งานศึกษาค้นคว้า: ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและคุณค่าของสารอาหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 22, 2013 15:45 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

โครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คลัสเตอร์อาหารทะเลแปรรูป จังหวัดพังงาเชื่อมโยงตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ บ่อเลี้ยงกุ้ง ประมงชายฝั่ง เชื่อมโยงไปสู่ผู้จำหน่ายสินค้าวัตถุดิบ ตลาดนัด จำหน่ายอาหารทะเลเพื่อนำไปแปรรูป รวมถึงผู้ค้า เครื่องปรุง และส่วนประกอบอื่น เช่น หัวหอม เครื่องปรุง เพื่อป้อนไปสู่ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเล ได้แก่ กุ้งย่าง กุ้งเสียบ กุ้งแห้ง กะปิ เครื่องแกง ปลา และส่งห่วงโซ่นี้ไปยังผู้แปรรูปอาหารทะเลขั้นต่อไป ได้แก่ น้ำพริกกุ้งเสียบ กุ้งเสียบปรุงรส แกงไตปลา และอาหารทะเลแปรรูปอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่ออาหารทะลที่ผ่านการแปรรูปไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปเบื้องต้น หรือผ่านการแปรรูปหลายขั้นก็ตาม สินค้าอาหารทะเลแปรรูปดังกล่าวจะได้รับการส่งผ่านไปยังร้านขายของฝาก ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร งานแสดงสินค้า และร้านจำหน่ายต่างๆ เพื่อนำส่งไปยังผู้บริโภคนั่นเอง

ท้องทะเลไทย เป็นแหล่งที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก และปัจจุบันอาหารทะเลก็ได้รับความนิยมบริโภคมากขึ้น ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและสารอาหารธรรมชาติ จนทำให้ธรรมชาติไม่สามารถผลิตให้ทันตามความต้องการ จึงต้องมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันทั่วโลกให้เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลปลาทะเลที่มีราคาแพง หรือสัตว์ทะเลอื่นๆ ทำให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ได้ในบรรดาแหล่งอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อปลามีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่

เมื่อพิจารณาที่องค์ประกอบทางเคมี พบว่าเนื้อปลามีความใกล้เคียงกับเนื้อมนุษย์มาก มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก และมนุษย์สามารถดูดซึมได้ถึง 96 % ในเนื้อปลา 100 กรัม จะให้โปรตีนที่ร่างกายต้องการต่อวันสูงถึงหนึ่งในสาม แต่ให้แคลอรี่ต่ำกว่า 100 แคลอรี่ วิตามินที่พบมาก คือ วิตามินเอ บี บี12 ดีและคิว โดยเฉพาะในน้ำมันตับปลา พบวิตามินวิตามินเอ และดี เป็นจำนวนมาก ในส่วนของเนื้อปลาจะพบวิตามินบีสูงโดยเฉพาะไนอาซินและบี 6 ปลาทะเลยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม เหล็ก ไอโอดีน และซีลีเนียม นอกจากนี้ยังพบกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ ดี คิว กลีเซอรอล อีเทอร์ สควอลีน และสตอรอล ในน้ำมันปลาซึ่งมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมัน ทั้งที่ตับและในเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและหัวใจให้ต่ำลงได้

การใช้ประโยชน์จากอาหารทะเล

ผลิตภัณฑ์แปรรูปและสารอาหารทรงคุณค่าจากทะเลที่มีการนำมาใช้ประโยชน์แล้ว เช่น สาหร่ายทะเล สารสกัดจากสาหร่ายทะเล เช่น คาราจีแนน อัลจีเนต และคอลลาเจน สารสกัดแคลเซียมและแมกเนเซียมในรูปผงจากสาหร่ายแดง สารสกัดที่มีสมบัติทำให้เบียร์ใส หรือเร่งให้โปรตีนตกตะกอนได้เร็วขึ้น สารสกัดจากสัตว์ทะเลต่างๆ เช่น เจลาตินจากปลา น้ำมันปลา กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญ ต่อร่างกายในกลุ่มโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 คือ EPA(EICOSAPEN—TAENOIC ACID) DHA (DOCOSAHEXAENOIC ACID) และ L-linolinic acid ที่สกัดได้จากปลาทะเลน้ำลึก ไคตินและไคโตแซนจากเปลือกกุ้ง ปูและกระดองปลาหมึก ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสำเร็จรูปต่างๆ บรรจุภาชนะปรุงรสพร้อมรับประทานจากกุ้ง หมึก หอย ปูและปลา ทั้งในรูปอาหารสด อาหารแห้ง อาหารเค็ม และอาหารแช่แข็ง ส่วนวัตถุดิบที่มีอยู่มากในไทย แต่ยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ น้อย คือ เคย (กุ้งตัวเล็กๆ) ซึ่งในน้ำมันเคยจะมีกรดไขมัน โอเมก้า-3 ( EPA และ DHA ) วิตามินเอ และวิตามินอีสูง ควรจะมีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงฟาร์มเคยอย่างจริงจังเพราะเลี้ยงง่ายและโตเร็วกว่าการทำฟาร์มกุ้ง

Cluster Info

คลัสเตอร์ อาหารทะเลแปรรูป จังหวัดพังงา ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โทร. 0-7720-0395-8

โทรสาร 0-7720-0449

--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ