ถนนสู่ AEC: ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในอินโดนีเซียกับโอกาสของผู้ประกอบการไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 1, 2013 13:51 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 17,500 เกาะ จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงามมากมายที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่างเกาะบาหลี ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของนักท่องเที่ยวและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อีกทั้งประชากรมีหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้มีความแตกต่างทั้งด้าน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และอาหาร ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ The Tavel & Tuism Cmpetitiveess Rept 2013 ของ Wl Ecmic Fum (WEF) ได้ปรับเพิ่มอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของอินโดนีเซียจากอันดับที่ 74 ในปี 2554 เป็นอันดับที่ 70 ในปี 2556 จากการจัดอันดับทั้งหมด 140 ประเทศ สะท้อนศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในอินโดนีเซีย

ปัจจัยสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในอินโดนีเซีย
  • ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาตร์และโบราณสถาน รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางกลับมาเยือนอินโดนีเซียอีกหลายครั้ง ทั้งนี้ WEF ได้จัดให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงามอันดับที่ 6 จากการจัดอันดับทั้งหมด 140 ประเทศปจจุบันอินโดนีเซียมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (Wl Heitae Site) จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) จำนวน 8 แห่ง ที่สำคัญ ได้แก่ มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (The Bbuu Temple Cmpus) ศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เก่าแก่ และอุทยานแห่งชาติโคโมโด (Km Natial Pak) ที่อยู่อาศัยของมังกรโคโมโด สัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์ที่พบได้ตามธรรมชาติที่อินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นต้น
  • จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.5-9 ล้านคน ในปี 2556 จากราว 8 ล้านคนในปี 2555 ขณะที่ WEF คาดการณ์ว่าธุรกิจท่องเที่ยวของอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องโดยจะขยายตัวเฉลี่ย 7% ต่อปี ในช่วงปี 2556-2565 เทียบกับที่ขยายตัว 3% ในปี 2555
  • รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยกำหนดให้เป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศส่งเสริมการลงทุนภายใต้แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอินโดนีเซีย หรือ Maste Pla f Acceleati a Expasi f Iesia Ecmic Develpmet 2011-2025 (Mastepla Pecepata a Peluasa Pembaua Ekmi Iesia : MP3EI) ซึ่งรัฐบาลตั้งงบประมาณ 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังเร่งรัดการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและเครือข่ายคมนาคมรอบด้านเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการคมนาคมทางอากาศ ซึ่งรัฐบาลได้ผลักดันให้ Gaua Ai สายการบินแห่งชาติของอินโดนีเซียเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศหลายสิบเส้นทางเพื่อเชื่อมเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ การเปิดเส้นทางการบินเพื่อเชื่อมโยง Mea (เมืองหลวงของจังหวัด Nth Sumata) กับเมืองสำคัญอื่นๆ ในประเทศ อาทิ Depasa (เมืองหลวงของจังหวัด Bali) Bau (เมืองหลวงของจังหวัด West Java) Pekabau (เมืองหลวงของจังหวัด Riau) Suabaya (เมืองหลวงของจังหวัด East Java) และ Makassa (เมืองหลวงของจังหวัด Suth Sulawesi) เป็นต้น เพื่อให้ Mea เป็นศูนย์กลางการบินทางตะวันตกของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางการบินแห่งที่ 4 ของอินโดนีเซีย เพิ่มเติมจากกรุง Jakata (เมืองหลวงของและเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางการบินแห่งที่ 4 ของอินโดนีเซีย เพิ่มเติมจากกรุง Jakata (เมืองหลวงของอินโดนีเซีย) เมือง Depasa และเมือง Makassa
โอกาสการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทย

ธุรกิจท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง ตลอดจนการเร่งรัดพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อ รองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวของรัฐบาลอินโดนีเซีย จะช่วยเกื้อหนุนโอกาสทางการค้าการลงทุนในธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ดังนี้

  • ธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยมีความชำนาญ แม้ว่าปัจจุบันอินโดนีเซียมีโรงแรมและที่พักจำนวนมากในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงแรมยังมีความน่าสนใจลงทุนในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัด Cetal Sulawesi จังหวัด West Nusa Teaa และเขตการปกครองพิเศษ Yyakata ที่ยังมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (Occupacy Rate) อยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของทั้งประเทศ รวมทั้งจังหวัด Bali ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในระดับสูงและรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ ผู้ประกอบการไทยอาจเข้าซื้อกิจการหรือบริหารจัดการโรงแรมที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าโรงแรมระดับ 4-5 ดาวเป็นที่นิยมมากกว่า โรงแรมระดับ 1-3 ดาว โดยพิจารณาจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่สูงกว่า
  • ธุรกิจอาหาร เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรราว 240 ล้านคน มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น ขณะที่อินโดนีเซียยังผลิตสินค้าอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะเข้าไปขยายตลาดในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะข้าว ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระปองและแปรรูป ผลไม้กระปองและแปรรูป และไอศกรีม เป็นต้น รวมทั้งอาหารที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และหมากฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงการป้อนวัตถุดิบหรือขยายช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารผ่านโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ปัจจุบันอินโดนีเซียยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียเล็งเห็นความสำคัญในการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายคมนาคม ทั้งถนน ท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ จึงเป็นโอกาสของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของไทย รวมถึงการส่งออกสินค้าวัสดุก่อสร้าง อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สายไฟและสายเคเบิล ปูนซีเมนต์ และแร่ยิปซัม เป็นต้น
  • สินค้าที่ใช้ในธุรกิจท่องเที่ยว ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในอินโดนีเซีย จึงนับเป็นโอกาสส่งออกสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในธุรกิจโรงแรม อาทิ ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ปลอกหมอน ของใช้ในห้องน้ำ อาทิ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม และหมวกอาบน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซียควรศึกษาข้อมูลตลาด กฎระเบียบ ด้านการค้าการลงทุน ซึ่งในเบื้องต้นสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย http://www.thaibiziesia.cm/th/iex.php และติดตามความเคลื่อนไหวในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกฎหมายและกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเดินทางไปสำรวจตลาดและพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงลักษณะและศักยภาพของตลาดและโอกาสการลงทุน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น รวมถึงใช้ประโยชน์จากการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Ecmic Cmmuity : AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างไทยกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มีความเป็นเสรียิ่งขึ้น อันจะเอื้อต่อการค้าการลงทุนระหว่างไทยและอินโดนีเซียมากขึ้น

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ