ประเด็นต่างๆที่กระทบต่อการค้าส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นไป

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 21, 2009 08:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปนโยบาย กฎระเบียบ และการดำเนินการต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการค้าส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นไป คือ

1. การสกรีนตู้สินค้าที่ส่งทางอากาศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

Transportation Security Administration ศุลกากร

นโยบาย

ในต้นปี 2009 ศุลกากรสหรัฐฯจะต้องสามารถตรวจสอบตู้สินค้าที่ส่งเข้าสหรัฐฯทางอากาศโดยเครื่องบินโดยสารทั่วไปได้ประมาณ 50% และภายในกลางปี 2010 จะสามารถตรวจสอบตู้สินค้าได้ทุกตู้ หรือ100%

กฎระเบียบ

ตู้สินค้าจะสามารถผ่านเข้าสหรัฐฯได้จะต้องดำเนินการดังนี้

ก. ถูกสแกนด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐานของสหรัฐฯ

ข. ส่งสำเนาการสแกนให้แก่หน่วยงานศุลกากรสหรัฐฯ (Homeland Security)

ค. ตีตราประทับตู้สินค้าตามวิธีการที่สหรัฐฯกำหนด

ผลกระทบ

ก. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ข. ขั้นตอนการส่งสินค้าและการนำเข้าสินค้ามีระยะเวลานานขึ้น การขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายมีความเสี่ยงมากขึ้นหากต้องรอการสแกนตู้สินค้าและการตีตราประทับ

ค. เกิดความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบการจัดส่งสินค้าและระยะเวลาการจัดส่งสินค้าทางอากาศเพื่อให้สัมพันธ์กับ การดำเนินการตามกฎหมาย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ก. H.R.1: Implementing the 9/11 Commission Recommendations Act of 2007

ข. รายงานสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศนครลอสแอนเจลิส “สหรัฐฯกับการออกกฎหมายให้ใช้ระบบสแกนตู้สินค้านำเข้าสหรัฐฯ” 1 กุมภาพันธ์ 2550

2. Consumer Product Safety Improvement Act
หน่วยงานที่รับผิดชอบ

Consumer Product Safety Commission

กฎระเบียบ

ก. ผลิตภัณฑ์ประมาณ 15,000 ชนิด ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไปและสินค้าสำหรับเด็ก ที่ผลิตหลังเดือนพฤศจิกายน 2008 ทั้งที่ผลิตจากโรงงานในสหรัฐฯและที่ผลิตในโรงงานต่างประเทศและนำเข้าสหรัฐฯจะต้องมีใบรับรองตามที่กฎหมายกำหนด

ข. ใบรับรองนี้ออกให้หลังจากที่ได้มีการทำการทดสอบผลิตภัณฑ์สินค้าแต่ละตัวแล้วหรือโรงงานผลิตมีโปรแกรมการทดสอบที่สมเหตุสมผล

ค. ใบรับรองจะต้องติดไปกับสินค้าเมื่อมีการส่งต่อให้แก่ผู้กระจายสินค้าและผู้ค้าปลีก

ง. ใบรับรองนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษเสมอไป อาจจะเป็นใบรับรองที่เข้าถึงได้โดยระบบอิเลคโทรนิกส์ผ่านทางหมายเลขรหัส (identification number) และชื่อเว็บไซด์

จ. ผลิตภัณฑ์สินค้าบางประเภทจำเป็นต้องผ่านการทดสอบของบุคคลที่สาม

ฉ. กำหนดปริมาณสารตะกั่วตกค้างในสินค้าบางประเภท

กำหนดเวลาดำเนินการ

ระหว่างเดือนธันวาคม 2008 — กันยายน 2009

ผลกระทบ

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในการปฏิบัติตามกฎหมาย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ก. Consumer Product Safety Improvement Act of 2008

ข. รายงานสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส “กฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยของสินค้าสำหรับผู้บริโภค” และ “สรุปสาระสำคัญกฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยของสินค้าสำหรับผู้บริโภค” ธันวาคม 2551

3. Rules of Origin
หน่วยงานรับผิดชอบ

ศุลกากรสหรัฐฯ

กฎระเบียบ

ในปี 2009 การระบุประเทศแหล่งที่มาของสินค้า (country of origin) จะกระทำอย่างเป็นระเบียบและมีมาตรฐานเดียวกันแทนระบบเดิมที่เป็นการตัดสินโดยใช้ระบบพิจารณาเป็นกรณีๆไป กฎระเบียบใหม่จะอยู่บนพื้นฐานของระบบรหัสศุลกากรสหรัฐฯที่ปัจจุบันสหรัฐฯใช้อยู่กับคู่ค้าในสัญญา NAFTA และจะส่งผลต่อการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายรายการ

กำหนดเวลาดำเนินการ

1. วันที่ 25 กรกฏาคม 2007 ศุลกากรสหรัฐฯเสนอให้ยกเลิกระบบที่ใช้อยู่ในการกำหนด Country of Originและให้เปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบรหัสศุลกากรสหรัฐฯ (Harmonized Tariff System)

2. วันสุดท้ายของการรับฟังประชาพิจารณ์ 1 ธันวาคม 2008

3. ในปี 2009 สหรัฐฯจะประกาศออกมาเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
  • 19 CFR 102

(http://ecfr.gpoaccess.gov/cgi/t/text/text- idx?c=ecfr&tpl=/ecfrbrowse/Title19/19cfr102_main_02.tpl)

  • 19 CFR 177

(http://ecfr.gpoaccess.gov/cgi/t/text/text- idx?c=ecfr&tpl=/ecfrbrowse/Title19/19cfr177_main_02.tpl)

4. 10+2 Rule (Importer Security Filing)
หน่วยงานรับผิดชอบ

ศุลกากรสหรัฐฯ

กฎระเบียบ
  • สินค้าที่ประสงค์จะส่งเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯจะต้องแจ้งข้อมูลต่างๆอีก 10 ข้อ เพิ่มเติมจากข้อมูล 24 ข้อที่ปัจจุบันจะต้องแจ้งอยู่แล้วภายใต้ระเบียบเรื่องการแจ้งล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนการขนถ่ายสินค้าลงเรือที่ท่าเรือต้นทาง
  • การแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมนี้เรียกว่า Security Filling (SF)
ผลกระทบ

ความยุ่งยากในการจัดหาและแจ้งข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ความลับทางการค้ารั่วไหล นักธุรกิจทั้งที่เป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้ารายย่อย หรือที่เพิ่งจะเริ่มต้นธุรกิจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ก. กฎหมาย SAFE Port Act

ข. Federal Register, November 25, 2008: Importer Security Filling, Interim Final

ค. รายงานสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส “ศุลกากรสหรัฐฯกับกฎหมายบังคับการแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐฯ” 15 มีนาคม 2550

5. Lacey Act Amendments of 1981 (Farm Bill 2008)
หน่วยงานรับผิดชอบ
  • หน่วยงาน Animal and Plant Health Inspection (APHIS) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
  • ศุลกากรสหรัฐฯ
  • U.S. Fish and Wildlife Service
  • U.S. Trade Representative
  • U.S. Department of Justice
  • U.S. Department of State
  • U.S. Department of Commerce
  • Council on Environment Quality
  • U.S. Forest Service
กฎระเบียบ
  • ห้าม การนำเข้า ส่งอออก ซื้อ ขาย ได้มา ครอบครองจัดการ หรือขนส่ง ซึ่งสัตว์น้ำ สัตว์ป่า หรือ พืชที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของสหรัฐฯ กฎหมายของอินเดียนแดงกฎหมายการค้าระหว่างมลรัฐ และกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
  • การนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชที่อยู่ภายใต้กฎหมายจะต้องแจ้งการนำเข้าที่รวมถึงชื่อสายพันธ์มูลค่านำเข้า ปริมาณนำเข้า ชื่อประเทศแหล่งกำเนิดพืช
ผลกระทบ

ค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักธุรกิจรายย่อยจะประสบปัญหามากยิ่งขึ้น

6. Composite Wood Air Toxic Control Measure (ATCM) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย
หน่วยงานรับผิดชอบ

California Air Resources Board (CARB) ภายใต้ California Environmental Protection Agency (CAEPA)

กฎระเบียบ
  • กำหนดปริมาณของฟอร์มัลดิไฮด์ที่แพร่กระจายออกมาจากวัตถุดิบไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ทำมาจาก composite wood ไม่ว่าจะมาจากแหล่งผลิตใดในโลก ที่วางจำหน่ายหรือใช้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ว่าจะต้องอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่เทคโนโลยี่การผลิตจะสามารถกระทำได้
  • สินค้าภายใต้กฎหมายนี้ต้องมีใบประกาศนียบัตรรับรองปริมาณการแพร่กระจายของฟอร์มัลดิไฮด์
ระยะเวลา
  • Phase 1 เริ่มต้น 1 มกราคม 2009-1 กรกฏาคม 2009
  • Phase 2 เริ่มต้น 1 มกราคม 2010 — 1 กรกฏาคม 2012
ผลกระทบ

ค่าใช้จ่ายและเวลาดำเนินการที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติตามกฎหมาย

ข้อมูลเพิ่มเติม

ก. California Air Resources Board (CARB)

ข. รายงานสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส “ ประกาศเตือน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย กับกฎหมายควบคุมสินค้าทำจากไม้ที่จำหน่ายในมลรัฐ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ศุลกากร   sport   สหรัฐ   tat  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ