รายงานข้อมูลอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับประเทศราชอาณาจักรสเปน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 20, 2012 14:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานข้อมูลอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

ประเทศราชอาณาจักรสเปน

สเปนเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ตลาดสเปนมีมูลค่าการซื้อขายรวมมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านยูโรต่อปี ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ ๔ ของยุโรป รองจากอิตาลี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ตามลาดับ โดยสินค้าของสเปนได้รับความเชื่อถือจากคุณภาพด้านการผลิตด้วยมือที่มีความปราณีตในราคาเหมาะสม นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีแบรนด์ที่มุ่งเน้นการออกแบบสาหรับตลาดวัยรุ่นราคาไม่แพงจนประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

สเปนเป็นตลาดส่งออกสินค้ากลุ่มอัญมณี (HS 71) อันดับที่ ๒๗ ของไทย ในปี ๒๕๕๔ ไทยส่งออกไปยังสเปนมูลค่า ๒๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วง ๖ เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม — มิถุนายน) ไทยส่งออกไปยังสเปนมูลค่า ๑๐.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๑๐.๘

   มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่ม            ๒๕๕๔       ๒๕๕๕             อัตราเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
    อัญมณีจากไทยไปสเปน                       (ม.ค.-มิ.ย.)             (ม.ค.-มิ.ย.)
HS 71                             ๒๖.๘       ๑๐.๒                     -๑๐.๘
HS 7113 อัญมณีและโลหะมีค่า            ๒๒.๑        ๗.๑                     -๒๗.๐
HS 7117 อัญมณีเทียม                   ๒.๖        ๒.๑                     ๑๑๔.๔
HS 7103 อัญมณีอื่นๆ                    ๑.๕        ๐.๘                      ๑๘.๒
HS 7116 ไข่มุก                       ๐.๑        ๐.๐                       ๖.๘
หน่วย ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่มา World Trade Atlas

          ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้ากลุ่มอัญมณีจากสเปนมูลค่าน้อยมาก ในปี ๒๕๕๔ ไทยนำเข้าอัญมณีซึ่งประกอบด้วยไข่มุกและอัญมณีอื่นๆมูลค่า ๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วง ๖ เดือนแรกของปีนี้ไทยนำเข้า มูลค่า ๐.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

๑.ภาวะการผลิต/แหล่งวัตถุดิบภายในประเทศ
          ๑.๑ แหล่งวัตถุดิบ
          - สเปนนำเข้าวัตถุดิบทั้งทองคำ เงิน และอัญมณีจากภายนอกเกือบทั้งหมด โดยในปี ๒๕๕๓ สเปนนำเข้า สินค้ากลุ่มอัญมณี (HS 71) มูลค่า ๒๒๗๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในช่วง ๕ เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม - พฤษภาคม) สเปนนำเข้ามูลค่า ๔๑๐.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๔.๕ จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยแหล่งนำเข้าหลักได้แก่ อิตาลี (สัดส่วนร้อยละ ๑๕.๘) เยอรมนี (๑๒.๕) โปรตุเกส (๑๑.๗) จีน (๑๑.๖) ฝรั่งเศส (๘.๐) สำหรับไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ ๑๐ มีสัดส่วนร้อยละ ๓.๒ มูลค่า ๓๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ๒๕๕๔ และ ๑๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯในช่วง ๕ เดือนแรกของปีนี้ โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๐ จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
          - สเปนเป็นแหล่งผลิตไข่มุกเทียมที่มีคุณภาพสูง มีความทนทานและราคาไม่สูง
          - ในส่วนของเพชร ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเจียระไนแล้วและผ่านการรับรองมาตรฐาน (Kimberly  Certification ) เช่น จากเนเธอร์แลนด์ (Antwerp) รวมถึงผู้ค้าส่งจากอิสราเอลและอินเดีย
          ๑.๒ ลักษณะการผลิต
          สเปนมีชื่อเสียงจากความปราณีตในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการผลิต จากช่างฝีมือของสเปนเอง นอกจากนี้ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาสเปนเริ่มมีความโดดเด่นในด้านการออกแบบสินค้าให้เข้ากับรสนิยมดังเห็นได้จากสเปนมีแบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ได้แก่ Tous, Carrera y Carrera, Duran, Majorica, ZARA เป็นต้น
          ๑.๓ กำลังการผลิต
          - มีกำลังผลิตคิดเป็นน้ำหนักเฉลี่ย ๕๐ ตันต่อปี โดยมีแหล่งผลิตหลัก ได้แก่ เมืองกอร์โดบา (Cordoba)  ทางตอนใต้ของประเทศเป็นแหล่งผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับกลางถึงล่างรวมถึงเครื่องประดับเงินราคาไม่แพง เมืองบาเลนเซีย (Valencia) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับระดับราคาแพงซึ่งต้องแรงงานฝีมือที่มีความชำนาญ เมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่เน้นการออกแบบทันสมัยราคากลางถึงสูง นอกจากนี้ เมืองกาลีเซีย (Galecia) และ ซาราโกซ่า (Zaragoza) ยังเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของสเปน
          ๑.๔ จำนวนโรงงาน และรายชื่อโรงงาน
          - ๒,๐๐๐ โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก  ๑.๕ จำนวนแรงงาน
          - ๒๐,๐๐๐ คนในส่วนของการผลิต

๒.ข้อมูลทางการตลาด
          ๒.๑ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ อาทิรูปแบบสินค้า
          - สินค้าอัญมณีของสเปนมีความหลากหลาย โดดเด่นด้านความปราณีตและการออกแบบดังมีรูปแบบในภาพแสดงแบรนด์สินค้าซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป
          ๒.๒ พฤติกรรมผู้บริโภค
          - วิกฤตเศรษฐกิจของสเปนรวมถึงในยุโรปในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมาส่งผลต่อยอดขายสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับอย่างมาก ผู้บริโภคได้หันมาสนใจในอัญมณีเทียมและเครื่องประดับ (Costume Jewellery) ที่มีราคาถูกลง
          - ช่วงเวลาที่ชาวสเปนจะซื้อสินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ เทศกาลคริสต์มาสซึ่งชาวสเปนให้ความสำคัญมาก  นอกจากนี้ในช่วงอากาศอบอุ่นระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ยังเป็นช่วงที่ชาวสเปนนิยมจัดงานเลี้ยงต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ยอดขายสูงในช่วงดังกล่าว
          - ผู้บริโภคสินค้าอัญมณีในสเปนร้อยละ ๖๓ ซื้อสินค้ามูลค่าเฉลี่ย ๑,๘๐๓ ยูโร ร้อยละ ๒๒ ซื้อสินค้ามูลค่าเฉลี่ย ๓,๙๐๖ ยูโร และร้อยละ ๑๕ เกินกว่า ๔,๐๐๐ ยูโร
          ๒.๓ การกำหนดราคาขาย
          - โดยทั่วไปราคาขายปลีกจะเพิ่มจากราคาต้นทุนประมาณร้อยละ ๑๐๐ - ๒๕๐ ขึ้นอยู่กับแบรนด์และ ทำเลที่ตั้งของร้าน
          ๒.๔ ช่องทางการจำหน่าย
          - สเปนมีจำนวนผู้ค้าปลีก/ส่ง สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากกว่า ๒๐,๐๐๐ รายซึ่งส่วนใหญ่เป็น บริษัทขนาดกลางและเล็ก มีการจ้างงานมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ราย
          - ช่องทางการจำหน่ายร้อยละ ๕๕ ผ่านทางผู้ค้าส่งซึ่งนำเข้า และร้อยละ ๔๕ ผ่านผู้ค้าปลีกโดยตรง
          ๒.๕ การส่งเสริมการจำหน่าย
          - วิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของสเปนซบเซาอย่างมาก ร้านค้าปลีกจำนวน มากปิดตัวหรือลดขนาดร้านลง ขณะที่เกือบทั้งหมดลดราคาสินค้าของตนเพื่อเรียกลูกค้าแต่สถานการณ์การค้าก็ยังคงเงียบเหงาอย่างเห็นได้ชัด
          ๒.๖ มูลค่าตลาด แยกรายผลิตภัณฑ์
    ยอดขายอัญมณีของสเปน  (ล้านยูโร)        ๒๕๕๒         ๒๕๕๓          ๒๕๕๔
                                                               (ประมาณการ)
อัญมณีเทียม (Costume Jewellery)          ๒๘๓.๑        ๒๔๐.๗         ๒๕๐.๒
อัญมณีแท้ (Real Jewellery)               ๘๙๕.๒        ๗๕๒.๐         ๖๗๘.๒
รวม                                 ๑,๑๗๘.๓        ๙๙๒.๗         ๙๒๘.๔
ที่มา Euromonitor

          - รายการสินค้าที่มียอดขายสูงสุดตามลำดับได้แก่ แหวนร้อยละ ๖๐ ตุ้มหูร้อยละ ๒๐ สร้อยข้อมือร้อยละ ๑๐ และสร้อยคอร้อยละ ๑๐

          ๒.๗ ส่วนแบ่งตลาด แยกตามรายชื่อแบรนด์/ผู้ผลิต
        สัดส่วนการถือครองตลาด  (ร้อยละ)          ๒๕๕๒        ๒๕๕๓         ๒๕๕๔
                                                                   (ประมาณการ)
๑. Joyeria Tous SA                           ๑๒.๑        ๑๒.๓         ๑๒.๑
๒. Carrera y Carrera SA                       ๒.๑         ๒.๐          ๑.๘
๓. Swarovski Iberica SA                       ๒.๒         ๑.๙          ๑.๙
๔. Bijou Brigitte Modische Accessoires SL     ๑.๖         ๑.๗          ๑.๘
๕. Inditex SA (ZARA)                          ๑.๔         ๑.๖          ๑.๗
๖. Hennes & Mauritz SL (H&M)                  ๑.๔         ๑.๔          ๑.๕
๗. Majorica SA                                ๑.๕         ๑.๔          ๑.๒
๘. Pedro Duran SA                             ๐.๘         ๐.๗          ๐.๕
ที่มา Euromonitor

๓. กฎระเบียบทางการค้า ระเบียบการนำเข้าและส่งออก
          สเปนในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นตลาดการค้าเสรีการนำเข้าสินค้าจึงเป็นไปโดยเสรี

๔.โครงสร้างภาษี
          อัตราภาษีนำเข้า พิกัดสินค้า  7103 0%
          - พิกัดสินค้า  7113  2.5% (for third countries, under GSP 0%)
          - พิกัดสินค้า  7117  4% (for third countries, under GSP 0%)
          - ภาษีการค้า (VAT) 21%  ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕

๕.ข้อกีดกันทางการค้า
          สเปนในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรปมีการกำหนดมาตรฐานสินค้า เช่น การนำเข้าเพชรต้องได้รับ   มาตรฐานตามระเบียบของสหภาพ ( EC 2368/2002, 20 December 2002) เป็นต้น

๖.การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจากภาครัฐและเอกชน
          จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอันเกิดจากหนี้ภาครัฐ รัฐบาลสเปนต้องตัดลดงบประมาณจำนวนมหาศาล ส่งผลให้การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ภาครัฐเคยให้การสนับสนุนผ่านทางสมาคมที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับถูกตัดงบประมาณจนบางแห่งต้องปิดการดำเนินการ

๗.รายชื่อผู้นำเข้าและส่งออกรายสำคัญ (เอกสารแนบ)

๘.แนวโน้มอุตสาหกรรม
          - ยังคงไม่มีสัญญาณให้เห็นเป็นรูปธรรมในการที่สเปนจะหลุดพ้นจากปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งจากจำนวนคน  ว่างงานมากกว่า ๕ ล้านคนและปัญหาฟองสบู่แตกในภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจะยังคงประสบกับความยากลำบากต่อไป
          - การแข่งขันในกลุ่มตลาดสินค้าราคาถูกจะมีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย

๙.ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการเข้าไปทำตลาด
          - ภาษายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากไทยยังคงขาดบุคลากรที่สามารใช้ภาษาสเปนได้ นอกจากนี้   ชาวสเปนยังคงคุ้นเคยกับการติดต่อธุรกิจกับประเทศที่ใช้ภาษาสเปน โดยเฉพาะในอเมริกากลางและใต้
          - สินค้าของไทยยังเป็นที่รู้จักน้อย อีกทั้งยังคงไม่มีแบรนด์ของไทยในตลาดสเปน

๑๐.หน่วยงานที่สนับสนุน
          ASOCIACION ESPAOLA DE JOYEROS,PLATEROS Y
          RELOJEROS SPANISH ASSOCIATION FOR JEWELLERS, SILVERWARE AND WATCH MAKERS
          Prncipe de Vergara, 74, 28006 MADRID, SPAIN  Tel. + 34 914118209


                                                                 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
                                                                                             สิงหาคม ๒๕๕๕

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ