านและ พิษณุโลกอยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้นบริเวณจังหวัดพิจิตรและนครสวรรค์อยู่ในปกติ และแม่น้ำแควน้อยบริเวณจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำชีบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้นบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ใน เกณฑ์ปกติ แม่น้ำมูลบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์อยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้นบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และอุทัยธานีอยู่ ในเกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออก แม่น้ำปราจีนบุรีบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำพระสทึงบริเวณจังหวัดสระแก้วอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำคลองหินดาด บริเวณจังหวัดจันทบุรีอยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคใต้ แม่น้ำตาปี บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีบริเวณจังหวัดยะลา และแม่น้ำโก-ลกบริเวณจังหวัดนราธิวาส อยู่ ในเกณฑ์น้อย

สถานการณ์การปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 21.07 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 15.04 ล้านไร่(เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ จำนวน 3.43 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 29 ของพื้นที่คาดการณ์) พืชไร่-ผัก จำนวน 2.31 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ จำนวน 3.72 ล้านไร่ รายละเอียดดังนี้

พื้นที่                               คาดการณ์พื้นที่ปลูก (ล้านไร่)                       พื้นที่ปลูกจริง (ล้านไร่)
                       ข้าวนาปรัง     พืชไร่-ผัก     พืชอื่นๆ      รวม      ข้าวนาปรัง   พืชไร่-ผัก    พืชอื่นๆ      รวม
ในเขตพื้นที่ชลประทาน           8.79        0.76      3.64     13.19       11.85      0.63      3.72    16.20
                                                                    (134.82)    (82.89)   (102)    (123)
นอกเขตพื้นที่ชลประทาน          2.82        2.04         -      4.86        3.19      1.68       -       4.87
                                                                     (113.12)   (82.35)     -     (100.21)
รวม                       11.61        2.80     3.64      18.05       15.04      2.31      3.72     21.07

(129.54) (82.50) (102.19) (116.73) หมายเหตุ ( ) หมายถึง ร้อยละของพื้นที่คาดการณ์ (ข้อมูลในเขตพื้นที่ชลประทาน กรมชลประทาน วันที่ 1 พฤษภาคม 2552, ข้อมูลนอกเขตพื้นที่ชล ประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร วันที่ 7 พฤษภาคม 2552

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ