ในรอบปี 2553 ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยมีความไม่ปกติ เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและมีความตึงเครียดบริเวณชายแดนต่อเนื่องมากจากปี 2552 แต่เพราะความสัมพันธ์ทางการค้าดีกว่าด้านอื่นๆ จึงทำการค้าได้ตามปกติ ไม่มีการปิดชายแดนทำให้สินค้าจีนและเวียดนามที่รอเข้ามาแทนที่ส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในกัมพูชาทำได้ไม่ง่ายนัก
ผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกัมพูชา การนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกของกัมพูชาในปี 2553 เปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มประมาณร้อยละ 20 โดยการนำเข้าจากไทยเพิ่มร้อยละ 48 เวียดนามเพิ่มร้อยละ 36 จีนเพิ่มร้อยละ 42 และเกาหลีใต้เพิ่มร้อยละ 30 เป็นต้น
1. ภาวะการค้าไทย-กัมพูชา
1.1 มูลค่าการค้ารวม
ในปี 2553 มีมูลค่ารวม 2,556.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 54.18 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่ารวม 1,658.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 2,342.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มร้อยละ 48.17 และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 214.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 176.32
โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 2,127.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
1.2 การส่งออก
กัมพูชายังคงนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยไทยมีส่วนแบ่งในการนำเข้าประมาณร้อยละ 26 เวียดนามร้อยละ 20 จีนร้อยละ 15 สิงคโปร์ร้อยละ 12 ฮ่องกงร้อยละ 8 และเกาหลีใต้ร้อยละ 5 สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่
- น้ำมันสำเร็จรูป มูลค่า 281.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 54.36 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 182.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความต้องการใช้เพิ่มในภาคอุตสาหกรรม และการขนส่ง
- น้ำตาลทราย มูลค่า 206.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 17.95 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 174.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะมีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งต่อไปเวียดนามจำนวนหนึ่ง
- ปูนซีเมนต์ มูลค่า 118.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 41.88 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 83.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ มูลค่า 72.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 68.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ถนน และสะพาน เป็นต้น
- เครื่องดื่ม มูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 46.20 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 79.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ เวียดนาม จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้
- เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว มูลค่า 80.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 50.56 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 53.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จึงแสดงถึงความนิยมและจงรักภักดีต่อสินค้าไทยในหมู่คนกัมพูชา
- ผ้าผืนมูลค่า 77.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 49.90 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 51.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะมีการย้ายโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อส่งออกของไทยจำนวน 2 โรงงานตั้งอยู่ในกัมพูชา
- เคมีภัณฑ์ มูลค่า 77.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 4.31 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 74.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง (ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และอุปกรณ์ เพิ่มร้อยละ 22.61 และ 77.80 ตามลำดับ
สินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราการขยายตัว % 2550 2551 2552 2553 2550 2551 2552 2553 น้ำมันสำเร็จรูป 215.2 404.9 182.1 281.1 48.72 88.15 -55.03 54.36 น้ำตาลทราย 61 100 174.9 206.3 -31 63.93 74.9 17.95 ปูนซีเมนต์ 86.2 90.7 83.8 118.9 19.72 5.22 -7.61 41.88 เครื่องดื่ม 74.1 93.1 79 115.5 7.08 25.64 -15.15 46.2 เครื่องสำอาง สบู่ 37 44.6 53.2 80.1 15.99 20.54 19.28 50.56 และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผ้าผืน 37.2 47.3 51.7 77.5 -33.33 27.15 9.3 49.9 เคมีภัณฑ์ 54.5 78.5 74.1 77.3 6.65 44.04 -5.61 4.31 ผลิตภัณฑ์ยาง 42.1 56.6 59.7 73.2 31.56 34.44 5.48 22.61 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 42.8 123.1 68.5 72.5 0.71 187.61 -44.35 5.83 เครื่องยนต์สันดาปภายใน 46.4 72.7 39.2 69.7 55.98 56.68 -46.08 77.8 แบบลูกสูบ และอุปกรณ์ อื่นๆ 658.9 928.6 714.4 1,170.00 6.58 40.93 -23.06 63.77 รวมทั้งสิ้น 1,355.40 2,040.10 1,580.60 2,342.10 9.7 50.52 -22.52 48.17 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร1.3 การนำเข้า
มูลค่ารวม 214.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 176.31 เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 77.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ (เศษเหล็ก) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง พริก และเม็ดมะม่วงหิมพานต์) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
สินค้านำเข้าของไทยจากกัมพูชา
2550 2551 2552 2553 2550 2551 2552 2553 เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ - - - 72.4 - - - - พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 15.1 39.3 30 47.4 98.68 160.26 -23.66 58 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 9.6 15.2 6.6 26.6 33.33 58.33 -56.58 303.03 สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ 5.5 16.9 9.5 25 10 207.27 -43.79 163.15 ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งจากผัก ผลไม้ 1 3.6 17.2 14.4 900 260 377.78 -16.2 เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 2.5 4 2.9 6 56.25 60 -27.5 106.89 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 1.6 1.9 2.3 5.7 77.78 18.75 21.05 147.82 ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ 0.6 0.5 2.9 2.4 -14.29 -16.67 480 -17.24 แร่ และผลิตภัณฑ์จากแร่ - 0.4 0.7 1.2 - - 75 71.42 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 0.1 - - - 1.1 - อื่นๆ 12.8 8.4 5.6 13.6 10.34 -34.37 -33.33 142.85 รวมทั้งสิ้น 48.8 90.2 77.7 214.7 40.63 84.84 -13.86 176.31 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร 2. การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มีมูลค่า 55,411 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2552 ที่มีมูลค่า 45,374 ล้านบาท ร้อยละ 22.12 แยกเป็นไทยส่งออก 51,113 ล้านบาท และไทยนำเข้า 4,298 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า มูลค่า 46,815 ล้านบาท
การค้าชายแดนยังคงความสำคัญต่อการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 72 ของมูลค่าการค้ารวม โดยการนำเข้าทางด่านศุลกากรอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว คิดเป็นร้อยละ 59 ของมูลค่าการค้าชายแดน รองลงมาคือการนำเข้าทางด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด ร้อยละ 37 และด่านศุลกากรช่องจอม จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 2 เป็นต้น
สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อาหารสัตว์ เครื่องดื่ม เครื่องยนต์เบนซิน/ดีเซล อะไหล่รถจักรยานยนต์ ผ้าผืน และสินค้าอุปโภค-บริโภคทั่วไป ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เหล็ก เ หล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค กาแฟ ชา และเครื่องเทศ
ตารางแสดงมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านบาท อัตราการขยายตัว % 2550 2551 2552 2553 2551 2552 2553 มูลค่าการค้ารวม 34,930 50,308 45,374 55,411 44.03 -9.81 22.12 ส่งออก 33,283 47,372 42,879 51,113 42.33 -9.48 19.2 นำเข้า 1,646 2,936 2,495 4,298 78.37 -15.02 72.26 ดุลการค้า 31,637 44,436 40,384 46,815 40.46 -9.12 15.92 ที่มา : กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 3. ความเห็นของสำนักงานฯกัมพูชาเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าที่เพิ่มทุกปี ประกอบกับกัมพูชามีการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ ซึ่งมีพื้นที่โครงการใกล้กับประเทศไทย เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 2 แห่ง ในจังหวัดเกาะกง มูลค่าเงินลงทุน 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต้องนำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยนับล้านตันในปี 2554 และโครงการก่อสร้างโรงแรม 5 ดาว ขนาด 17 ชั้น มูลค่ากาอสร้าง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และศูนย์การค้าในจังหวัดพระสีหนุ เป็นต้น
ความขัดแย้งข้อพิพาทระหว่างไทยและกัมพูชาต่อกรณีพระวิหาร และต่อกรณีการจับตัวคนไทย 7 คน ขึ้นศาลข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สร้างความวิตกกังวลแก่คนไทยในประเทศไทย ขณะที่ข่าวในกัมพูชาไม่รุนแรงสะเทือนความมั่นคงของรัฐบาลแต่อย่างใด จึงเป็นเรื่องโชคดีของผู้ประกอบการไทยที่ยังคงทำการค้ากับกัมพูชาได้ตามปกติ ไม่มีการปิดชายแดน ไม่มีการคลั่งรักชาติ และไม่มีการสร้างข่าวตื่นกลัว ต่อต้านสินค้าไทยแต่อย่างใด
สำนักงานฯจึงเห็นว่า ควรที่ผู้ประกอบการไทยจะให้ความสำคัญต่อการค้ากับกัมพูชา โดยสานต่อการค้า ควรหันมามองกัมพูชาเพื่อการลงทุนโดยอาศัยศักยภาพของกัมพูชาเพื่อทำการผลิตออกสู่ตลาดโลกต่อไป
สคต.พนมเปญ
ที่มา: http://www.depthai.go.th