หน่วยงานสิงคโปร์ Department of Statistics ประกาศอัตราเงินเฟ้อปี 2553 เป็นร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2552 (ร้อยละ 0.6) โดยสืบเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากในด้านการคมนาคมขนส่ง การศึกษาและเครื่องเขียน ที่พักอาศัย และอาหาร ทั้งนี้ คาดว่า ราคาของรถยนต์และที่พักอาศัยจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง สำหรับราคาอาหารจะมีระดับราคาสูง ขึ้นต่อไป เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลายประเทศประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ส่งผลให้สินค้าเกษตรสำคัญมีราคาสูงขึ้น ได้แก่
1. ข้าวสาลี เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6
2. น้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
3. กาแฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
4. ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3
5. ข้าวโพด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
6. ข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6
ดังนั้น จึงทำให้ราคาสินค้าอาหารเพิ่มสูงขึ้นทุกชนิด ส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพในสิงคโปร์สูงขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือ กลุ่มที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ในส่วนของราคาสินค้า นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า การเพิ่มราคาสินค้าขายปลีกคงจะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในสิงคโปร์มีการแข่งขันสูง ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าตามราคาและความต้องการ ทั้งนี้ คาดว่า ผู้ค้าและผู้ผลิตต้องเพิ่มราคาสินค้าจำหน่ายปลีกสูงขึ้น เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นๆเช่น ค่าแรง ค่าเช่าสถานที่ และค่าวัตถุดิบ ทั้งนี้ เมื่อสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลทางอ้อมให้ผู้บริโภคจะลดปริมาณการซื้อสินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ สินค้าเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ ของใช้ในครัวเรือน และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
นักเศรษฐศาตร์ให้ความเห็นว่า การช่วยเหลือจากภาครัฐโดยเฉพาะ Monetary Authority of Singapore (MAS) ในการสร้างนโยบายทำให้อัตราเงินเฟ้อคงที่และค่อยๆลดลง อีกทั้งในระหว่างที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ภาครัฐควรมีนโยบายจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือประชาชนให้สามารถอยู่รอดได้
อนึ่ง ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์ที่แข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ใช้ต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ แต่การเติบโตของเศรษฐกิจในระดับที่ดีและตลาดแรงงานที่มีกฎ/ระเบียบเคร่งครัดขึ้น จะเป็นส่วนที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอีกได้ ซึ่งภาครัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือโดยการทำให้มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และให้มีนโยบายทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำคงที่
อัตราเงินเฟ้อปี 2553 เทียบกับปี 2552
อัตราเงินเฟ้อปี 2553 เป็นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปี 2552 (ร้อยละ 0.6) เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นมากของค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมขนส่ง(+10.3%) การศึกษาและเครื่องเขียน(+2.7%) ที่พักอาศัย (+2.0%) และอาหาร(+1.4%)
ตารางเปรียบเทียบดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อ แยกตามกลุ่มสินค้า ดังนี้ (2009 = 100)
กลุ่ม น้ำหนัก % ดัชนีราคา การเปลี่ยนแปลง อัตราเงินเฟ้อ %
พย. 53 ธค. 53 ธค.53/ ธค.53/ 2553/
พย.53 ธค.52 2552
รวมทุกกลุ่ม 100 104.5 104.6 0.2 4.6 2.8 อาหาร 22 102 102.2 0.2 2.1 1.4 เสื้อผ้า และ รองเท้า 3 102.8 99.6 -3.1 0.1 0.5 ที่พักอาศัย 25 104.3 103.2 -1.1 5.1 2 การคมนาคมขนส่ง 16 113.4 116.3 2.6 12.8 10.3 การโทรคมนาคม 5 98 98.1 0.1 0.7 -2.2 การศึกษา และ เครื่องเขียน 7 103.9 103.9 - 3.7 2.7 การรักษาสุขอนามัย 6 102.9 102.9 - 2.7 1.9 การพักผ่อน และ อื่นๆ 16 102.4 102.7 0.3 2.1 1.2 รวมทุกกลุ่ม ยกเว้นที่พักอาศัย 80 104.6 105.1 0.5 4.3 3.3
ที่มา : Singapore Department of Statistics
อัตราเงินเฟ้อ ปี 2547-2553
ปี ดัชนีราคาผู้บริโภค (2009=100) อัตราเงินเฟ้อ (%) 2547 90 1.7 2548 90.4 0.5 2549 91.3 1 2550 93.2 2.1 2551 99.4 6.6 2552 100 0.6 2553 102.8 2.8
ที่มา : Singapore Department of Statistics
ที่มา : Singapore Department of Statics, Ministry of Trade and Industry, The Business Times
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th