ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะสินค้าไทยในอิตาลีระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 8, 2009 15:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สภาวะเศรษฐกิจอิตาลีในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนมิถุนายน 2552 ค่อนข้างทรงตัว โดยร้านค้าเล็กๆ จะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ในขณะที่ศูนย์การค้าใหญ่ๆ ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายสินค้าได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้สามารถขยายวันและเวลาขายสินค้าให้มากขึ้น ในราคาที่แตกต่างมากขึ้น และแม้กระทั่งการขายต่ำกว่าทุนเพื่อความอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่วนศูนย์การค้าใหญ่ๆกลับมีโอกาสทางการตลาดที่ดีกว่าโดยในปี 2552 มีการเปิดห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์กลางค้าระดับกลางใหม่ๆ ถึง 40 แห่ง และยังมีโครงการที่จะเปิดศูนย์การค้าอีกกว่า 300 โครงการ ทั้งนี้ผลการศึกษาของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปรากฎว่ารูปแบบการบริโภคของประชาชนอิตาลีได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่ซื้อของจากร้านค้าย่อยๆ เฉพาะอย่างมาเป็นการซื้อสินค้าจากศูนย์การค้าที่สนองตอบความต้องการได้หลากหลายกว่าทั้งสินค้าและบริการ โดยเน้นทั้งร้านอาหาร สถานบันเทิงเช่น โรงภาพยนตร์และกีฬา เป็นต้น

2. OECD ได้คาดการณ์ว่า GDP ของอิตาลีในปี 2552 จะเท่ากับ -5.3% เมื่อเทียบกับปี 2551 ในขณะที่ธนาคารชาติอิตาลีคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5% และ ISTAT คาดว่าจะอยู่ที่ 4.6%

3. สมาพันธ์อุตสหากรรมอิตาลี (CONFINDUSTRIA) รายงานอิตาลีจะฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้ในปี 2553 โดยคาดว่าปี 2552 GDP จะเท่ากับ 4.9% การว่างงานเท่ากับ 8.6% และ 9.3% ในปี 2553 โดยจำนวนคนว่างงานตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2553 น่าจะสูงถึง 1 ล้านคน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ OECD ที่คาดว่า การว่างงานของอิตาลีในปี 2552 จะเท่ากับ 10% และต่อเนื่องไปถึงปี 2553

4. ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศเป็นภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ประกอบธุรกิจขนส่งซึ่งมีทั้งหมด 2,200 รายต้องลดการจ้างงานลง ทั้งนี้ประธานสมาพันธ์ธุรกิจขนส่ง (President of Fedespedi) เปิดเผยว่า ธุรกิจประสบปัญหาต้องลดการจ้างงานลงตั้งแต่เดือนเมย. ที่ผ่านมาและกังวลว่าในช่วงเดือนกันยายนหลังจากการหยุดพักร้อนแล้วจะมีผู้ประกอบการที่ต้องปิดกิจการลงอีกหลายราย

5. ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ แนวโน้มความต้องการรถยนต์ของผู้บริโภคชาวอิตาลีคือต้องเป็นรถที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเน้นรถที่ใช้ทั้งน้ำมันและก๊าซและประหยัดพลังงาน โดยร้อยละ 20 นิยมใช้รถที่ใช้ทั้งน้ำมัน/ก๊าซ ร้อยละ 12 นิยมใช้รถที่ใช้ทั้งน้ำมัน/มีเทน (Methane) ร้อยละ 10 นิยมรถประเภท Hybrid ร้อยละ 4 นิยมรถที่ใช้เฉพาะมีเทน ร้อยละ 30 นิยมรถที่ใช้น้ำมันดีเซล และร้อยละ 20 นิยมรถที่ใช้น้ำมันประเภท green petrol นอกจากนี้ในด้านของวงเงินใช้จ่ายผู้บริโภคอิตาลีร้อยละ 75 เห็นว่า จะซื้อรถในระดับเดิม ร้อยละ 14 เห็นว่าจะซื้อรถที่มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิม และร้อยละ 11 จะซื้อรถที่มีระดับสูงสุดทั้งนี้ในเดือนมิถุนายน 2552 ปรากฏว่า โควต้าคำสั่งซื้อรถใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับการซื้อรถใหม่ที่จะหมดอายุลงในสิ้นปี 2552 นี้

6. รัฐบาลอิตาลีได้ออกกฤษฎีกามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับได้ในสิ้น

  • ภาคธุรกิจ

6.1 ให้หักลดหย่อนสำหรับการซื้อเครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตใหม่ (50% ของมูลค่าเครื่องจักร จากรายได้ที่ต้องใช้ในการคำนวณภาษี)

6.2 กรณีบริษัทที่ไม่ปลดคนงานออก รัฐบาลจะจ่ายเงินประกันสังคมในส่วนที่ต้องจ่ายให้คนงานที่ถูกเลิกจ้างให้แก่บริษัทแทนเพื่อจูงใจไม่ให้บริษัทปลดคนงานออก หรือกรณีที่จำเป็นต้องปลดคนงานออก แต่บริษัทนำคนงานเหล่านั้นมาฝึกอบรม รัฐบาลก็จะช่วยจ่ายส่วนต่างระหว่างเงินชดเชย และเงินประกันสังคมมให้แก่บริษัท

6.3 ลดต้นทุนด้านพลังงานให้ ซึ่งปกติผู้ประกอบการอิตาลีต้องจ่ายสูงถึง 38.7% มากกว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป

6.4 กำหนดเวลาแน่นอนในการจ่ายชำระหนี้ขององค์กรและหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจ่ายชำระให้แก่ภาคเอกชนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาจ่ายชำระหนี้ล่าช้า

  • ภาคประชาชน

6.5 ลดต้นทุนด้านพลังงาน

6.6 ขยายกรอบเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน (Social Cord) ให้มากขึ้น เช่น ขยายอายุเด็กที่ครอบครัวมีรายได้ต่ำจาก 3 ปี เป็น 8 ปี และคนแก่อายุเกินกว่า 65 ปี ที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 6,000 ยูโรเป็น 7,000-8,000 ยูโรซึ่งคาดว่าประชาชนที่อยู่ในข่ายได้รับการช่วยเหลือประมาณ 600,000 คน ทั้งนี้สมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งอิตาลี (Italian Machinery Industries Federation) คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของรัฐบาลดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ประกอบด้วยผู้ผลิตราว 6,600 ราย ที่มีคนงานประมาณ 180,000 คน และจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าในปี 2552 ให้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะมีมูลค่า20,000 ล้านยูโร เป็น 26,000 ล้านยูโร

7. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนศกนี้ Mr.Paolo Zegna รองประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิตาลี (Italian Industries Confederation) ได้จัดให้มีการหารือและเจรจาการค้าระหว่างคณะนักธุรกิจจากเมือง Jiangsu ประเทศจีน จำนวน 40 บริษัทจากกลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าที่สนใจจะซื้อสินค้าจากอิตาลีประเภทเสื้อผ้าแบรนด์ อาหารและไวน์ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมสิ่งทอ กับผู้ประกอบการอิตาลีราว 70 บริษัท ธนาคาร 4 แห่ง และสมาพันธ์อุตสาหกรรม 10 แห่ง ซึ่งผลการหารือได้มีการปรับปรุง MOU ที่เคยทำกันไว้ และมีมูลค่าการลงทุนเกิดขึ้นราว 13 ล้านยูโร และในวันที่ 6 ก.ค.52 ก็จะมีคณะนักลงทุนรายใหญ่จากจีนเดินทางมาทำความตกลงกับนักธุรกิจอิตาลีอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ อิตาลีสนใจในตลาดจีนอย่างมากโดยการส่งออกของอิตาลีไปจีนในเดือนพ.ค. 52 เพิ่มขึ้นถึง 19%

8. บริษัทรถยนต์ FIAT ของอิตาลีได้ประกาศว่าบริษัทฯได้ทำความตกลงร่วมกับบริษัท TATA ในอินเดีย เพื่อผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ชื่อ Grande Punto ซึ่งคาดว่าจะได้รับความสำเร็จทั้งในตลาดในประเทศและส่งออก และคาดว่าอินเดียจะสามารถเป็น Hub สำหรับรถ FIAT ได้ เนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในอินเดียที่ค่อนข้างชัดเจน

9. บริษัท PIAGGIO ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ Vespa ในอิตาลี ได้ประกาศออกรถมอเตอร์ไซต์ New Vespa (Vespa LX125 และ 150 ซีซี) ซึ่งผลิตในเวียดนามเพื่อขายในตลาดอิตาลีและตลาดต่างประเทศโดยบริษัทได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเวียดนาม กำลังผลิต 100,000 คัน/ปี และมีคนงานกว่า 250 คน เหตุผลที่บริษัทเลือกลงทุนในเวียดนามเนื่องจากเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพโดยในปัจจุบันมีจำนวนรถมอเตอร์ไซต์ในเวียดนามถึง 22 ล้านคัน ตลาดมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงปีละ 20-30% และคาดว่าตลาดจะยังคงมีศักยภาพต่อไปกว่าจะถึงจุดอิ่มตัวในอีก 15 ปีข้างหน้า กรกฎาคม 2552 นี้ เรียกว่า “Summer Policy” (tremonti-ter) เพื่อช่วยให้ธุรกิจ คนงาน และประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น ได้แก่

10. มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อิตาลีเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพโดยเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ปี 2552 CONFINDUSTRIA ร่วมกับ ICE (Italian Institute for Foreign Trade) และ ABI (Italian Banks Association) ได้จัดคณะผู้แทนการค้านำโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนจากหน่วยงานดังกล่าวพร้อมด้วยผู้ประกอบการอิตาลีจำนวน 70 บริษัทเดินทางไปมาเลเซียเพื่อพบหารือและเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจของมาเลเซีย และได้มีการลงนามใน MOU 2 ฉบับโดยฉบับแรกจะเป็นความตกลงทั่วไปที่จะร่วมมือระหว่างกันทางการค้า การลงทุน และฉบับที่ 2 เป็นความร่วมมือเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรกล (Mechanotronics) เครื่องไฟฟ้า (Electronic) เทคโนชีวภาพ (Biotech) วิศวกรรม (Engineering) และพลังงานทางเลือก (Alternative Energies)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ