สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - อาเซียน ปี 2551 (ม.ค.—พ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 14, 2009 15:56 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับ อาเซียน
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  37,886.28         100.00         27.77
สินค้าเกษตรกรรม                     3,042.95           8.03         46.02
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             2,550.49           6.73         27.43
สินค้าอุตสาหกรรม                    26,658.82          70.37         21.34
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  5,633.92          14.87         65.60
สินค้าอื่นๆ                               0.11              0        -99.94

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอาเซียน
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              28,260.60         100.00         21.64
สินค้าเชื้อเพลิง                             6,834.44          24.18         19.98
สินค้าทุน                                  7,191.75          25.45         28.99
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  11,241.04          39.78         18.13
สินค้าบริโภค                               1,998.85           7.07         15.37
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  990.09           3.50         47.28
สินค้าอื่นๆ                                     4.42           0.02        -88.98

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อาเซียน
                           2550            2551        D/%

(ม.ค. - พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            52,883.20        66,146.88    25.08
การนำเข้า                23,232.37        28,260.60    21.64
การส่งออก                29,650.83        37,886.28    27.77
ดุลการค้า                  6,418.45         9,625.69    49.97

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอาเซียนมูลค่า 28,260.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.64 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                28,260.60         100.00         21.64
1. ก๊าซธรรมชาติ                   2,943.01          10.41         42.15
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ              2,426.53           8.59         -3.30
3. เคมีภัณฑ์                       2,423.84           8.58          7.73
4. น้ำมันดิบ                       2,081.52           7.37          4.89
5. เครื่องจักรไฟฟ้า                 1,953.00           6.91         46.16
           อื่น ๆ                 3,003.17          10.63          7.89

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอาเซียนมูลค่า 37,886.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.77 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                37,886.28         100.00        27.77
1. น้ำมันสำเร็จรูป                  4,390.83          11.59        89.66
2. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                 3,751.81           9.90        54.21
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ              2,064.79           5.45         5.32
4. เหล็ก เหล็กกล้าฯ                1,595.63           4.21        23.12
5. แผงวงจรไฟฟ้า                  1,575.03           4.16        -2.21
           อื่น ๆ                 9,665.29          25.51        25.31

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอาเซียนปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-1.08 %) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.49 37.21 และ 89.66 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-3.22 %) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.61 35.72 และ 54.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-15.41 %)ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 4.17 และ 5.32 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 13.13 15.28 43.02 และ 23.12 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-2.21 %) ในขณะที่ปี 2548 2549 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.03 12.48 และ 16.30 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอาเซียน ปี 2551 (ม.ค.- พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 9 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                  มูลค่าล้าน        อัตราการ     หมายเหตุ

เหรียญสหรัฐ ขยายตัว%

 1. น้ำมันสำเร็จรูป                4,390.83         89.66
 2. รถยนต์ อุปกรณ์                3,751.81         54.21
10. เครื่องสำอาง                 1,161.20        135.01
11. ข้าว                        1,022.20         96.53
12. เครื่องยนต์สันดาป                856.71         46.10
13. ผลิตภัณฑ์ยาง                    758.66         42.05
21. เครื่องรับวิทยุ                   399.26         52.77
24. ไขมัน และน้ำมันจากพืช            312.41         41.57
25. เครื่องดื่ม                      294.13         50.45

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอาเซียน ปี 2551 (ม.ค.- พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 4 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ              มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                              ล้านเหรียญสหรัฐ             %
 4. แผงวงจรไฟฟ้า                  1,575.03             -2.21
 7. เครื่องจักรกล ฯ                 1,494.26            -22.88
18. ส่วนประกอบอากาศยานฯ             512.90            -25.72
20. เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯ                  454.41            -47.32

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

จากข้อเท็จจริงที่ว่าระบบเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายทางการค้า การลงทุน การบริการและแรงงานที่มีความเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากความพยายามในการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี( FTA) ของประเทศต่างๆ สำหรับในภูมิภาคอาเซียนเองได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์นี้เช่นเดียวกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์หลักของการรวมตัว เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการสร้างประชาคมอาเซียน(ASEAN Cmmunity) ให้เหมือนประชาคมยุโรป มีเป้าประสงค์สำคัญคือ ต้องการสร้างภูมิภาคให้มีความเข้มแข็ง ภายใต้แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ คือ การมีตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรีเพื่อสร้างขีดการแข่งขันของอาเซียนให้เข้ากับเศรษฐกิจโลกและอำนาจการต่อรองในเวทีการค้า หนึ่งในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นตรงกัน คือการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ด้วยการเปิดเสรี ตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเปิดบริการให้แก่กันมากกว่าที่แต่ละประเทศได้มีข้อตกลงไว้กับองค์การการค้าโลก(WTO) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเจรจาไปแล้ว 4 รอบ โดย 2 รอบแรกมุ่งเน้นการเปิดเสรีใน 7 สาขา คือ การเงิน การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การก่อสร้าง และสาขาบริการธุรกิจ ขณะที่การเจรจาในรอบ 3 และ4 ได้มีการขยายขอบเขตการเจรจาเปิดเสรีให้รวมทุกสาขาบริการ และนอกเหนือจากการเปิดตลาดร่วมใน 7 สาขาแล้ว ยังได้ริเริ่มวิธีเจรจาโดยให้ประเทศสมาชิกตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปที่มีความพร้อมจะเปิดเสรีสาขาบริการใดให้แก่กันมากขึ้นก็สามารถกระทำได้ก่อน และเมื่อประเทศอื่นมีความพร้อมจึงค่อยเข้าร่วม เพื่อให้การเปิดเสรีเป็นไปด้วยความรวมเร็วมากขึ้น และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจารอบที่ 5 (ม.ค.50-ธ.ค.2551) โดยหลักการจะมีการขยายจำนวนประเภทธุรกิจในแต่ละสาขาบริการ เพื่อเปิดตลาดระหว่างสมาชิกให้มากกว่ารอบที่ผ่านมาพร้อมทั้งเปิดตลาดในเชิงลึกมากขึ้น นี้สมาชิกอาเซียนยังได้เร่งรัดเปิดตลาดในสาขาบริการที่เป็นสาขาบริการสำคัญ(Priority Sectors) 4 สาขาได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ สาขาการท่องเที่ยว และสาขาสายการบิน ภายในปี 2553 สาขาบริการโลจิสติกส์ ภายในปี 2556 และเปิดเสรีบริการทุกสาขา ภายในปี 2558 ซึ่งจากข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ผู้ให้บริการของไทยและรัฐบาลจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีดังกล่าว โดยในส่วนของภาครัฐได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวมทั้งหมด รองอธิบดีกรมเจรจาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า การเปิดเสรี สาขาขนส่งและโลจิสติกส์ จะเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในตลาดอาเซียนอื่น เพราะไทยถือเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆในอาเซียนได้ ขณะเดียวกันการเปิดให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาประกอบกิจการในไทย ผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ของการร่วมทุน โดยจะมีเงินทุนและเทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจ

อย่างไรก็ตามในส่วนของภาคเอกชนไทยเห็น ว่าภาครัฐควรให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย และมีมาตรการช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ ให้พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้เมื่อมีการเปิดเสรี ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องร่วมมือกันระหว่างผู้ที่อยู่ในซัพพลายเชนเดียวกันระหว่างคู่ค้ากับลูกค้า ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและมาแชร์ธุรกิจกันมากขึ้น แต่ถ้าไม่ทำใน 5 ปีข้างหน้าเมื่อมีการเปิดเสรีโลจิสติกส์เต็มตัวเราก็จะสู้ต่างชาติไม่ได้ ขณะที่การสนับสนุนจากภาครัฐสิ่งแรกที่ต้องทำคือ 1.การมีหน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพดูและด้านโลจิสติกส์อย่างถาวร 2.เร่งแก้ไขกฎระเบียบที่จะอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า และ3.เร่งพัฒนาโครงสร้างด้านการขนส่งทั้งระบบ จุดที่น่าเป็นห่วงในการเปิดเสรีโลจิสติกส์ของไทยคือ ผู้ประกอบการกลุ่มที่ไม่มีเครือข่ายที่จะขยายตัวออกไป ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่มีเวลาพัฒนาวางแผนสร้างเครือข่ายหรือวิจัยพัฒนาธุรกิจ ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยไม่พัฒนา ภาครัฐควรเร่งให้การส่งเสริมด้านความรู้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และสนับสนุนในเรื่องของระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ ขณะที่ผู้ประกอบการควรมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างพันธมิตร เพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน รองรับการเปิดเสรีที่จะมีขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าไปเปิดบริการในประเทศนั้นได้สะดวกขึ้น อนึ่งสำหรับภาพรวมของโลจิสติกส์ไทยในแง่ของการพัฒนาถือว่ายังอยู่ในขั้นของการเริ่มต้น โดยการดำเนินงานของผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเน้นการจัดส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเป็นหลักในขณะที่ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา อยู่ในขั้นที่พัฒนาแล้ว โดยเน้นความสำคัญของการบูรณาการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งผลิตสินค้าแล้วเสร็จส่งมอบไปสู่ผู้บริโภค ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยในปี 2549 ไทยมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีเท่ากับ 23.9 % หรือ 2.36 ล้านล้านบาท ขณะที่ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อจีดีพี ไม่เกิน 11% ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาระบบโลจิสติกส์ของไทยยังขาดการพัฒนาเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานในการกระจายสินค้าและคุณภาพบริการขนส่งทางน้ำและทางอากาศ ดังนั้นหลายฝ่ายต้องเร่งสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยในการเปิดเสรีในทุกเวทีการค้าโลก

เป็นที่น่าสังเกตว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูปถือเป็นสินค้าที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตกปีละประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานจำนวนถึงประมาณ 8 แสนคนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.6 ของการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหรือร้อยละ 2.2 ของการจ้างแรงงานทั้งประเทศ ดังนั้น ในภาวะที่คำสั่งซื้อสินค้าจากทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ การปรับตัวด้านการตลาดตลาดดั้งเดิม : ตลาดส่งออกหลักเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จ รูปทั้งหมด โดยแยกเป็นตลาดส่งออกสหรัฐฯ มีสัดส่วนค่อนข้างสูง ถึงร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด รองลงมาคือสหภาพยุโรปร้อยละ 30 และญี่ปุ่นร้อยละ 5.0 สำหรับตลาดส่งออกหลักนี้ ตลาดใหม่ : มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมดทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดส่งออกดั้งเดิมมิอาจจะเป็นที่พึ่งสำหรับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยจึงควรต้องเร่งแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดที่มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาคประชาชนมีฐานะและกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะต้องเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในระดับที่รุนแรงน้อยกว่า

แม้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนหลายรายจะเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดโลกด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และในจำนวนนี้บางรายมีการนำเข้าวัตถุดิบที่ผลิตได้ไม่เพียงพอประเภทเส้นด้ายและผ้าผืนจากไทยไปผลิตเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกอีกทอดหนึ่ง แต่อาเซียนก็เป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีโอกาสเติบโตของไทย ทั้งนี้เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านภาษีจากข้อตกลงอาฟตา ทำให้เสื้อผ้าสำเร็จ รูปของไทยซึ่งมีรูปแบบและคุณภาพดีจับตลาดกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงมีความได้เปรียบสินค้าในระดับเดียวกันที่นำเข้าจากฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน ทั้งนี้ สัดส่วนการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยไปตลาดอาเซียนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นลำดับจากสัดส่วนร้อยละ 1.9 ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด ในปี 2545 สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.3 ในปี 2547 และร้อยละ 2.4 ในปี 2550 และปี 2551 สำหรับในปี 2552 คาดว่า สัดส่วนการส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยไปยังตลาดอาเซียนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มอินโดจีนยังคงมีการเติบโตโดย ต่อเนื่องตามภาวะการขยายตัวของ ภาคการลงทุน ภาคการท่องเที่ยวและภาคการบริโภคในประเทศ ยกเว้นภาคการส่งออกสินค้าที่ต้องพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สำคัญ ในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า และฟิลิปปินส์

ต้องยอมรับว่าขณะนี้เวียดนามเอาจริงเอาจังกับการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำขึ้นในประเทศอย่างครบวงจร ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกอย่าง บริษัท พอสโก สตีล (Posco)ประเทศเกาหลีใต้ บริษัท ทาทา สตีล (TaTa Steel) ประเทศ อินเดีย และบริษัท บาวน์ สตีล (Baosteel) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการเข้ามาเจาะตลาดอาเซียนให้มากขึ้น และสนใจที่จะตั้งโรงถลุงเหล็ก เพื่อรองรับกำลังซื้อในตลาดเอเชียทั้งหมด ที่รวมๆ กันแล้วมีมากกว่าครึ่ง(500-600 ล้านตัน/ปี)ของการใช้เหล็กในตลาดโลกที่มีอยู่ในขณะนี้รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,200 ล้านตัน/ปี ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับกำลังผลิตเหล็กรวมทุกชนิดในตลาดโลกตอนนี้ ขณะที่ตลาดเวียดนามก็เป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศอยู่ประมาณ 50% ของการบริโภคเหล็กที่มีประมาณ 6-7 ล้านตัน/ปี นอกจากรัฐบาลเวียดนามจะมองเห็นความสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดเหล็กต้นน้ำขึ้นในประเทศแล้ว เวียดนามยังมีแหล่งสินธุ์แร่ขนาด 300-500 ล้านตัน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการถลุงเหล็ก ที่สามารถรองรับการผลิตได้นาน40-50 ปี อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าฯได้ศึกษา การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์หนึ่งที่น่าลงทุน เพราะนอกจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตเหล็กในประเทศลดลง สามารถทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก เทียบเท่ากับปริมาณเหล็กกึ่งสำเร็จรูปได้ถึง 16.21 ล้านตัน และยังมีโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มอาเซียนได้ด้วย รวมถึงการมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งหลายประการ เช่น ค่าขนส่งที่ถูกกว่า เมื่อเฉลี่ยค่าขนส่งจากประเทศไทยไปยังอาเซียนเฉลี่ย 20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ขณะที่การขนส่งจากกลุ่มประเทศCIS ที่เป็นประเทศผู้ส่งออกเหล็กกึ่งสำเร็จรูปหลัก มีค่าใช้จ่ายประมาณ 40 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ขณะที่การขนส่งจากบราซิลมีต้นทุนสูงถึง 80 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าและสถานที่ตั้งโรงถลุงเหล็กที่เหมาะสมทั้งพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออก มีผู้ผลิตเหล็กที่มีเตาหลอมอยู่ 3 รายที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบจากโรงถลุงแทนการนำเข้าเศษเหล็กถลุงจากต่างประเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ