สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 14:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของสหราชอาณาจักร

เป้าหมาย :

ปริมาณการค้ามีมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

ยุทธศาสตร์

1.ผลักดันการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการเชิงรุก

1.1 สินค้าที่มีศักยภายในตลาดสหราชอาณาจักร ได้แก่ สินค้าอาหาร(25รายการ) ปี 2554 มีมูลค่าส่งออกมายังสหราชอาณาจักร

จำนวน 1,095.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2554 มีมูลค่าส่งออกมายัง สหราชอาณาจักรจำนวน

272.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

1.2 ธุรกิจบริการ ได้แก่ ร้านอาหารไทย ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในสหราชอาณาจักรกว่า 1600 ร้าน ร้านให้บริการสปาไทย/

นวดแผนไทยปัจจุบันมีกว่า 70 ร้าน

2. แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า โดยการประสานงานการกับหน่วยงานท้องถิ่น ผู้ประกอบการไทยท้องถิ่น และหน่วยงานราชการไทยที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปัญหาการนำเข้าผักสดไทยมายังสหภาพยุโรป

ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

1. ในปี 2554 GDP ของประเทศสหราชอาณาจักรขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.7 ลดลงจากปี 2553 ที่มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 และคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.2

2. ด้านการผลิตในปี 2554 ภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร มีอัตราการขยายตัวร้อยละ -1.2 ในขณะที่ภาคบริการมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.6 และภาคการก่อสร้าง มีอัตราขยายตัวร้อยละ 2.7

3. ด้านการบริโภคใน ไตรมาสแรก 2555 โดยดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการ(PMI) มีปรับตัวดีขึ้นเกินกว่า 50 จุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาสแรกน่าจะขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อย

4. อัตราการว่างงาน ล่าสุดในรอบ 3 เดือน(ธ.ค54-ก.พ55)อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงาน เทียบกับ3 เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.4 โดยมีจำนวนแรงงานลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าจำนวน 50,000 คน.

5. อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเนื่องจากการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 17.5 มาเป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5(มี.ค 55) จากจุดสูงสุดในเดือนกันยายน 2554 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 5.2 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2555 ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 2.8

6. ตัวเลขดุลการค้าของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 4 ของปี 2554 ขาดดุลลดลงมาอยู่ที่ -5.9 พันล้านปอนด์ เทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2554

การท่องเที่ยว

เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ส่งผลให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 7.13 แต่หลังจากนั้นก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้ อย่างไรก็ดี ภาพรวมนักท่องเที่ยวในปี 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาเยือนประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 9 ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยมีจำนวน 844,221 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 810,000 คน จัดได้ว่าสหราชอาณาจักรเป็นตลาดนักท่องเที่ยวจากตะวันตกที่สำคัญอีกประเทศหนึ่งของไทย นอกจากนี้เว็บไซต์ท่องเที่ยวชั้นนำในยุโรป Skyscanner ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวในแถบทวีปเอเชียติดหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม 20 อันดับ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย (ปี 2552 อันดับที่ 8, ปี 2553 อันดับที่ 9, และปี 2554 อันดับที่ 8) และสำหรับประเทศ สหราชอาณาจักร ไทยจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับที่ 13

ภาวะการค้าและการลงทุน

1.ความร่วมมือการค้าสหราชอาณาจักรไม่ได้มีความตกลงความร่วมมือทางการค้ากับไทยเป็นพิเศษ

2.การลงทุนของต่างชาติในสหราชอาณาจักร

2.1 รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีนโยบายเปิดกว้างและส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ได้

มอบนโยบายให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมโดยหน่วยงาน INVEST — UK ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน ก.ค 2553 แทนหน่วย

งานเดิมคือ Invest in Britain Bureau หน้าที่หลักของ INVEST — UK คือส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือโครงการต่างๆ

ที่จะเข้ามาลงทุน นอกจากนี้ก็จะให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องแก่นักลงทุนต่างประเทศอีกด้วย

2.2 จากสถิติของ INVEST — UK ปรากฏว่า ในปี 2553/2554 มีการลงทุนในโครงการต่างๆรวม 869 โครงการประเทศที่เข้ามา

ลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกา (421 โครงการ) รองลงมาคือ เยอรมัน (71 โครงการ) แคนาดา

(56 โครงการ) และญี่ปุ่น (51 โครงการ) ตามลำดับ โดยประเภทของการลงทุนดังกล่าวได้แก่ IT, Internet &

E-Commerce, Software, Electronics, Automotive, Telecoms, Engineering, Finance,

Pharmaceuticals and Food and Drink เป็นต้น

2.3 ในส่วนของประเทศไทย การลงทุนโดยตรงของไทยในสหราชอาณาจักรโดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารไทย

ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายสินค้าอาหาร/เครื่องดื่มไทย ซุปเปอร์มาร์เก็ตไทย ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายของใช้/ของประดับตกแต่ง

บ้าน/เครื่องประดับ ธุรกิจให้บริการนวดแผนไทย/สปาไทย และโรงแรม แต่ปัจจุบัน ได้มีการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น

เช่น โรงงานถลุงเหล็ก นอกจากนี้ภาคเอกชนไทยได้เข้าไปลงทุนในสหราชอาณาจักรมากขึ้น ได้แก่ ทีมสโมสรฟุตบอล

ในปี 2553 กลุ่มคิงเพาเวอร์ (King Power) ได้ซื้อทีมสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ (Leicester City) กลุ่มไทย ยูเนียน

โฟรเซ่น โปรดักส์ (Thai Union Frozen Products) ได้ควบซื้อกิจการอาหารทะเล เอ็ม ดับเบิลยู ฟูดส์ (MW Foods —

ยี่ห้อ John West) และในปี 2554 สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (Sahaviriya Steel Industries — SSI) ได้ลงนามข้อตกลง

ซื้อกิจการโรงถลุงเหล็ก Teesside Cast Products มูลค่า 469 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ในวันที่

24 มี.ค. 2554

3.การลงทุนของสหราชอาณาจักรในไทย

3.1 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากเนเธอแลนด์

และฝรั่งเศส ธุรกิจของสหราชอาณาจักร ที่เปิดดำเนินการอยู่ในไทยมีจำนวนประมาณ 600 บริษัท จากสถิติล่าสุดของธนาคาร

แห่งประเทศไทยพบว่า เงินลงทุนโดยตรงจากสหราชอาณาจักรสุทธิ (net flow of FDI) ในไทย ปี 2553 มีมูลค่า

4,910.4 ล้านบาท

3.2 โครงการลงทุนของสหราชอาณาจักรที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีจำนวนทั้งสิ้น 15

โครงการ เป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 564 ล้านบาท หรือประมาณ 18.8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อการ

ส่งออกในสาขาเครื่องจักร และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ

3.3 บริษัทสำคัญของสหราชอาณาจักรที่เข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ BP และ BG (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี) ICI

(ปิโตรเคมี), Castrol (น้ำมันหล่อลื่น), GKN (ชิ้นส่วนรถยนต์), Triumph Motorcycle (รถจักรยานยนต์) ,

Weston EU (ชิ้นส่วนยานอวกาศ), GSK GlaxoSmithKline (อุตสาหกรรมยา),Thames Water (ผลิตน้ำประปา)

Grampian Country Food (เกษตร) Triumph (เครื่องนุ่งห่ม) Meyer (อลูมิเนียม) Tesco และ Boots (ค้าปลีก)

HSBC และ Standard Chartered (ธนาคาร) Abbeycrest Thailand Limited (ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ)เป็นต้น

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร — ทั่วโลก

1.ปริมาณการค้า ในปี 2011 การค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกับทั่วโลก มีมูลค่ารวม 1,823 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 511.97 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นการนำเข้ามูลค่า 670.406 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรขาดดุลการค้า 158.427 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.สินค้าส่งออกหลัก : เครื่องจักรกล น้ำมันดิบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องมือทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องบินและอากาศยาน พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น

3.ประเทศคู่ค้า(ส่งออก)สำคัญ : สหรัฐอเมริกา(12.20%) เยอรมัน(10.37%) สวิสเซอร์แลนด์(7.47%)ฝรั่งเศส(7.24%) เนเธอร์แลนด์(7.14%) สาธารณรัฐไอร์แลนด์(5.40%) เบลเยี่ยม(4.82%) อิตาลี(3.11%) สเปน(2.96%) จีน(2.74%)

4.สินค้านำเข้าหลัก : น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ ยานพาหนะ เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

5.ประเทศคู่ค้า(นำเข้า)สำคัญ : เยอรมัน(12.17%) สหรัฐอเมริกา(8.91%) จีน(8.44%) เนเธอร์แลนด์(6.78%) ฝรั่งเศส(5.80%) นอร์เว(5.66%) เบลเยี่ยม(4.50%) อิตาลี(3.50%) ไอร์แลนด์(3.10%) และแคนาดา(2.96%)

การค้าไทย- ประเทศสหราชอาณาจักร
รายการ                   มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ                อัตราขยายตัว (%)
                           2553        2554                2553     2554
ปริมาณการค้า             5,566.40    5,836.38               11.23     4.86
การส่งออก               3,658.45    3,887.47               13.02     6.26
การนำเข้า               1,907.95    1,949.09                7.96     2.16
ดุลการค้า                1,750.50    1,938.29               19.11    10.73
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

สินค้าส่งออกไปสหราชอาณาจักร 5 อันดับแรกของไทย
  รายการ                       มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐ  อัตราขยายตัว
                                   2553     2554       (%)
1.ไก่แปรรูป                         495.9    555.5      12.02
2.รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ          284.4    286.2       0.65
3.อัญมณีและเครื่องประดับ               226.6    272.9      20.42
4.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป         157.2      222      41.26
5.แผงวงจรไฟฟ้า                     182.8    198.0       8.35
สินค้านำเข้าจากสหราชอาณาจักร 5 อันดับแรกของไทย
    รายการ                     มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐ    อัตราขยายตัว
                                 2553     2554          (%)
1. เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ      550.7    443.9     -19.39
2. เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่            143.4    167.2      16.61
   น้ำอัดลมและสุรา
3. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์          140.5    156.6      11.48
   และส่วนประกอบ
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์        131.5    121.8      -7.43
5. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม      99.2      110      10.88
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
      ประมวลข้อมูลโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน


                                                                 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
                                                                                              พฤษภาคม 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ