สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ยุโรปตะวันออก ปี 2551 (ม.ค.—พ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 14, 2009 15:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับยุโรปตะวันออก
                             มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น            2,171.55       100.00         36.82
สินค้าเกษตรกรรม                271.87         9.15         56.74
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร        299.90        10.09         31.65
สินค้าอุตสาหกรรม              2,398.23        80.72         35.76
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง               1.00         0.03         68.15
สินค้าอื่นๆ                           0            0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับยุโรปตะวันออก
                                     มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                           3,429.56       100.00         89.73
สินค้าเชื้อเพลิง                         1,127.09        32.86         73.27
สินค้าทุน                                160.02         4.67         14.00
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป               2,062.58        60.14        121.43
สินค้าบริโภค                              65.77         1.92          0.71
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                6.02         0.18        -27.25
สินค้าอื่นๆ                                 8.08         0.24        -30.90

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ยุโรปตะวันออก
                           2550           2551        D/%

(ม.ค.-พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,979.15       6,400.57     60.85
การนำเข้า                 1,807.60       3,429.56     89.73
การส่งออก                 2,171.55       2,971.02     36.82
ดุลการค้า                    363.95        -458.54        -

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดยุโรปตะวันออกมูลค่า 3,429.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.73 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                   3,429.56         100.00         89.73
1. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์          1,295.00          37.76        159.32
2. น้ำมันดิบ                           812.47          23.69         29.87
3. เชื้อเพลิงอื่น ๆ                      297.76           8.68      1,097.60
4. ปุ๋ย                               265.68           7.75        152.48
5. สินแร่โลหะอื่น ๆ                     251.62           7.34         39.80
        อื่น ๆ                         54.05           1.58         -1.27

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดยุโรปตะวันออก มูลค่า 2,971.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.82 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                      มูลค่า :          สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     2,971.02          100.00        36.82
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                    523.37           17.62        39.02
2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ                 458.01           15.42       115.87
3. เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์                  275.29            9.27        83.40
4.  ยางพารา                           118.09            3.97        46.73
5. เครื่องใช้ไฟฟ้า                        104.03            3.50         3.24
             อื่น ๆ                     408.88           13.76         7.48

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรปตะวันออก  ปี 2551 (มค.-พย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 163.67 39.50 68.61 และ 39.02 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ60.76 22.95 91.06 และ 115.87 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-45.31%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.78 196.20 83.40 ตามลำดับ

ยางพารา : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.05 4.47 93.72 และ 46.73 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 30.13 55.88 313.56 และ 3.24 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดยุโรปตะวันออกปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 8 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ               มูลค่าล้าน        อัตราการ     หมายเหตุ

เหรียญสหรัฐ ขยายตัว%

 2. รถยนต์ อุปกรณ์                  458.01         115.87
 3. เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์            275.29          83.40
 4. ยางพารา                      118.09          46.73
 7. ข้าว                           98.13         154.16
10. อัญมณี และ เครื่องประดับ           64.24          70.21
13. เครื่องวีดีโอ                     54.68          50.77
16. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง                   47.33          82.17
21. น้ำตาลทราย                     38.60         172.54

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดยุโรปตะวันออก ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 3 รายการ คือ
        อันดับที่ / รายการ                มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                  ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ               50.89             -15.12
2. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                       47.54              -1.01
9. แผงวงจรไฟฟ้า                        42.56             -27.66

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

สหภาพยุโรปเพิ่งออกระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า จีเอสพี (GSP) ฉบับใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2552-31 ธ.ค. 2554 ส่วนระเบียบฯฉบับเดิม ให้สิ้นผลบังคับใช้ในวันที่ 31 ธ.ค.ศกนี้ นอกจากไทยยังได้รับสิทธิจีเอสพีใน หมวดสินค้าต่างๆตามเดิม ขณะที่ทางอียูยังคืนสิทธิฯ ซึ่งไทยเคยถูกตัดไปก่อนหน้านี้ ให้แก่สินค้าในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ ทั้งยังประกาศตัดสิทธิจีเอสพีสินค้ากลุ่มสุราและอาหารปรุงแต่ง จาก บราซิล สินค้าสิ่งทอจาก อินเดีย และตัดสิทธิสินค้ากลุ่มรองเท้าจาก เวียดนาม ที่สำคัญ ยังตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าจาก จีน อีก 13 กลุ่ม เช่น สิ่งทอ รองเท้า พลาสติก ยาง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น การที่แต่ละประเทศ ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของไทยในเวทีการค้าโลก ถูกสหภาพยุโรปตัดจีเอสพี หมายถึง โอกาสและความได้เปรียบในการส่งสินค้าไปยังอียูให้แก่ไทยทันที จุดเด่นของ อียู (The European Union) นอกจากเป็นกลุ่ม เศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีสมาชิกถึง 27 ประเทศ มีประชากรรวมกันกว่า 520 ล้านคน ยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากอาเซียน เฉพาะปีที่แล้ว ไทยส่งออกสินค้าไปอียู มูลค่ากว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วง ม.ค.-ก.ย. 2551 ไทยส่งออกสินค้าไปอียู คิดเป็นมูลค่าแล้วกว่า 17,662 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไป อียู ได้แก่ รถปิกอัพ ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ไก่ปรุงสุก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ ยางพารา และ วงจรพิมพ์ เป็นต้น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกว่า ปีที่แล้ว ไทยผลิตรถปิกอัพส่งไปขายทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วน 75% ผลิตรถเก๋ง 22% และผลิตรถอเนกประสงค์ (พีพีวี) ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานมาจากรถปิกอัพอีก 3% ปีนี้สัดส่วนการผลิตรถยนต์ส่งออกของไทยทั้ง 3 ประเภท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ไทยผลิตส่งไปขายที่สหภาพยุโรปทั้งหมดเป็น รถปิกอัพ ปีที่แล้วไทยส่งรถปิกอัพไปขายอียูประมาณ 1 แสนคัน ส่วนใหญ่เป็นปิกอัพประเภทดับเบิลแค็บ ซึ่งมีที่ว่างด้านหลังคนขับค่อนข้างกว้างกลุ่มลูกค้าในยุโรปที่ซื้อปิกอัพจากไทยไปใช้ โดยมากเป็นเกษตรกรรายย่อย หรือเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งผู้มีอาชีพให้บริการซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายตามบ้านเรือน รถปิกอัพเมดอินไทยแลนด์ ที่ได้รับความนิยมในยุโรป ส่วนใหญ่เป็นปิกอัพชนิดขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะในยุโรปช่วงฤดูหนาวมีหิมะลง ถนนลื่น จึงต้องใช้รถที่มีสมรรถนะในการทรงตัวดีกว่า รถขับเคลื่อน 2 ล้อทั่วไป คู่แข่งสำคัญของไทยที่ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็ก หรืออาจเรียกว่า ปิกอัพขนาดใหญ่ ส่งไปขายแข่งกับไทยในอียู คือ ตุรกี ข้อได้เปรียบของตุรกี อยู่ที่มีค่าแรงถูกกว่าหลายประเทศ แถมยังมีฝีมือในการประกอบรถดีกว่าไทย เพียงแต่เวลานี้ยังเน้นผลิตรถปิกอัพขนาดใหญ่กว่าของไทย แต่ในอนาคตตุรกีอาจหันมาผลิตปิกอัพ ขนาดเดียวกับที่ไทยผลิต ทำให้มีโอกาสกลายเป็นคู่แข่งที่น่าสะพรึงในวันข้างหน้า “นอกจากปิกอัพที่ไทยส่งออกไปอียู เป็นรถที่ค่อนข้างมีสมรรถนะสูง ยังต้องผ่านมาตรฐานทดสอบการคว่ำ การเบรก และการชนอย่างเข้มงวด ประกอบกับขณะนี้ต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ยุโรปเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ จึงเริ่มมีการชะลอส่งมอบสินค้ากันบ้างแล้ว” หากไทยสามารถทำข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอในส่วนของรถปิกอัพ กับสหภาพยุโรปได้สำเร็จ จะมีส่วนช่วยให้ไทยสามารถผลิตรถปิกอัพส่งไปขายแข่งขันได้อย่างมั่นใจ มากขึ้น ส่วนการได้รับสิทธิจีเอสพีรถปิกอัพส่งออกไปอียู เป็นข้อได้เปรียบหนึ่ง ที่อาจนำไปใช้เป็นทุน เพื่อขยายตลาดไปยังแถบยุโรปตะวันออก และยุโรปเหนือ เช่น รัสเซีย สวีเดน และฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ยังมีการประกอบแต่รถเก๋งเป็นหลัก ไทย ส่งออกรองเท้ามากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก คิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 34,000 ล้านบาท เทียบกับ จีน ซึ่งผลิตรองเท้าส่งออกไปทั่วโลกมากเป็นอันดับ 1 มูลค่าปีละกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เวียดนาม ผลิตรองเท้าส่งออกเป็นอันดับ 2 มูลค่าปีละประมาณ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้คู่แข่งอย่างจีนและเวียดนาม ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิจีเอสพี จะส่งผลดีต่อการส่งออกรองเท้าของไทย ช่วยให้ตลาดส่งออกรองเท้าจากไทยมีโอกาสเติบโต ในภูมิภาคนี้ยังมี อินโดนีเซีย เป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ที่สามารถผลิตรองเท้าส่งออกทั่วโลกได้มากเป็นอันดับ 3 รองมาจากเวียดนาม ขณะที่ บราซิล เป็นประเทศที่ผลิตรองเท้าส่งออกมากเป็นอันดับ 4 ของโลก แถมยังมีวัตถุดิบหนังวัวที่มีคุณภาพดีกว่าของไทย เพราะชาวบราซิลเลี้ยงวัวแบบเน้นคุณภาพ เอาเนื้อไปทำสเต๊ก และเอาหนังไปผลิตรองเท้า แม้ยอดส่งออกรองเท้าทั่วโลกโดยรวมในปีหน้า จะหดตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ถึงอย่างไร รองเท้าเป็นสินค้าจำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ จึงคาดว่า ปีหน้าหลังจากอุตสาหกรรมรองเท้าส่งออกของจีนถูกอียูตัดจีเอสพี จะส่งผลให้ยอดส่งออกรองเท้าจากจีนลดลงไปประมาณ 5%

ยุโรป เป็นกลุ่มประเทศที่มีความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบในการนำสินค้าเข้าโดยเฉพาะประเภทอาหาร ผัก และผลไม้ การทำตลาดในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีความยากพอสมควรในการยกระดับมาตรฐานสินค้าให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจและเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกในการบุกตลาดยุโรปและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางด้านโลจิสติกส์ การก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มีผลทำให้การค้าขายระหว่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อผนวกกับนโยบายการเปิดเขตการค้าเสรีด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในการศึกษาทำความเข้าใจกลยุทธ์ การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และผลกระทบจากภัยคุกคาม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจโลจิสติกส์ในตลาดโลก รวมทั้งการเตรียม ตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านการค้า เนื่องจากทำให้ต้นทุนสินค้า และบริการลดลง รวมทั้งการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคในด้านการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ การขนส่งสินค้าระหว่างการผลิต การส่งมอบสินค้าที่คล่องตัวและรวดเร็ว ตลาดการขนถ่ายและกระจายสินค้าในภูมิภาคยุโรปมีแนวโน้มเติบโตเป็นอย่างมากใน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับธุรกิจโลจิสติกส์ ที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการวางยุทธศาสตร์ ของบริษัทต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ในขณะที่ใน ตลาดยุโรปตะวันออกมีการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ พื้นที่เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เป็นเลิศ ทำให้ประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก เป็นจุดเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้า สู่เมืองหลักอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งเป็นตลาดโลจิสติกส์ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่มีความชำนาญ รวมทั้งมีเทคโนโลยี ที่ทันสมัยในอันดับต้นๆ ของยุโรป นอกจากนี้ ยังมีโอกาสการเข้าถึงตลาดและกระจายสินค้าของผัก-ผลไม้ไทย โดยการพบหารือธุรกิจกับผู้นำเข้า และผู้ขายส่งเพื่อเป็นช่องทางความร่วมมือกับฝ่ายยุโรปในการหาโลจิสติกส์โซลูชั่น ความเหมาะสมกับคุณลักษณะสินค้าไทย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ