ภาวะสินค้าวัสดุก่อสร้างประเทศญี่ปุ่นเดือนเมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 30, 2012 13:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะสินค้าวัสดุก่อสร้างประเทศญี่ปุ่น

เดือนเมษายน 2555

ดัชนีราคาและราคาวัสดุก่อสร้างสำคัญ

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. 55 พิจารณาจากวัสดุสำคัญ 6 รายการ ได้แก่ เหล็กข้ออ้อย เหล็กรูปพรรณตัว H ปูนซีเมนต์ผสมสำเร็จรูป ยางมะตอย ไม้อัดแบบหล่อคอนกรีต และท่อนไม้สน เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาสินค้าที่มีดัชนีราคาลดลง คือ ยางมะตอย(ลดลงร้อยละ 5.15) นอกนั้นราคาไม่เปลี่ยนแปลง

เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าที่มีค่าดัชนีราคาเพิ่มขึ้น จำนวน 1 รายการคือ ยางมะตอย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 )

สินค้าที่มีค่าดัชนีราคาลดลง จำนวน 4 รายการ คือ เหล็กรูปพรรณตัว H (ลดลงร้อยละ 12.50) เหล็กข้ออ้อย (ลดลงร้อยละ 10.77 ) ไม้อัดแบบหล่อคอนกรีต (ลดลงร้อยละ 8.00 ) และและท่อนไม้สน (ลดลงร้อยละ 3.33 ) ส่วนปูนซีเมนต์ผสมสำเร็จรูปดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง

แนวโน้มราคาของวัสดุก่อสร้างที่สำคัญ

***ราคา ณ กรุงโตเกียว***

          วัสดุ                          ราคา ณ เม.ย. 55          เทียบกับเดือนที่ผ่านมา      แนวโน้มราคาในอนาคต
เหล็กข้ออ้อย (SD295A D16-(2))                58 เยน /กิโล                คงที่                   เพิ่มขึ้น
เหล็กรูปพรรณตัว H                            69 เยน  /กิโล               คงที่                   คงที่
(200 x 100 x 535 x 8 mm SS400 (2))
ซีเมนต์พอร์ตแลนด์                             10,000 เยน /ตัน             คงที่                   คงที่
ปูนซีเมนต์ผสมสำเร็จรูป                         12,300 เยน / ล.บ.ม.        คงที่                   คงที่
ไม้อัดแบบหล่อคอนกรีต                          920 เยน / แผ่น              ลดลง                  คงที่
ยางมะตอย(Straight Asphalt)                83,500 เยน /ตัน             คงที่                   เพิ่มขึ้น
60-80 Rory
ที่มา: Economic Research Association   http://www.kensetsu-plaza.com/


ประมาณการความต้องการวัสดุก่อสร้างของญี่ปุ่น (เดือน พ.ค 55) (เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา)
          - ซีเมนต์ ปริมาณความต้องการ 3,300,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3)
          - คอนกรีต ปริมาณความต้องการ 6,500,000 ล.บ.ม. (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8)
          - ไม้ ปริมาณความต้องการ 700,000 ล.บ.ม. (ลดลงร้อยละ 2.4)
          - เหล็กทั่วไป ปริมาณความต้องการ  1,600,000 ตัน  (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9)
          - เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ปริมาณความต้องการ  360,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4)
          - เหล็กแบนตัดขนาดเล็ก ปริมาณความต้องการ 660,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0)
          - ยางมะตอย ปริมาณความต้องการ 125,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6)

วัสดุก่อสร้างสำคัญที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทย
การนำเข้าจากไทย ปี 2555(ก.พ.55)

โครงสร้างและชิ้นส่วนที่ทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้า  (7308)
          - ไทย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 คิดเป็นมูลค่า 7.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.91 อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 69.62)
          - จีน ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 206.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.74 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.50)
          - เกาหลีใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นมูลค่า 21.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.47 อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.96)

โครงสร้างอลูมิเนียมเพื่อการก่อสร้าง  (7610)
          - ไทย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 คิดเป็นมูลค่า 3.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.75 อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 95.41)
          - จีน ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 32.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.15 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13)
          - เกาหลีใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นมูลค่า 7.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.46 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.08)

ไม้แปรรูปที่มีหน้าตัดคงที่ เซาะร่อง บากลิ่ม อื่นๆ (4409)
          - ไทย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 10 คิดเป็นมูลค่า 0.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.82 อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.89)
          - จีน ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 20.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.55 อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.10)
          - อินโดนีเซีย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นมูลค่า 7.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.05 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.47)




                                                                                             สตค.ฟูกูโอกะ
                                                                                            เมษายน 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ