รายงานภาวะตลาดสินค้ายางรถยนต์ในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 22, 2011 13:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สินค้า                       : ยางนอกชนิดอัดลมสำหรับใช้กับรถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานและ

จักรยานยนต์ ยานอวกาศ (new pneumatic tyres, of rubber)

: รหัสสินค้า HS. 4011

2. การบริโภค
   - กลุ่มเป้าหมาย               : ผู้ซื้อทั่วไป

3. การนำเข้ารวม (ยูเออี)         : ปี 2008 มูลค่า 1,051 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปี 2009 มูลค่า 878 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขยายตัวในเชิงมูลค่า ลดลงร้อยละ 17

ปี 2010 มูลค่า 916 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขยายตัวในเชิงมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 3.1 นำเข้าจากประเทศ : ญี่ปุ่น 34.3% จีน 26.5% อินโดนีเซีย 6.5% เกาหลีใต้ 6.2% อินเดีย 4.5% 3.2 การนำเข้าจากไทย : ยูเออีนำเข้ายางรถยนต์นี้จากไทยในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาสรุปได้ดังนี้

ปี 2008 มูลค่ามากเป็นอันดับที่ 8 หรือ 29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 7,100 ตัน

ปี 2009 มูลค่ามากเป็นอันดับที่ 7 หรือ 27.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 6,827 ตัน

อัตราขยายตัวในเชิงมูลค่าลดลง ร้อยละ -4.8

ปี 2010 มูลค่ามากเป็นอันดับที่ 7 หรือ 32.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 7,367 ตัน

อัตราขยายตัวในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19

4. การผลิตในประเทศ             :  ไม่มีโรงงานผลิตยางรถยนต์ แต่มีโรงงานหล่อดอกยาง   นอกจากใช้จำหน่ายในประเทศแล้ว

สินค้าบางส่วนเพื่อใช้สำหรับส่งออกไปประเทศที่มีกำลังการซื้อน้อย เช่น กลุ่มประเทศอัฟริกา

5. การส่งออกต่อ                 :  รัฐดูไบส่งออกต่อ(Re-export) ปี 2010 มีปริมาณ 260,343 ตัน คิดเป็นมูลค่า

ประมาณ 836 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดหลักที่ส่งออกต่อยางรถยนต์มาก 10 ประเทศแรกได้แก่

อิหร่าน 32% อิรัก 20% ซาอุดิอาระเบีย 11% แทนซาเนีย 4.4% คูเวต 3.2% ซูดาน 3% ไนจีเรีย

กาตาร์ โอมาน และ เคนย่า ประมาณ 2% ตามลำดับ 6. ช่องทางการจำหน่าย :

การจำหน่ายยางรถยนต์ในยูเออีไม่ซับซ้อน ไม่มีตลาดผู้ผลิตและผู้ประกอบรถยนต์ มีแต่ตลาดผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำระดับโลก ได้แก่ Bridgestone ของญี่ปุ่น, Goodyear ของอเมริกัน, Michelin ของฝรั่งเศส ล้วนแต่มีตัวแทนจำหน่ายและมีศูนย์บริการลูกค้าของตนเอง ในส่วนของผู้ผลิตยางรถยนต์แบรนด์เนม ของเอเซียใช้กลยุทธ์ในการตั้งผู้แทนจำหน่าย

          - ผู้นำเข้า                     ร้อยละ  : 70
          - นายหน้าค้าต่าง                ร้อยละ  : 20
          - ร้านขายปลีก                  ร้อยละ  : 10

7.  - ฤดูกาลสั่งซื้อ   :  ตลอดปี
  • ฤดูกาลจำหน่าย : ตลอดปี
  • การแข่งขัน : มีการแข่งขันในด้านราคาระหว่างผู้นำเข้า ขณะนี้ยางรถยนต์ราคาถูกของจีนเข้าไปจำหน่ายมาก

รองลงไปเป็นสินค้าจากอินโดนีเซีย

9. เงื่อนไขและกฎระเบียบการนำเข้า
  • ภาษีนำเข้าจากราคา CIF : ร้อยละ 5
   - ภาษีมูลค่าเพิ่ม            : ไม่มี
  • สิทธิพิเศษทางศุลกากร : ไม่มี
10. เอกสารประกอบการนำเข้า : Invoice, Certificate of Origin ประทับตรารับรองจากหอการค้าไทย และ Legalize

จากสถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading และPacking List

11. มาตรฐานสินค้า : โดยทั่วไปกลุ่มประเทศ GCC และยูเออี ยางรถยนต์จะต้องถูกต้องตามมาตรฐาน AGCC Standardisation กล่าวคือ

ยางรถจะต้องสามารถทนความชื้นและอากาศร้อนจัดในภูมิภาคนี้ มาตรฐานของความเร็วสัมพัทธ์กับยางจะต้องไม่น้อยกว่า

120 kmph.

12. กฏระเบียบอื่นๆ : ยูเออีมีกฎหมายห้ามนำเข้ายางรถยนต์/อะหลั่ยรถยนต์/แบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้แล้ว เข้าประเทศ

(used tyres/batteries/vehicle parts) ยกเว้นรัฐชาร์จาห์อนุญาตการนำเข้าอะหลั่ยรถยนต์มือสอง

13. ภาวะตลาด

1. กลุ่มประเทศอัฟริกาตะวันออกเคยเป็นตลาดรองรับสินค้ายางรถยนต์ทุกชนิดของยูเออี โดยมีดูไบเป็นศูนย์กลางส่งออกต่อ การขนส่งสินค้าจากดูไบโดยเรือขนส่งทางทะเล ต่อมาเป็นกลุ่มประเทศ CIS เป็นผู้สินค้ากลุ่มนี้จากยูเออี ซึ่งขนาดตลาดและกำลังซื้อมากกว่าตลาดอัฟริกา โดยมีดูไบเป็นศูนย์กลส่งออกต่อ

2. สำหรับตลาดในประเทศยูเออีที่มีประชากร 8.2 ล้าน ประมาณว่าประชากรทุก 1.84 คนใช้รถยนต์เฉลี่ย 1.7 คัน ดังนั้นอัตราการใช้รถยนต์ต่อประชากรของยูเออีมีจำนวนสูงสุดในโลก เหตุผลที่มีนัยสำคัญต่อตลาดยางรถยนต์ทุกชนิดของดูไบประเทศยูเออี คือ ห่วงโซ่การค้า/นำเข้า/ ขายส่งและขายปลีกของสินค้านี้สามารถหาแหล่งนำเข้าได้อย่างกว้างขวางทั่วถึง สามารถเข้าถึงโรงงานผู้ผลิตโดยตรง มีระบบการสต๊อกสินค้าและระบบ Logistic ประสิทธิภาพสูง กอรปกับความมีชื่อเสียงในด้านการค้า/การส่งออกต่อที่สะสมมายาวนาน ภาษีนำเข้าสินค้าต่ำ ราคาสินค้าของดูไบต่ำกว่าตลาดอื่นๆในภูมิภาคนี้ประมาณ 15-20%

3. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องคืองาน Automechanika Middle East 2011 จัดขึ้นในรัฐดูไบ ปี 2554 มีขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน และกรมส่งส่งเสริมการส่งออกนำคณะผู้แทนการค้าจากประเทศไทยเข้าร่วมงานนี้กว่า 25 บริษัท

14. สรุป :

1. ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีรัฐดูไบ ศูนย์กลางนำเข้ายางรถยนต์มีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน ขณะนี้ราคาจำหน่ายยางรถยนต์มีการแข่งขันสูง เพราะมีการนำเข้าสินค้าหลายยี่ห้อจากหลายประเทศ ยางรถยนต์จากจีนมีมากยี่ห้อที่สุด รวมทั้งมีบริษัทและผู้ผลิตยางรถยนต์ของจีนหลายรายได้จัดตั้งสำนักงานขายของตนขึ้นในรัฐดูไบเพื่อจะขยายตลาดนี้เพิ่มขึ้นอีก ทั้งยังใช้ดูไบเป็นฐานสำหรับส่งออกต่อไปประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ กลุ่มประเทศอัฟริกา และยุโรปตะวันออก

2. อิหร่านเป็นตลาดรองรับสินค้ายางรถยนต์ที่ส่งออกไปจากรัฐดูไบ แต่ตลาดนี้เริ่มผันผวนลดการนำเข้าลง ตลาดใหม่ที่ดูไบส่งออกต่อยางรถยนต์ขณะนี้ คือ อิรักและกลุ่มประเทศซีไอเอส โดยส่งผ่านไปยังประเทศอิหร่านที่ท่าเรือทางตอนใต้ของประเทศ หลังจากนั้นจะขนส่งไปยังประเทศปลายทางโดยทางรถบรรทุก และเป็นที่น่าสังเกตว่าจากกลุ่ม 10 ประเทศแรกที่ดูไบนำเข้ายางรถยนต์ที่มีมูลค่ามากส่วนใหญ่เป็นประเทศจากเอเซีย นอกจากนั้นจากเยอรมัน สหรัฐฯและฝรั่งเศส

3. ผลิตภัณฑ์ยางพารามีการใช้แพร่หลายทั้งในด้านอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน วัสดุยางมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งวัสดุสังเคราะห์ยากต่อการเลียนแบบ ประเทศไทยมีการเพาะปลูกต้นยางพาราเป็นแหล่งวัตถุดิบปริมาณมาก หากนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางจะเป็นการเพิ่มมูลค่าได้มาก การนำเข้ายางรถยนต์จากไทยของยูเออีในปีที่ผ่านมามีสัดส่วนตลาดขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้คู่แข่งขันอื่นๆก็ส่งสินค้าราคาถูกกว่าเข้าไปจำหน่ายมาก โดยเฉพาะยางรถยนต์จากอินโดนีเซียและอินเดีย ดังนั้นผู้ส่งออกไทยควรรักษาคุณภาพสินค้าเพื่อรักษาสัดส่วนตลาดของสินค้าไว้

4. สินค้ายางรถยนต์จากเยอรมัน สหรัฐฯ และฝรั่งเศส เป็นสินค้าคุณภาพดี และผู้ใช้มั่นใจได้ว่าปลอดภัย และซื้อหาเพื่อใช้กับรถยนต์ยี่ห้อจากยุโรปที่ตนใช้อยู่ ยางรถยนต์จากกลุ่มประเทศยุโรปส่วนใหญ่นำเข้าเพื่อสำหรับใช้ในประเทศยูเออีมากกว่าที่จะส่งออกต่อ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ