เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ของรัฐต่างๆบนฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2010 16:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดการเคลื่อนไหวเร่งสร้างนวกรรมใหม่ๆขึ้นในเกือบจะทุกมลรัฐทั่วประเทศสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ — new economy ที่เป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานของนวกรรมที่เป็นเทคโนโลยี่ระดับสูงกว่าปัจจุบัน - innovation economy ที่มาจากการพัฒนาระบบการผลิตทั้งที่เป็นสินค้าและบริการโดยการใช้เทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นที่ประเทศอื่นๆไม่มี ที่จะสามารถสร้างความเข้มแข็งมั่นคงและความอยู่รอดของเศรษฐกิจใน สภาวะการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจและการค้าของโลกกำลังเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีมากยิ่งขึ้นได้ในอนาคต เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าการสร้างภาคอุตสาหกรรมและการค้าที่จะเป็นรากฐานเศรษฐกิจแบบใหม่ในเกือบจะทุกมลรัฐของสหรัฐฯจะเน้นไปที่แนวคิดเรื่อง “green” และ “renewable energy” เป็นสำคัญดังนั้นเศรษฐกิจแบบใหม่เหล่านี้ในบางโอกาสจะถูกเรียกว่า green economy

สภาวะการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและสนับสนุนความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้าง innovation economy ขึ้นในประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายบริหารรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าให้ความสำคัญสูงสุดกับนโยบายการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆภายใต้เทคโนโลยี่ใหม่ๆที่ก้าวหน้ากว่าปัจจุบันให้เกิดมากยิ่งขึ้นและให้แพร่หลายในสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบันเชื่อว่า การดำเนินการดังกล่าวจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯเพราะจะสามารถเพิ่มรายได้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขายเทคโนโลยี่ระดับสูงหรือการขายสินค้าและบริการที่มาจากเทคโนโลยี่ระดับสูงที่สหรัฐฯคิดค้นได้และที่ประเทศอื่นยังไม่มี สามาถแก้ปัญหาการว่างงานโดยการสร้างงานใหม่ๆให้แก่ประชากร สามารถลดระดับการพึ่งพาประเทศอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพลังงาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าโลก และลดการรั่วไหลของเงินตราสหรัฐฯออกนอกประเทศ นโยบายหลักของรัฐบาลสหรัฐฯที่ผ่านมาคือเน้นการให้เงินทุนสนับสนุนการทำวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี่ใหม่ๆ รัฐบาลชุดปัจจุบันมีโนบายเพิ่มเติมที่จะเร่งดำเนินการต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนการสร้าง innovation economy ไม่เฉพาะแต่ในภาครัฐและภาคธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการจัดทำนโยบายให้สิทธิพิเศษด้านภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบการของภาคธุรกิจขนาดเล็กที่รัฐบาลสหรัฐฯเชื่อว่านอกจากจะเป็นแหล่งจ้างแรงงานขนาดใหญ่แล้วยังเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญอย่างยิ่งของการค้นพบเทคโนโลยี่ใหม่ๆหรือระบบพาณิชย์ใหม่ๆ ของสหรัฐฯ

The 2007 State New Economy Index จัดทำโดย Ewing Marion Kauffman Foundation และ Information Technology and Innovation Foundation ระบุว่า คุณสมบัติที่เด่นชัดประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วและดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง และระบุว่ามลรัฐในสหรัฐฯที่มีการดำเนินการเข้าข่ายเป็นผู้นำในเรื่องของการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของนวัตกรรมแบบใหม่ๆ คือ รัฐแมสซาจูเซท นิวเจอร์ซี่ แมรี่แลนด์ วอชิงตัน และแคลิฟอร์เนีย มลรัฐที่ล้าหลังในเรื่องนี้มากที่สุดคือรัฐเวสเวอร์จิเนีย มิสซิสซิปปี้ เซ้าท์ดาร์โกต้า อาร์คันซอร์ และอลาบาม่า

แนวคิดเรื่อง innovation economy ในสหรัฐฯส่งผลให้เกิดภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆและการเปลี่ยนแปลงประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจของแต่ละมลรัฐในสหรัฐฯ เกิดเป็น new economy หรือเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มลรัฐไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้เงื่อนไขสำคัญส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรากฐานเศรษฐกิจของแต่ละรัฐ สรุปได้ดังนี้ คือ

1. แนวคิดและการดำเนินนโยบายเรื่อง innovation economy ที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภคทั่วไป หลายๆมลรัฐในสหรัฐฯเร่งทำการวิจัยและพัฒนานวกรรมใหม่ๆ มีรายงานว่าปัจจุบันใน 50 มลรัฐของสหรัฐฯ ประมาณ 46 มลรัฐได้มีการลงทุนเพื่อทำการวิจัยและพัฒนานวกรรมใหม่ๆ ไปแล้วอย่างจริงจัง การดำเนินการดังกล่าวทำให้ภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมใหม่ๆ เริ่มเกิดมีขึ้นในรัฐต่างๆที่มีแนวโน้มว่าอาจจะกลายเป็นหรือมีศักยภาพสูงที่จะกลายเป็นรากฐานเศรษฐกิจแบบใหม่ๆของมลรัฐนั้นๆในอนาคตอันใกล้

2. สภาวะการณ์เศรษฐกิจในแต่ละมลรัฐทำให้การแข่งขันกันเพื่อการอยู่รอดของแต่ละมลรัฐเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ มลรัฐต่างๆเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งจัดทำนโยบายต่างๆเพื่อเร่งสร้าง innovation economy ของตนเองขึ้นมา ที่จะสนับสนุนให้เกิดภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆในมลรัฐของตนเพิ่มมากขึ้นโดยผ่านทางการให้เงินสนับสนุนหรือแสวงหาเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางเพื่อนำมาจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่ สินค้า หรือบริการใหม่ๆ เพิ่มเติมจากการดำเนินการ ปกติที่เป็นการให้ incentive ที่ดีกว่ามลรัฐคู่แข่งเพื่อดึงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆเข้าไปยังมลรัฐของตน

3. ความเสื่อมของภาคอุตสาหกรรมและความล้าสมัยของระบบการผลิตแบบดั้งเดิมในมลรัฐที่เคยเป็น ฐานการผลิตในอดีต และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี่การผลิตแบบใหม่และแรงงานเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี่แบบใหม่ในอีกมลรัฐหนึ่งทำให้มลรัฐนั้นสามารถเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ที่สามารถสร้างระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าเดิม สามารถผลิตสินค้ารุ่นใหม่ที่เป็นเทคโนโลยี่ที่ดีกว่าและทันสมัยกว่าเดิม

มลรัฐต่างๆ 14 มลรัฐบนฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส ก็กำลังมีการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ขึ้นเช่นกัน บางมลรัฐได้มีการดำเนินการก้าวล้ำหน้าไปแล้วอย่างมาก ในขณะที่บางรัฐเพิ่งจะเริ่มดำเนินการได้ไม่นาน ซึ่งสรุปได้ดังนี้

รัฐแคลิฟอร์เนีย

แคลิฟอร์เนียได้ชื่อว่าเป็นรัฐสำคัญสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯในเรื่องการสร้าง innovation economy เป็นรัฐที่ให้ความสำคัญสูงสุดในการสร้างนวกรรมใหม่ๆและเป็นแหล่งกำเนิดนวกรรมใหม่ๆหลายอย่างรากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐแคลิฟอร์เนียอยู่บน

1. อุตสาหกรรมการสื่อสาร การผลิตเครื่องเครื่องมือเครื่องใช้ การเกษตร และเทคโนโลยี่ระดับสูงด้านการสื่อสาร ทั้งหมดนี้รวมตัวกันหนาแน่นใน แคลิฟอร์เนียภาคเหนือ ในพื้นที่ที่เรียกว่า Bay Area อันประกอบไปด้วยเมือง San Francisco, Oakland และ San Jose

2. อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องมือและเครื่องใช้สำหรับใช้ตกแต่งในตึกที่ทำการต่างๆและอุตสาหกรรมบันเทิงและการผลิตภาพยนต์ ทั้งหมดนี้รวมตัวกันหนาแน่นในเขต Los Angeles ในแคลิฟอร์เนียภาคใต้

3. อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าหนังและอุปกรณ์กีฬา เครื่องปั่นไฟ การสร้างสรรค์ที่เป็นด้านการศึกษาวิจัยและความรู้ต่างๆ ทั้งหมดนี้รวมตัวกันหนาแน่นในเขต San Diego แคลิฟอร์เนียภาคใต้

ปัจจุบันธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆในรัฐแคลิฟอร์เนียที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัฐฯและมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นรากฐานสำคัญอันหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบใหม่และเป็นเงื่อนไขที่จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของรัฐให้เป็น innovation economy อย่างสมบูรณ์ได้ในอนาคตอันใกล้ ได้แก่

1. green businesses รัฐแคลิฟอร์เนียได้ชื่อว่าเป็นรัฐผู้นำด้าน green economy ของประเทศสหรัฐฯ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่อยู่บนหลักการเรื่อง “green” ของรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและในอัตราที่เร็วกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม จึงคาดได้ว่าในอนาคตอันใกล้ green business จะกลายเป็นรากฐานใหม่ที่สำคัญอันหนึ่งของเศรษฐกิจแคลิฟอร์เนีย จากการศึกษาของ Next 10 and Collaborative Economics พบว่า (ก) ในระหว่างปี 1995-2008 อัตราการเติบโตของแรงงานเฉพาะที่เป็น green business ของรัฐแคลิฟอร์เนียเท่ากับร้อยละ 36 และจำนวน บริษัทที่ประกอบธุรกิจ green businesses ขยายตัวร้อยละ 45 (ข) ระหว่างปี 2007- 2008 แรงงานในภาค green businesses ขยายตัวร้อยละ 5 ในขณะที่แรงงานในภาคธุรกิจอื่นๆลดลงร้อยละ 1 (ค) แรงงาน green industries ของรัฐแคลิฟอร์เนียมีจำนวน มากกว่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรม biotech ประมาณ 3 เท่า หรือ เท่ากับสองใน สามของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม software (ภาคอุตสาหกรรม biotech และ software ที่ถือได้ว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมสำคัญสูงสุดอันหนึ่งของรัฐ) สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำทางด้าน green economy ของรัฐแคลิฟอร์เนียก็คือแหล่งรวมตัวหนาแน่นของธุรกิจ - green businesses clusters ของรัฐแคลิฟอร์เนียมีกระจายไปทั่วมลรัฐในทุกพื้นที่ไม่เฉพาะแต่ในเมืองใหญ่เท่านั้น คือ

(ก) San Francisco Bay Area ใน Northern California เป็นแหล่งธุรกิจ green logistics และ green energy generation (ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

(ข) San Diego ใน Southern California เป็นแหล่งผลิตพลังงานจากความร้อนที่ได้มาจากการจัดการขยะ

(ค) Los Angeles และ Orange County ใน Southern California เป็นแหล่งผลิตยานพาหนะที่ใช้ green energy ที่รวมถึงรถไฟฟ้า และการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือกอื่น

(ง) San Joaquin Valley ใน Central California เป็นแหล่งผลิตพลังงานลม — wind generation และเชื้อเพลิงทางเลือกอื่น

(จ) พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลทางเหนือและ Sacramento ใน Northern California เป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อน จากใต้พื้นดิน - geothermal power

(ฉ) Sacramento Valley ใน Northern California เป็นแหล่งอุตสาหกรรม biomass

(ช) Inland Empire ใน Southern California เป็นแหล่งผลิต energy generation เน้นพลังงานจากลมและแสงแดด

2. อุตสาหกรรมพลังงานจากแสงอาทิตย์ รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นตลาดการผลิตและการบริโภคพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ทั้งนี้จะเห็นได้จาก (ก) การที่รัฐแคลิฟอร์เนียออกกฎหมาย Million Solar Roofs Plan หรือที่เรียกว่า California Solar Initiative ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายในปี 2018 หลังคาบ้านหนึ่งล้านหลังในรัฐแคลิฟอร์เนียจะเป็น Solar Roof ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดป้อนตลาดแคลิฟอร์เนีย (ข) เป้าหมายของรัฐที่กำหนดว่าภายในปี 2020 ร้อยละ 33 ของพลังงานที่ใช้ในรัฐจะมาจากแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก renewable resources และ (ค) จากการที่บริษัท Underwriters Laboratories (UL) ได้เลือก Silicon Valley เป็นที่ตั้งของ Photovoltaic Technology Center of Excellence หรือศูนย์ทดสอบและออกประกาศนียบัตร UL รับรอง photovoltaic (PV) เพื่อการพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือที่จะอำนวยความสะดวกแก่โรงงานผลิตในรัฐที่ผลิต PV ในการขอรับ UL และสามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว

3. green vehicle ปัจจุบันรัฐแคลิฟอร์เนียคือศูนย์กลางการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของสหรัฐฯ ในจำนวนโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำคัญ 10 อันดับแรกของสหรัฐฯ (1) Chevrolet Electric (2) American Honda Motor Co., (3) Th!nk North America (4) Phoenix Motorcars (5) Electric City Motors (6) Tesla Motors (7) Myers Motors (8) Chrysler ENVI (9) Aptera Motors และ(10) Detroit Electric โรงงาน ผลิต 5 โรงงานตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (American Honda Motor Co, Th!nk North America, Phoenix Motorcars, Tesla Motors และ Aptera Motors)

โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในรัฐแคลิฟอร์เนียมีทั้งที่เป็นรถที่มีความเร็ววิ่งได้บนทางด่วนและรถที่วิ่งได้เฉพาะบนถนนธรรมดา คือ

(ก) Phoenix Motorcars (Phoenix MC Inc.), www/phoenixmotorcars.com สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Ontario ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาด full size ที่สามารถวิ่งบนทางด่วนได้ และ ผลิตตัวถัง แบตเตอรี่ และส่วนประกอบต่างๆที่เป็นdrive-train รถไฟฟ้าของบริษัทได้แก่ The Current

(ข) Tesla Motors, Inc., www.teslamotors.com ตั้งอยู่ที่ Silicon Valley (เมือง San Carlos) ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรถกำลังสูงสำหรับผู้บริโภคทั่วไป รถไฟฟ้าที่บริษัทผลิตได้เช่น Tesla Roadster และ Tesla Model S

(ข) Green Vehicles Inc., www.greenvehicle.com ตั้งอยู่ที่เมือง San Jose รถที่บริษัทผลิตได้เช่น Triac, Moose, Buckshot

(ค) Aptera Motors, www.aptera.com ตั้งอยู่ที่ Carlsbad รถที่บริษัทผลิตได้ เช่น Aptera 2 Series

(ง) ZAP (Zero Air Pollutions) www.zapworld.com สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Santa Rosa

(จ) Fisher Automotive, Inc. เมือง Irvine

(ฉ) Th!nk North America, www.think.no สำนักงานใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ที่เมือง Menlo Park

(ช) AC Propulsion, Inc., www.acpropulsion.com ตั้งอยู่ที่เมือง San Dimas

(ซ) Wrightspeed Inc., www.wrightspeed.com ตั้งอยู่ที่เมือง Burlingame

(ฌ) Coda Automotive, www.coddautomotive.com ตั้งอยู่ที่เมือง Santa Monica

(ญ) American Honda Motor Co., Inc., ตั้งอยู่ที่เมือง Torrance http://automobiles.honda.com/alternative-fuel-vehicles

(ฎ) eRoadster (NORAM Concepts Inc.) ตั้งอยู่ที่เมือง Redondo Beach

(ฏ) Gorilla Vehicles, ตั้งอยู่ที่เมือง Huntington Beach

4. ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆที่สนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมในข้อ 1 — 3 ข้างต้น เช่น การผลิตเซลพลังงานแสดงแดด การผลิตแบตเตอรรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับการประกอบรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนานวกรรมใหม่ๆในรัฐแคลิฟอร์เนียเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่ ที่เป็นเรื่องของ

1. Stem Cell Research, Bioscience และ Life Science

2. วิธีการผลิตแบบใหม่และเทคโนโลยี่ข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป้าหมายรวมถึงการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง มีความเร็วมากยิ่งขึ้น เบาขึ้นแต่แข็งแรงขึ้น ใช้พลังงานน้อยลงและอายุพลังงานนานยิ่งขึ้น

3. การขยายความสามารถของระบบ internet ทั้งในเรื่องของความเร็ว ขอบเขตและประสิทธิผลของการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการขนส่ง การรักษาพยาบาล การพาณิชย์ผ่านทางระบบอิเลคโทรนิกส์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานทางศิลปและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี่การสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่จะพัฒนาพลังงาน การขนส่ง ความปลอดภัยจากแผ่นดินไหวการเกษตร สิ่งแวดล้อม การศึกษาและการรักษาพยาบาลคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้ รัฐแคลิฟอร์เนียจะมีภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยและพัฒนานวกรรมใหม่ๆเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น

รัฐอลาสก้า

รากฐานเศรษฐกิจดั่งเดิมที่สำคัญของรัฐอลาสก้ามาจากทรัพยากรธรรมชาติคือ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การประมงและผลิตภัณฑ์ประมง และบริการด้านการก่อสร้างที่เป็น heavy constructions ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การประมงและป่าไม้ของรัฐอยู่ในสภาวะการณ์ถดถอย สาเหตุส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของประเทศต่างๆ ในเรื่องของการใช้พลังงาน แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศ และการทำเมืองแร่ กำลังมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆต่อเศรษฐกิจของรัฐ

ธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆที่กำลังเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของรัฐอลาสก้าคือภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เป็นการใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง ในระหว่างปี 2000 — 2005 อัตราการเติบโตของการจ้างงานในภาคเทคโนโลยี่ระดับสูงของรัฐอลาสก้าสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วสหรัฐฯร้อยละ 50 และอยู่ในอันดับที่เจ็ดของประเทศ นอกจากนี้รัฐอลาสก้ายังเป็นแหล่งอุปทานพลังงานความร้อนจากใต้ดิน- geothermal ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ประโยชน์มาก่อนจนกระทั่งในปี 2006 เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตพลังงานสะอาดจากความร้อนจากใต้ดินได้เกิดขึ้นในรัฐและมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

รัฐอริโซน่า

พื้นฐานดั้งเดิมของเศรษฐกิจของรัฐอริโซน่าอยู่บนธุรกิจบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ อุตสาหกรรมภาพยนต์ (สถานที่ถ่ายทำภาพยนต์) และการท่องเที่ยวปัจจุบันอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยี่ระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับโรงงานผลิตสินค้ากำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของมลรัฐ ในปี 2007 ร้อยละ 11 ของบริษัทธุรกิจในรัฐทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี่ระดับสูง อุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญสูงสุดของรัฐฯในขณะนี้คือ

1. อุตสาหกรรมการผลิตอากาศยาน เมือง Phoenix ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวม Aerospace Technology ของรัฐ โรงงานผลิตสำคัญๆที่ตั้งอยู่ในรัฐได้แก่โรงงานผลิตของบริษัท Raytheon Missile Systems (www.raytheon.com), Honeywell Aerospace (www.honeywell.com) , Boeing (www.boeing.com) และ Northrop Grumman (www.northropgrumman.com)

2. อุตสาหกรรมการผลิต semiconductor & electronics รัฐอริโซน่าเป็นที่ตั้งโรงงานผลิต semiconductor ของบริษัท Intel Corporation (www.intel.com) , Motorola (www.motorola.com), Freescale Semiconductor (www.freescale.com) , Microchip Technology (www.microchip.com) และ On Semiconductor (www.onsemi.com)

อุตสาหกรรมใหม่ๆที่กำลังเกิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในรัฐเป็นนวกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับ Bioscience, Bioindustries, Optics และ Nanotechnologies

รัฐนิวแม็กซิโก

ฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมของรัฐนิวเม็กซิโกมาจากแร่ธาตุธรรมชาติ การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐบาล (ฐานทัพ ศูนย์วิจัยด้านการทหาร ฯลฯ) ปัจจุบันรัฐนิวแม็กซิโกกำลังมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ผ่านทาง

1. การสร้างนวกรรมพลังงานบริสุทธิ — Pure Energy Innovation โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม biofuels ปัจจุบันรัฐนิวแม็กซิโกเป็นแหล่งธุรกิจการผลิตเชื้อเพลิงจากสาหร่าย (algae) ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ นอกจากนี้รัฐนิวแม็กซิโกยังได้จัดตั้ง Green Jobs Cabinet ทำหน้าที่วางนโยบายและกลยุทธเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ clean technology เป้าหมายของรัฐ คือ

เป้าหมายที่ 1 สร้างรัฐนิวแม็กซิโกให้เป็นผู้นำด้านการส่งออก renewable energy และ renewable energy products ที่เป็นทั้ง electricity และ biofuels

เป้าหมายที่ 2 สร้างรัฐนิวแม็กซิโกให้เป็น Center of North American Solar Industry หรือ Solar Valley ของสหรัฐฯ

เป้าหมายที่ 3 สร้างรัฐนิวแม็กซิโกให้เป็นผู้นำของประเทศในเรื่อง Green Grid Innovation

เป้าหมายที่ 4 สร้างรัฐนิวแม็กซิโกให้เป็น Center of Excellence for Green Building and Energy Efficiency

เป้าหมายที่ 5 สร้างแรงงานที่เป็นแรงงานฝีมือชั้นสูงที่พร้อมจะทำงาน

2. รัฐนิวแม็กซิโกได้มองเห็นศักยภาพที่ดีมากในอนาคตอันใกล้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปในอวกาศ จึงได้ดำเนินการต่างๆที่จะสร้างรัฐนิวแม็กซิโกให้เป็นที่ตั้งสถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์ของสหรัฐฯ (American spaceport) และพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปในอวกาศขึ้นในรัฐ ในปี 2006 รัฐนิวแม็กซิโกได้ออกกฎหมายให้มีการจัดตั้งสถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์ — commercial spaceport เป็นแห่งแรกของโลก พร้อมเผยโฉมโลโก้และแบรนด์ “Spaceport America” และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง Southwest Regional Spaceport ขึ้นที่เมือง Las Cruces ภาคธุรกิจเอกชนที่ให้การสนับสนุนรัฐแม็กซิโกเป็นฐานอุตสาหกรรมการพาณิชย์ด้านอวกาศแล้วคือบริษัท Virgin Galactic (www.virgingalactic.com — บริษัททำธุรกิจเน้นการเดินทางไปในอวกาศ)

ซึ่งเข้าไปเปิดสำนักงานใหญ่ขึ้นในรัฐนิวแม็กซิโก และ X Prize Foundation (www.xprize.org —องค์กรไม่หวังผลกำไรที่สนับสนุนการสร้างนวกรรมใหม่ๆสำหรับมนุษยชาติ) ใช้รัฐนิวแม็กซิโกเป็นสถานที่จัดงาน X Prize Cup ซึ่งเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไปในอวกาศ (X Prize Cup space flight exhibition) เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2005

รัฐเนวาด้า

รากฐานของเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐเนวาด้ามาจากผลิตภัณฑ์หนังและที่เกี่ยวข้องกับหนัง บริการการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ การท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพนัน การขนส่งและโลจิสติกส์

ภาคอุตสาหกรรมอื่นที่กำลังเกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็วคือ renewable energy รัฐเนวาด้าเป็นรัฐที่สามารถผลิตพลังงานความร้อนจากใต้พื้นดินได้มากที่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐฯรองจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และกำลังพัฒนาตัวเองเข้าไปสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานจากแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทธุรกิจที่เป็นผู้นำในเรื่อง lithium power คือบริษัท Western Lithium Corporation (www.westernlithium.com) และบริษัท Altairnano (www.altairnano.com ) และเป็นที่ตั้งของบริษัทที่ทำ hydrogen fuel storage systems

รัฐวอชิงตัน

รากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐวอชิงตันมาจาก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอากาศยานและการป้องกันประเทศ การประมงและสินค้าอาหารทะเล การเกษตร การท่องเที่ยว และเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิเคราะห์วิจัยต่างๆ ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่หนาแน่นในเขต Seattle-Bellevue- Everett ในขณะที่เมือง Seattle, Tacoma, Olympia เป็นแหล่งรวมนวกรรมใหม่ๆด้าน Information Technology และ Aerospace

ปัจจุบันฐานเศรษฐกิจของรัฐวอชิงตันกำลังเปลี่ยนรูปไป อุตสาหกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานและการเกษตรเริ่มชะลอตัวลง ภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วได้แก่

1. กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยี่ระดับสูงกำลังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบ internet (telecommunications & internet service providers, internet publishing/broadcasting ฯลฯ) การให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ และ คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่อง personal computers

2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เป็น biotechnology/biomedical มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ

รัฐโอเรกอน

รากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญสูงสุดของรัฐโอเรกอนมาจากผลิตผลทางการเกษตรและผลิตผลจากป่าไม้ ปัจจุบันแม้ว่ารายได้ที่มาจากผลผลิตจากป่าไม้จะยังคงเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐแต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญสูงสุดอีกต่อไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการแข่งขันของสินค้าทำเทียมไม้ที่มาทดแทนสินค้าไม้แท้ๆและมีราคาถูกกว่าไม้แท้ๆ อุตสาหกรรมใหม่ๆที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัฐแทนที่อุตสาหกรรมป่าไม้คืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี่ระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิต semiconductor

ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจรัฐโอเรกอนในปัจจุบันเรียงตามลำดับความสำคัญคือ

1. เทคโนโลยี่ระดับสูง (เกินกว่าร้อยละ 10 ของผลผลิต semiconductor ของสหรัฐฯมาจากรัฐโอเรกอน)

2. ผลิตภัณฑ์ป่าไม้

3. การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่ง (รถขนส่ง ชิ้นส่วนอากาศยาน) เครื่องจักรและโลหะต่างๆ (อลูมินั่ม) โอเรกอนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตโลหะที่สำคัญสูงสุดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ

4. ผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตอาหาร

5. เทคโนโลยี่สะอาด — clean technology รัฐโอเรกอนกำลังเข้าสู่การเป็นผู้นำในเรื่องของการออกแบบและการให้บริการ green building และโรงงานผลิต solar panel

รัฐเท็กซัส

รากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐเท็กซัสมาจาก น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เคมี บริการการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้รวมตัวกันอยู่หนาแน่นในเมือง Houston การสร้างเศรษฐกิจแนวใหม่ของรัฐเท็กซัสเริ่มต้นในปี 2004 โดยการจัดทำ Industry Cluster Initiative เน้นการสร้างแหล่งรวมของอุตสาหกรรม 6 ชนิดขึ้นในรัฐที่เชื่อว่าจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของรัฐและของสหรัฐฯในศตวรรษที่ 21 อุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ได้แก่

1. เทคโนโลยี่ก้าวหน้าและระบบการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี่ก้าวหน้า (ก) nanotechnology & Materials (ข) Micro-electromechanical systems (ค) Semiconductor Manufacturing และ (ง) Automotive Manufacturing แหล่งรวมหนาแน่นของอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ Dallas/Fort Worth, Houston and Bay Area, Austin และ San Antonio

2. อุตสาหกรรมด้านอากาศยานและการป้องกันประเทศ แหล่งรวมหนาแน่นอยู่ในพื้นที่ Dallas-Fort Worth Metroplex

3. biotechnology และ life sciences ในระหว่างปี 2000 — 2005 อุตสาหกรรม biotechnology ของรัฐขยายตัวร้อยละ 149 แหล่งรวมอุตสาหกรรมหนาแน่นอยู่ที่เมือง Houston และ Dallas

4. เทคโนโลยี่ข้อมูลข่าวสารและคอมพิวเตอร์ (ก) Communications Equipment (ข) Computing Equipment and Semiconductors (ค) Information Technology

  • รัฐเท็กซัสเป็นแหล่งรวมบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์และวิดิโอเกมส์ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของสหรัฐฯที่เรียงตามลำดับได้ดังนี้คือ แคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน เท็กซัส นิวยอร์ค และแมสซาจูเซท
  • เมือง Austin, Dallas และ Fort Worth เป็นแหล่งรวมหนาแน่นอุตสาหกรรม Semiconductors ของรัฐ

5. การกลั่นปิโตรเลียมและการผลิตเคมีภัณฑ์

6. พลังงาน (ก) Oil and Gas Production (ข) Electric/coal/ Nuclear Power/Renewable & Sustainable Generation and Transmission (ค) Manufactured Energy Systems

รัฐโคโลราโด

รากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐโคโลราโด มาจากสินค้าเครื่องหนัง และอุปกรณ์กีฬาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ อากาศยานและการป้องกันประเทศ ทั้งหมดนี้รวมตัวกันอยู่หนาแน่นในเมือง Denver

อุตสาหกรรมที่เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐในปัจจุบันได้แก่

1. อุตสาหกรรม Information Technology เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของรัฐในปัจจุบัน เกินกว่าครึ่งของธุรกิจเทคโนโลยี่ชั้นสูงของรัฐเป็นธุรกิจ ซอฟแวร์ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่กำลังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากที่สุด

2. อุตสาหกรรม biosciences ในระหว่างปี 2001-2006 ภาคอุตสาหกรรมนี้ของรัฐโคโลราโดมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.5 จำนวนธุรกิจขยายตัวร้อยละ 28 สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของสหรัฐฯที่มีอัตราร้อยละ 16

อุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเป็นฐานเศรษฐกิจแบบใหม่ที่รัฐโคโลราโดกำลังสร้างขึ้นเพิ่มเติมจะเน้นไปที่ New Energy Economy คือ

1. พลังงานลม รัฐโคโลราโดเป็นแหล่งพลังงานลมติดอันดับที่ 11 ของสหรัฐฯ

2. พลังงานแสงแดด รัฐโคโลราโดเป็นแหล่งพลังงานแสงแดดติดอันดับที่ 6 ของสหรัฐฯ

3. biofuels รัฐโคโลราโดมีโรงงานผลิต ethanol ห้าโรงงานและและมีสถานีเชื้อเพลิง biodiesel มากกว่าร้อยสถานี

รัฐไอดาโฮ

รากฐานเศรษฐกิจดั้งเดิมที่สำคัญของรัฐไอดาโฮมาจากผลิตผลทางการเกษตร เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ และ prefabricated enclosures

ฐานเศรษฐกิจของรัฐไอดาโฮปัจจุบันเปลี่ยนไปคือภาคอุตสาหกรรมที่เป็นนวกรรมใหม่ innovation industries มีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของรัฐมากกว่าภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิมของรัฐรวมกัน มีประมาณการณ์ว่า innovation industries ของรัฐไอดาโฮมีมูลค่าประมาณ 8.5 พันล้านเหรียญฯ และกระทรวงแรงงานสหรัฐฯระบุว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงของรัฐไอดาโฮสูงมีจำนวนสูงติดอันดับที่ 23 ของประเทศสหรัฐฯ เมือง Boise เป็นแหล่งรวมหนาแน่นของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยี่ระดับสูงเหล่านี้

นวตกรรมที่เป็นเทคโนโลยี่ก้าวหน้าของรัฐไอดาโฮได้แก่

1. Communication Technology ที่รวมถึงการผลิต semiconductors, computer hardware, electronic และการให้บริการการสื่อสารผ่านทางระบบเทคโนโลยี่ชั้นสูงต่างๆทุกชนิด

2. digital imaging & sensor technology power & energy

3. agricultural/biological sciences

4. software technology

5. new materials & nanotechnology เมือง Boise รัฐไอดาโฮเป็นที่ตั้งของบริษัท Micron Technology Inc. (www.micron.com) บริษัทผลิต memory chip ที่ใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นบริษัทเดียวที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ

รัฐยูท่าห์

นโยบายในการสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ของรัฐยูท่าห์เน้นไปที่การสร้างแหล่งรวมเศรษฐกิจ(economic clusters) ให้เกิดขึ้นในรัฐ วิธีดำเนินการก็คือสร้างภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆให้เกิดขึ้นและรวมตัวกันหนาแน่นในรัฐเพราะเชื่อมั่นว่าแหล่งรวมเศรษฐกิจจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจของรัฐ ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐ ได้แก่

1. Aerospace & Aviation ที่รวมถึงการออกแบบ การสร้าง และการซ่อมแซมบำรุงรักษาอากาศยาน ระบบซอฟแวร์ การควบคุม และการเป็นศูนย์บริการด้านการบินพาณิชย์ รัฐยูท่าห์นอกจากจะเป็นรัฐหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศสหรัฐฯแล้วยังเป็นแหล่งที่ตั้งของบริษัทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นจำนวนมาก

2. ภาคอุตสาหกรรม life science กว่า 4,300 บริษัท ร้อยละ 70 ของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินโลหิต (arterial & vascular access devices) ที่ใช้กันทั่วโลกผลิตที่รัฐยูท่าห์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและผลิตยาที่สำคัญสูงสุดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ

3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา software และ Information Technology ในระหว่างปี 2004 — 2005 อุตสาหกรรมนี้ของรัฐยูท่าห์มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันของรัฐอริโซน่า แคลิฟอร์เนียโคโลราโด วอชิงตัน และสูงกว่าอัตราเติบโตเฉลี่ยรวมทั้งสิ้นของประเทศสหรัฐฯ บริษัทธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ของรัฐรวมตัวกันหนาแน่นในเขต Salt Lake City County บริษัทธุรกิจสำคัญของสหรัฐฯที่มีสำนักงานใหญ่ในรัฐยูท่าห์คือ WordPerfect, Novell (www.novell.com) , Lomega (www.go.iomega.com) และ Overstock.com ธุรกิจค้าปลีกในรูปของ outlet mall บน internet ที่เป็นผู้ริเริ่มการค้าปลีกในลักษณะ internet outlet mall

4. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬากลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาฤดูหนาว และการไต่เขา อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของรัฐที่เอื้ออำนวยต่อโอกาสและการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าว

รัฐไวโอมิ่ง

ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของรัฐไวโอมิ่งมีอยู่ไม่กี่ชนิด เศรษฐกิจของรัฐไวโอมิ่งอยู่บน 3 ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้นคือ

1. การทำเหมืองแร่ (ถ่านหิน น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ยูเรเนียม และ โทรนา — โซเดียมคาร์บอนเนต) อุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญสูงสุดของรัฐ หนึ่งในสามของรายได้ของรัฐและการขยายตัวของแรงงานมาจากอุตสาหกรรมนี้

2. การท่องเที่ยว

3. การเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของมลรัฐลดลงเรื่อยๆ

รัฐไวโอมิ่งกำลังพยายามหาทางเพิ่มอุตสาหกรรมต่างๆให้มากยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจของมลรัฐ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ

รัฐมอนตาน่า

ฐานรากดั่งเดิมของเศรษฐกิจของรัฐมาจาก

1. การท่องเที่ยว

2. การเกษตร ทำรายได้ให้แก่รัฐปีละกว่า 2 พันล้านเหรียญฯ หนึ่งในห้าของแรงงานของรัฐอยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตรและที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

3. ทรัพยากรธรรมชาติ (ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากป่า แร่ธาตุ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ) อุตสาหกรรมต่างๆข้างต้นยังคงเป็นฐานสำคัญของเศรษฐกิจของรัฐต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดีรัฐมอนตาน่ากำลังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้นสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆขึ้นโดยคาดหวังว่าจะเป็นฐานเพิ่มเติมในการสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ให้แก่รัฐในอนาคต คือ

1. การผลิต ethanol และ biofuels พลังงานลม และ การเกษตรท่องเที่ยว (agri-tourism)

2. Aerospace

3. Biotechnology

4. Health Care

5. เทคโนโลยี่ระดับสูง ส่วนใหญ่เป็นด้านการสื่อสารและการบริการ software

แหล่งที่มาข้อมูล

1. Cluster Mapping Project, Institute for Strategy and Competitiveness, Harvard Business School

2. USA Today: California leads with 36% growth in ‘green’ jobs

3. Global Intellectual Property Center

4. Eller College of Management, The University of Arizona, “Arizona’s Economy”

5. New Mexico Economic Development, “Green Economy Overview”

6. A Technology Alliance Report “The Economic Impact of Technology-Based Industries in Washington State” by William B. Beyers, Department of Geography, University of Washington

7. Colorado’s Technology Association: State of the Industry: Technology in Colorado

8. Idaho Department of Commerce

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ