สรุปภาวะการค้าไทย-ไต้หวัน ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 24, 2008 16:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไต้หวัน-โลก
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 415,041.55 453,361.18 9.23
การนำเข้า 202,038.02 218,647.85 8.22
การส่งออก 213,003.53 234,713.34 10.19
ดุลการค้า 10,965.50 16,065.49 46.51
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไต้หวัน-ไทย
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 7,767.14 8,670.30 11.63
การนำเข้า 3,304.71 3,606.14 9.12
การส่งออก 4,462.43 5,064.16 13.48
ดุลการค้า 1,157.72 1,458.02 25.94
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 218,647.85 100.00 8.22
1. ญี่ปุ่น 45,929.92 21.01 -0.80
2. จีน 27,853.74 12.74 13.38
3. สหรัฐอเมริกา 26,349.18 12.05 16.86
4. เกาหลีใต้ 15,142.41 6.93 1.00
5. ซาอุดิอารเบีย 10,430.14 4.77 6.49
13. ไทย 3,606.14 1.65 9.12
อื่น ๆ 89,336.33 40.86 10.93
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 218,647.85 100.00 8.22
1. แผงวงจรไฟฟ้า 28,289.43 12.94 -3.47
2. เครื่องจักรและเครื่องใช้กลที่ทำงานเป็นเอกเทศ 5,424.99 2.48 -2.94
3. ทองแดงบริสุทธิ์ 4,527.26 2.07 6.79
4. ถ่านหิน 4,422.08 2.02 21.57
5. ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน 3,591.84 1.64 -6.37
อื่นๆ 172,392.24 78.84 3.47
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 3,606.14 100.00 9.12
1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,113.46 30.88 19.78
2. คอมพิวเตอร์ + อุปกรณ์ 264.68 7.34 -33.16
3. ไดโอดทรานซิสเตอร์ 103.85 2.88 12.73
4. ทองแดงบริสุทธิ์ 99.91 2.77 120.98
5.โพลิอีซีลทัลโพลิอะเทอร์อื่นๆ 97.88 2.71 -7.20
อื่น ๆ 1,926.37 53.42 -23.81
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 234,713.34 100.00 10.19
1. จีน 58,432.18 24.90 20.94
2. ฮ่องกง 34,188.84 14.57 1.92
3.สหรัฐอเมริกา 31,024.59 13.22 -1.22
4. ญี่ปุ่น 15,135.99 6.45 -2.94
5. สิงคโปร์ 10,048.32 4.28 13.73
9. ไทย 5,064.16 2.16 13.48
อื่น ๆ 80,819.26 34.43 14.08
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 234,713.34 100.00 10.19
1. แผงวงจรไฟฟ้า 37,380.42 15.93 4.80
2. เลเซอร์ เครื่องใช้อุปกรณ์เชิงทัศนศาสตร์ 15,735.23 6.70 9.00
3. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 8,817.57 3.76 -11.16
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้สัญญาณเสียง 8,682.16 3.70 58.70
5. แผงวงจรพิมพ์ 5,367.67 2.29 -1.35
อื่น ๆ 158,730.28 67.63 -7.14
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ไต้หวันส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 5,064.16 100.00 13.48
1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,381.20 27.27 28.83
2. เทปแม่เหล็กสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ 305.29 6.03 17.39
3. ปลาแช่เย็น แช่แข็ง 163.72 3.23 25.56
4. แผงวงจรพิมพ์ 151.10 2.98 11.94
5. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรัใช้สัญาณเสียง 143.39 2.83 58.68
อื่น ๆ 2,919.48 57.65 -11.39
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของไต้หวัน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและเครื่องใช้กลที่มีหน้าที่การทำงานเป็นเอกเทศ ทองแดงบริสุทธิ์ ถ่านหิน ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของไต้หวัน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เลเซอร์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้สัญญาณเสียง แผงวงจรพิมพ์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่ไต้หวันนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และซาอุดิอารเบีย ปัจจุบันไต้หวันนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.66 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 2.16
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดไต้หวัน ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 28,289.434 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.47 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.94 มูลค่า 1,113.457 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.78 ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 21.72 ลดลงร้อยละ 5.83 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐ
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2467.532 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.97 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 10.73 มูลค่า 264.678 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.16 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 59.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.55 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สิงคโปร์ และและมาเลเซีย
-ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (H.S.8541) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2521.085 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.12 มูลค่า 103.849 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.73 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 27.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.66 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
- ทองแดงบริสุทธิ์ (H.S.7403) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,527.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.21 มูลค่า 99.913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.99 ในขณะที่นำเข้าจากชิลีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 33.54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
- โพลิอะซีทัล โพลิอีเทอร์อื่นๆ และอีพอกไซด์เรซิน (H.S.3907) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 939.041 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.39 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 10.42 มูลค่า 97.878 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.20 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 34.40 ลดลงร้อยละ 1.53 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และเกาหลีใต้
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดไต้หวัน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 11รายการ เช่น
1. ทองแดงบริสุทธิ์ (H.S.7403) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,527.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.21 มูลค่า 99.913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.99
2. เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ (H.S.8415) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 249.198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.08 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 36.66 มูลค่า 91.344 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.14
3. ยางธรรมชาติ (H.S.4001) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 248.136 ล้านเหรีสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.06 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 34.22 มูลค่า 84.921 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.23
เป็นผลมาจากราคายางพาราที่สูงขึ้นจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลผลิตต่อเนื่องจากน้ำมันมีราคาแพงความต้องการยางธรรมชาติทดแทนจึงสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการส่งออกยางพารายังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น
4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ Gear Box (กระปุกเกียร์) (4001)ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1072.304 ล้านเหรียสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.61 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 5.30 มูลค่า 56.858 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.66
5. เครื่องซักผ้าอบผ้า (H.S.8450) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 93.226 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.86 มูลค่า 20.376 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.65
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพจากไทยไปตลาดไต้หวัน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 5 รายการ เช่น
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2467.532 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.97 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 10.73 มูลค่า 264.678 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.16 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 59.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.55
เป็นผลมาจาก ผู้ประกอบการไต้หวันในสินค้าคอมพิวเตอร์ฯส่วนใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตไปที่จีน บวกกับปัญหาความผันผวนของค่าเงินบาท ปัญหาต้นทุนด้านการผลิตทั้งวัตถุดิบและค่าแรงงาน เป็นต้น
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับโทรทัศน์/โทรเลข (H.S.8517) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 27.165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.66 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 3.38 มูลค่า 27.165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.69
3. ท่อน หรือ เส้นที่ได้จากการรีดร้อน (ไม่เป็นสนิม กว้าง 600 M) (H.S.7213) ไต้หวันนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 378.156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.17 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.90 มูลค่า 26.103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.53
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจไต้หวัน
ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตซับไพร์ม์ ทำให้ทางการไต้หวันต้องออกมาประกาศปรับลดตัวเลขของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2551 เหลือ 4.32%ในขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าอาจต่ำลงเหลือเพียง 2.75 % อย่างไรก็ตามรัฐบาลไต้หวันจะแก้ไขปัญหาโดยการเปิดกว้างกับแผ่นดินใหญ่มากขึ้น ซึ่งให้นักธุรกิจสามารถไปลงทุนในประเทศจีนโดยไม่จำกัดวงเงินลงทุน และเพิ่มการลงทุนสาธารณะมาเป็นเครื่องมือในการต่อกรกับปัญหาเศรษฐกิจจากต่างประเทศได้
ขณะเดียวกันยอดส่งออกไต้หวัน เดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 12.79% น้อยที่สุดในรอบ 10 เดือน เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐฯ ลดลง
2. ไต้หวันหนุนนักธุรกิจทำไร่ในอเมริกาใต้
รัฐบาลไต้หวันส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอาหารที่มีเทคโนโลยีหรือความเชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก ไปบุกเบิกการเกษตรสมัยใหม่และเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
สำนักงานการลงทุนกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวันจัดงานสัมมนาเรื่อง "ความเป็นไปได้ในการไปเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่อเมริกากลางและอเมริกาใต้” โดยเชิญตัวแทนจากธุรกิจอาหารรายใหญ่ เช่น วั่งวั่ง ไถถัง ถงอี เว่ยตาน มาร่วมงาน ในจำนวนนี้ ไถถังได้เข้าไปลงทุนปลูกอ้อยแล้วที่เวียดนาม ส่วนเว่ยตานและวั่งวั่งกำลังพิจารณาการลงทุนปลูกมันและข้าวเจ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสัมมนาครั้งนี้เป็นการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการไต้หวันที่มีต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในประเทศพันธมิตรของไต้หวันที่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ หากมีความต้องการ สำนักงานการลงทุนจะให้ความช่วยเหลือด้านโอกาสและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐจำนวนรวม 7,500 ล้านหยวน มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคงของอุตสาหกรรมอาหารไต้หวัน และรักษาระดับต้นทุนของสินค้าบริโภคให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล ในขณะที่ราคาพืชผลทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากผลประโยชน์ทางธุรกิจแล้วยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและประเทศพันธมิตรเหล่านั้นด้วย
ไต้หวันมีพันธมิตรในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ทั้งสิ้น 12 ประเทศและส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกมากมายแต่ยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิม จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปบุกเบิกการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งนักธุรกิจไต้หวันที่มีเทคโนโลยีและความชำนาญด้านการเพาะปลูกได้เข้าไปลงทุนบ้างแล้ว
ทั้งนี้ ปารากวัยหนึ่งในประเทศพันธมิตรของไต้หวันในอเมริกาใต้เป็นประเทศส่งออกถั่วเหลืองมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก ส่วนฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์และนิการากัวในอเมริกากลาง ก็เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ