ชิลี…พันธมิตรใหม่ของไทยในอเมริกาใต้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 14, 2013 15:35 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

หากจะกล่าวถึงประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่จะนึกถึงบราซิลหรือไม่ก็อาร์เจนตินา ก่อนเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงในเรื่องการท่องเที่ยวและกีฬาฟุตบอลซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งประเทศในอเมริกาใต้ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจไม่แพ้สองประเทศยักษ์ใหญ่ดังกล่าวและที่สาคัญกาลังก้าวเข้ามาเป็นพันธมิตรทางการค้าที่สาคัญของไทย นั่นคือ ชิลี

ชิลีถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจและการเมืองมั่นคงที่สุดในอเมริกาใต้ สะท้อนจากประชากรชาวชิลีมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในภูมิภาค นอกจากนี้ ชิลียังเป็นประเทศเดียวในอเมริกาใต้ที่ได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้ว 34 ประเทศในปี 2553 และเพิ่งถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกในปีที่ผ่านมาให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงจากทั้งหมด 76 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ในปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นที่เผชิญกับความยากลาบาก แต่เศรษฐกิจของชิลี กลับขยายตัวได้ถึง 5.5% สูงที่สุดในกลุ่ม OECD เนื่องจากนโยบายการคลังที่เข้มแข็งและนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นดึงดูด เงินลงทุนจากต่างชาติ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการส่งออกผ่านการทาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันชิลีมีข้อตกลงทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนรวมกว่า 20 ฉบับ ครอบคลุม 60 ประเทศทั่วโลก เมื่อพิจารณา ในรายละเอียด พบว่า ภาคส่งออกของชิลีคิดเป็น 40% ของ GDP สินค้าส่งออกหลัก คือ ทองแดง (ชิลีเป็นผู้ผลิตทองแดงอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่าส่งออกคิดเป็น 40% ของมูลค่าส่งออกรวม) สินแร่และโลหะอื่นๆ (20%) ผลไม้ (5%) ปลาและอาหารทะเล (4.5% และเป็นผู้ส่งออกปลาแซลมอลอันดับ 2 ของโลก) และเยื่อไม้สาหรับใช้ทากระดาษ (3.5%) ขณะที่สินค้านาเข้าหลัก คือ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ (23% ของมูลค่านาเข้ารวม) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (13%) ยานยนต์ (11%) ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (8.5%)

ในส่วนของการค้าระหว่างไทยกับชิลีนั้น พบว่า ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยไปชิลีขยายตัวเฉลี่ยปีละ 40% ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ ชิลีถือเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในอเมริกาใต้ รองจากบราซิลและอาร์เจนตินา ในปี 2555 สินค้าสาคัญที่ไทยส่งออกไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (70% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปชิลี) อาหารทะเลกระป๋อง (6%) ปูนซีเมนต์ (3%) เครื่องจักรกล (2%) ขณะที่สินค้าที่ไทยนาเข้าจากชิลี ได้แก่ สินแร่โลหะ (40%) โดยเฉพาะทองแดง สัตว์น้าสด แช่แข็งแปรรูปและกึ่งแปรรูป (28%) เยื่อและเศษกระดาษ (13%) ผัก ผลไม้และของปรุงแต่ง (2%)

ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทางการค้าของไทยและชิลีมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น หลังจากที่รัฐสภาไทยเห็นชอบในความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement) ซึ่งขั้นตอนต่อไปกระทรวงพาณิชย์เตรียมจะลงนามและคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายปี 2556 ซึ่งจะทาให้สินค้าที่ทั้งสองประเทศค้าขายกันราว 90% มีภาษี เป็นศูนย์และสินค้าอีก 10% จะทยอยลดภาษีลง และไทยจะกลายเป็นประเทศที่สองในอาเซียนต่อจากมาเลเซียที่ทา FTA กับชิลี

ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่เพียงเผชิญกับต้นทุนค่าขนส่งไปชิลีที่ค่อนข้างสูง แต่ยังต้องเสียภาษีนาเข้าในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่งสาคัญ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีน ที่ได้ทาข้อตกลง FTA กับชิลีไปก่อนหน้าแล้ว ดังนั้น หาก FTA ไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้จะช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ ได้แก่ ยานยนต์ อาหารกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยาง ข้าว และอัญมณี ขณะที่สินค้าที่คาดว่าไทยจะนาเข้ามากขึ้น ได้แก่ ทองแดง โลหะต่างๆ ปลาแซลมอน ผักและผลไม้ เยื่อกระดาษ และไวน์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ส่งออกไทยควรเตรียมหาช่องทางการค้าในการเข้าไปยึดหัวหาด ในตลาดที่มีศักยภาพอย่างชิลีผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว นอกเหนือไปจากข้อตกลง FTA ไทย-เปรู ที่มีผลบังคับใช้มาก่อนหน้านี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการส่งออกจากการพึ่งพาตลาดหลักที่เศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาอีกนานในการฟื้นตัว

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ