สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและอุทกภัยภาคใต้ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 25, 2009 17:17 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ ภัยหนาว และอุทกภัยภาคใต้ สรุปสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552) ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552)

1.1 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ปี 2552 - 2553 เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาวะอากาศหนาวเย็นที่เกิดขึ้น

1.2 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่

2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 20 - 23 พฤศจิกายน 2552)

2.1 พื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง และจังหวัดนราธิวาส รวม 24 อำเภอ 100 ตำบล ดังนี้

2.1.1 จังหวัดสงขลา เมื่อช่วงคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังระบายไม่ทันในพื้นที่ลุ่มต่ำ 9 อำเภอ 40 ตำบล 241 หมู่บ้าน ดังนี้

1) อำเภอรัตภูมิ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาพระ (หมู่ที่ 1-12) ตำบลท่าชะมวง (หมู่ที่ 1-15) ตำบลกำแพงเพชร (หมู่ที่ 1-13) ตำบลคูหาใต้ (หมู่ที่ 1-14) และตำบลควนรู (หมู่ที่ 1-19) เนื่องจากน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตร

2) อำเภอควนเนียง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลรัตภูมิ (หมู่ที่ 1-13) ตำบลบางเหรียง (หมู่ที่ 1-13) ตำบลห้วยลึก (หมู่ที่ 3,6,7,9) และตำบลควนโส (หมู่ที่ 1-9) มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและการเกษตรบางพื้นที่

3) อำเภอบางกล่ำ (ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ)

4) อำเภอหาดใหญ่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลฉลุง (หมู่ที่ 1-7) ตำบล ทุ่งตำเสา (หมู่ที่ 1,5,6,7,10) ตำบลท่าข้าม (หมู่ที่ 1-4,8) ตำบลทุ่งใหญ่ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลน้ำน้อย (หมู่ที่ 4,10) เทศบาลตำบลคอหงส์ (หมู่ที่ 3,6,7) เทศบาลตำบลควนลัง (หมู่ที่ 1,4,5) และตำบลบ้านพรุ (หมู่ที่ 3,8) เนื่องจากน้ำระบายไม่ทันทำให้ท่วมขังในที่ลุ่มต่ำ

5) อำเภอคลองหอยโข่ง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งลาน (หมู่ที่ 6,7) ตำบลโคกม่วง (หมู่ที่1,2,7,8,9) ตำบลคลองหอยโข่ง (หมู่ที่ 2,3) และตำบลคลองหลา (หมู่ที่ 1-7)

6) อำเภอสิงหนคร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลม่วงงาม (หมู่ที่ 2,3,4,7,8) ตำบลวัดขนุน (หมู่ที่ 8) ตำบลบางเขียด (หมู่ที่ 2,4,5) ตำบลทำนบ (หมู่ที่ 2-7) ตำบลปากรอ (หมู่ที่ 3) ตำบลป่าขาด (หมู่ที่ 5) ตำบลรำแดง (หมู่ที่ 5,6,7) และเทศบาลตำบลสิงหนคร

7) อำเภอเมือง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ่อยา ตำบลเขารูปช้าง (หมู่ที่ 1,8) ตำบลพะวง (หมู่ที่ 1-10) ตำบลเกาะแต้ว (หมู่ที่ 1-10) ตำบลทุ่งหวัง (หมู่ที่ 1-10) และตำบลเกาะยอ (หมู่ที่ 1- 9)

8) อำเภอสทิงพระ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าหิน (หมู่ที่ 3)

9) อำเภอนาหม่อม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาหม่อม (หมู่ที่ 1-10) ตำบลพิจิตร (หมู่ที่ 1-6) ตำบลทุ่งขมิ้น (หมู่ที่ 1-7) และตำบลคลองหรัง (หมู่ที่ 1-6)

2.1.2 จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2552 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ใน 4 อำเภอ 15 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอตะโหมด ดังนี้

1) อำเภอเมือง 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกชะงาย ตำบลเขาเจียก ตำบลปรางหมู่ ตำบล ชัยบุรี ตำบลพญาขัน ตำบลลำปำ และตำบลควนมะพร้าว

2) อำเภอกงหรา 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลชะรัด ตำบลคลองทรายขาว ตำบลสมหวัง ตำบลคลองเฉลิม และตำบลกงหรา

3) อำเภอเขาชัยสน 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกม่วง

4) อำเภอตะโหมด 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองใหญ่ และตำบลเขาหัวช้าง

2.1.3 จังหวัดนราธิวาส เมื่อช่วงคืนวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2552 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำโก-ลก ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำ จำนวน 11 อำเภอ 57 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสุไหงปาดี อำเภอแว้ง อำเภอบาเจาะ อำเภอจะแนะ อำเภอยี่งอ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอระแงะ และอำเภอตากใบ ระดับน้ำในคลองตันหยงมัส สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 1.09 ม. (ตลิ่ง 15.58 ม.) ระดับน้ำแม่น้ำโก-ลก สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 0.82 ม. (ตลิ่ง 8.20 ม.)

2.2 การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน

1) กระทรวงมหาดไทย ได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้จังหวัดได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนแล้ว ดังนี้ สนับสนุนเรือท้องแบน 29 ลำ รถบรรทุก 10 คัน รถขุด 2 ลำ เครื่องสูบน้ำ 8 เครื่อง ถุงยังชีพ 6,128 ชุด ข้าวกล่อง 2,430 กล่อง น้ำดื่ม 3,466 ขวด กำลังพลจากหน่วยทหาร อาสาสมัคร มูลนิธิ อปพร. อส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 700 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

2) การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดที่ประสบภัย จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งได้ระดมเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป

2.3 สิ่งของพระราชทาน

1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ (นายดิสธร วัชโรทัย) เลขาธิการ (นายประสงค์ พิทูรกิจจา) พร้อมคณะเดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่ จังหวัดสงขลา จำนวน 2,000 ชุด ดังนี้ ที่อำเภอหาดใหญ่ ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่บ้านเกาะมวง ตำบลทุ่งตำเสา จำนวน 500 ชุด ที่อำเภอบางกล่ำ ณ ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ จำนวน 500 ชุด ที่อำเภอรัตภูมิ ณ ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ จำนวน 500 ชุด และที่อำเภอควนเนียง ณ ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอควนเนียง จำนวน 500 ชุด ในวันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2552

2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ผู้แทนพระองค์ฯ ผู้อำนวยการกองงานพระวรชายาฯ (พล.อ.อ.ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง) เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภค ให้กับราษฎรผู้ประสบภัย ที่ อบต.ปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 1,000 ชุด ในวันที่จันทร์ 23 พฤศจิกายน 2552

2.4 การตรวจเยี่ยมประชาชนและติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2552 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายถาวร เสนเนียม) และคณะ เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมผู้ประสบภัย พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่จังหวัดสงขลา ที่อำเภอรัตภูมิ บ้านนาปาบ ตำบลควนรู จำนวน 180 ชุด ที่อำเภอหาดใหญ่ บ้านไร่อ้อย หมู่ที่ 2 ตำบลฉลุง จำนวน 300 ชุด น้ำดื่ม จำนวน 1,028 ขวด และตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย ที่อำเภอสะเดา ตำบลท่าโพธิ์ และ ที่อำเภอบางกล่ำ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 23 - 28 พฤศจิกายน 2552

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักต่อไปอีก เนื่องจากในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2552 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าสู่ตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ซึ่งเกิดจากสภาวะฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตรของประชาชนแล้ว และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ