สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 28, 2010 15:41 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ ภัยแล้ง และวาตภัยที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2553) สรุปสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 — 26 เมษายน 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 60 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัยอุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล รวม 415 อำเภอ 2,797 ตำบล 22,495 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ณ วันที่ 26 เมษายน 2553)

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         17       115      729      6,034     กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่     1,583,419      495,447
                                                     ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา
                                                     พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่
                                                     แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย
                                                     อุตรดิตถ์ อุทัยธานี
2  ตะวันออก      19       199    1,478     12,957     กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม     4,455,811    1,169,056
   เฉียงเหนือ                                          นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม
                                                     มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย
                                                     ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย
                                                     หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี
                                                     อำนาจเจริญ
3  กลาง          9        31      213      1,363     กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม            440,975       79,462
                                                     ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี
                                                     ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี
4  ตะวันออก       7        36      191      1,072     จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก    545,475      104,697
                                                     ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
5  ใต้            8        34      186      1,069     กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช      216,769       66,660
                                                     ภูเก็ต ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี
   รวมทั้งประเทศ  60       415    2,797     22,495                                   7,242,449    1,915,322

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน      29 มี.ค. 2553         5 เม.ย. 2553      19  เม.ย. 2553       26 เม.ย. 2553
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ         16,590       9,641     2,877    7,729      -1,912   7,729           0   6,034     -1,695
2 ตะวันออก      33,099      12,634     2,895   12,974         340  12,974           0  12,957        -17
  เฉียงเหนือ
3 กลาง         11,736       1,380       200    1,404          24   1,404           0   1,363        -41
4 ตะวันออก       4,859       1,083         0    1,083           0   1,072         -11   1,072          0
5 ใต้            8,660       1,060       122    1,073          13   1,069          -4   1,069          0
  รวม          74,944      25,798     6,094   24,263      -1,535  24,248         -15  22,495     -1,753

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 กับปี 2552 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน              ข้อมูลปี  2553               ข้อมูลปี  2552             เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่ 26 เมษายน 2553)     (ณ วันที่ 26 เมษายน 2552)      แล้ง ปี 2553 กับปี 2552
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อยละ
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ของหมู่บ้านที่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/    ประสบภัยแล้ง
                                                                                       - ลด        ปี 2552
1   เหนือ         16,590         6,034          36.37       4,081           24.6       1,953         47.86
2   ตะวันออก      33,099        12,957          39.15       8,593          25.96       4,364         50.79
    เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736         1,363          11.61         940           8.01         423            45
4   ตะวันออก       4,859         1,072          22.06         749          15.41         323         43.12
5   ใต้            8,660         1,069          12.34         114           1.32         955        837.72
    รวม          74,944        22,495          30.02      14,477          19.32       8,018         55.38

ปี 2553 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 60 จังหวัด 415 อำเภอ 2,797 ตำบล 22,495 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 33.83 ของหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 66,493 หมู่บ้าน และร้อยละ 30.02 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 48 จังหวัด 454 อำเภอ 1,914 ตำบล 14,477 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 25.37 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 48 จังหวัด ที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 19.32 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

ปี 2553 หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มากกว่า ปี 2552 จำนวน 8,018 หมู่บ้าน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.38

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,242,449 คน 1,915,322 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 584,366 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 377,264 ไร่ นาข้าว 73,897 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 133,205 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,857 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 418,182,584 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 5,483 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,785 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 689,374,119 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 395,035,352 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 177,560,854 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 116,777,913 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 721 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ ในพื้นที่ 40 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 262 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 249 เครื่อง ภาคกลาง 100 เครื่อง ภาคตะวันออก 77 เครื่อง และภาคใต้ 33 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 29 คัน

6) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย จำนวน 640 เที่ยว รวมปริมาณน้ำจำนวนทั้งสิ้น 4,151,000 ลิตร

2. สถานการณ์วาตภัย (ระหว่างวันที่ 19-24 เมษายน 2553)

2.1 พื้นที่ประสบภัย ในช่วงระหว่างวันที่ 19-24 เมษายน 2553 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในหลายพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ทำให้ได้รับความเสียหายใน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ เชียงราย พิจิตร อุดรธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองบัวลำภู มหาสารคาม ฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี รวม 24 อำเภอ 53 ตำบล 100 หมู่บ้าน

2.2 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น และเร่งสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ ต่อไป

3. สิ่งของพระราชทาน

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำหน่วยรถผลิตน้ำดื่มไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี รวมจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 982,000 ลิตร

4. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 26 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2553

4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในวันที่ 26 เมษายน 2553 บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชก ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 เมษายน 2553 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้อีก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเพิ่มขึ้น จากนั้นในช่วงวันที่ 29 เมษายน-1พฤษภาคม 2553 บริเวณความกดอากาศสูงนี้ จะอ่อนกำลังลง

4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะให้จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะของฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สิน และผลผลิตทางการเกษตรของประชาชน และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 เมษายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ