รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 24, 2010 15:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. ผลผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.4 ในเดือนมกราคม 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หากไม่นับรวม Biomedical การขยายตัวเป็นร้อยละ 36.2 ซึ่งผลผลิตของกลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 80.6 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั่วโลกในสินค้า Chips ที่ใช้ใน Consumer Electronics ซึ่งขยายตัวร้อยละ 90.8, กลุ่ม Semiconductors ขยายตัวร้อยละ 105.0 นอกจากนี้ กลุ่มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Biomedical (ร้อยละ 48.4), Pharmaceuticals (ร้อยละ 51.1), Medical Technology (ร้อยละ 12), Precision Engineering (ร้อยละ 37.4), General Manufacturing (ร้อยละ 20.2), Chemicals (ร้อยละ 17.8) และ Transport Engineering (ร้อยละ 13.4)

2. ธุรกิจภาคการผลิตจะดีขึ้นในครึ่งปีแรกของ 2553 การคาดหวังในด้านธุรกิจภาคการผลิต ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2553 ซึ่งคาดว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2553 จากการสำรวจล่าสุด ปรากฎว่า ร้อยละ 21 คาดว่าสภาวะธุรกิจจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 คาดว่า จะหดตัวลง ในภาพรวม การขยายตัวทางด้านการผลิตจะดีขึ้นหากเทียบกับสภาวะเมื่อช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ Precision Engineering และ Transport Engineering ทั้งนี้ คาดว่า ผลการผลิตในไตรมาสแรกของปี 2553 จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Biomedical, Chemicals และ Precision Engineering ยกเว้นกลุ่มปิโตรเลียม

3. แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะคงที่ การคาดการณ์ด้านแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 คาดว่า จะคงที่ การจ้างงานในภาคนี้ คาดว่า เป็นร้อยละ 86 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (มีระดับเท่ากับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553) กลุ่มที่จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ Chemical และ Pricision Engineering ส่วนกลุ่ม Transport Engineering และกลุ่มการผลิตสินค้าทั่วไป จะมีการจ้างงานน้อยลง

4. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนมกราคม 2553 การค้ารวมขยายตัวร้อยละ 33 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) การส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 37 และการนำเข้ารวมขยายตัวร้อยละ 29 โดยการส่งออก Non-Oil Domestic Export (NODX) ขยายตัวร้อยละ 21 เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศ เพิ่มขึ้นทั้งสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ (+ร้อยละ 23) และสินค้าอื่นๆทั่วไป(+ร้อยละ 20) ซึ่งส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76, 97 และ 104 ตามลำดับ การส่งออกสินค้าน้ำมันที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 64 ซึ่งส่งออกมากไปยังมาเลเซีย(+ร้อยละ 201), ปานามา(+ร้อยละ 112), และจีน(+ร้อยละ 174) ส่วนการส่งออกต่อสินค้าทั่วไป(ไม่รวมน้ำมัน) ขยายตัวร้อยละ 31 ทั้งนี้ การส่งออก NODX ไปยังประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ Parts of PCs (+75%), ICs (+79%), Diodes & Transistors (+85%), Disk media products (+87%), Petrochemicals (+120%) และ Primary Chemicals (+83%) ส่วนการส่งออก NODX ไปยังตลาดใหม่ (อินโดจีน เอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา คาริบเบียน ยุโรปตะวันออก และอัฟริกาเหนือและใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

5. การจ้างงานขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่ม Infocomm (เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้อินเทอร์เน็ทของสิงคโปร์) ในปี 2552 มีการจ้างงาน 140,800 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.3 ซึ่งมีการจ้างงาน 139,000 คน ทั้งนี้ ขอบเขตที่จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ Software development, Digital Media and Animation และ Research & Development อีกทั้งภาครัฐมีแผนการให้สิงคโปร์เป็น Pro-ICT (Information and Communications Technologies) และ Pro-Business Environment โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเศรษฐกิจที่ได้ระดับมาตรฐานโลก และมี ประสิทธิภาพ อนึ่ง ครอบครัวในสิงคโปร์ร้อยละ 81 มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ท ร้อยละ 90 ใช้ระบบ broadband และร้อยละ 83 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

6. การท่าเรือสิงคโปร์มีการขยายตัว ในเดือนมกราคม 2553 การท่าเรือสิงคโปร์ มีการขยายตัวร้อยละ 18 เป็นจำนวน 2.33 million standard containers การขยายตัวสูงมาจากกิจการของ PSA Corp มีปริมาณ 2.26 million twenty foot equivalent units (TEUs) และ Jurong Port ปริมาณ 72,000 TEUs

7. สิงคโปร์มีแผนการใช้ Nuclear Energy เป็นตัวเลือกด้านพลังงาน แต่ทั้งนี้ International Atomic Energy Agency (IAEA), United Nations คาดว่า จะเป็น “100-year-long-commitment” เนื่องจากจะต้องผ่านขั้นตอนการขออนุมัติ(อย่างน้อย 15 ปี)จากรัฐบาลสำหรับ Nuclear Programme ในการเริ่มต้น Power Generation และตามด้วยระบบการจัดการความปลอดภัยของระดับ radioactive waste จากโรงงาน นิวเคลียร์ ซึ่งจะใช้เวลาอีกหลายสิบปี การสร้างโรงงานนิวเคลียร์ต้องใช้เวลาเตรียมการอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานจะประกอบด้วยระบบต่างๆ ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบ เทคโนโลยี การสนับสนุนด้านมนุษยชนและอุตสาหกรรมเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย สิงคโปร์เป็นประเทศ 1 ใน 60 ประเทศที่จะรวมระบบพลังงานนิวเคลียร์เข้าไว้ในแผนงานพลังงานแห่งชาติ ทั้งนี้ ประมาณ 35 ประเทศในเอเชีย อัฟริกาและอเมริกาใต้กำลังพิจารณาหรือได้เปิดตัวโปรแกรมพลังงานนิวเคลียร์ ประมาณ 20 ประเทศอาจจะมี reactors ทำงานภายในปี 2573 และประมาณอีก 31 ประเทศมีพลังงานใช้บางส่วนมาจากพลังงานนิวเคลียร์ สำหรับสิงคโปร์ความต้องการพลังงานสูงสุดประมาณ 6,000 megawatts ดังนั้น สิงคโปร์อาจจะรอจนกว่าจะมี reactor ขนาดเล็กและทันสมัยกว่า เพื่อลดปัญหาการหาพื้นที่สร้างที่เหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายในการสร้าง และลดปริมาณของสิ่งปฏิกูล ทั้งนี้ สิงคโปร์อาจเลือกที่จะสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย reactor เองซึ่งจะได้รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ และส่งผลไปยังการค้นคว้าวิจัยด้าน nuclear medicine ต่อไป

8. สรุปการคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
    ประเทศ        การเจริญเติบโต     คาดการณ์      มูลค่าการลงทุนของต่างชาติ:FDI  (ปี)     อัตราการว่างงาน (ปี)
                     ปี 2552         ปี 2553
จีน                    8.70%         10-11%       90.03 billion yean (’52)             4.3% (’52)
ฮ่องกง                -2.70%           4-5%       US$ 63 billion (’51)                 5.9% (’52 E)
อินเดีย                 7.20%          8.50%       US$ 33 billion (’52)                  6.8 **
อินโดนีเซีย              4.50%          5.50%       US$ 14 billion (’52)                  8.1% (’51)
ญี่ปุ่น                  -5.00%          1.60%       18.5 trillion yen (’51)               5.1% (’52)
มาเลเซีย              -1.70%          5.00%       RM 22 billion (’52)                   3.6% (’52)
ฟิลิปปินส์                0.90%        2.6-3.6%      US$ 1.3 billion *                     7.5% (’52)
สิงคโปร์               -2.00%        4.5-6.5%      US$ 22.73 billion (’51)               2.1% (’52)
เกาหลีใต้               0.20%           5.00%      US$ 11.48 billion (’52)               4.1% (’52 E)
ไต้หวัน                -2.53%           4-5%       US$ 4.79 billion (’52)               5.85% (’52)
ไทย                  -2.30%           4-5%       US$ 10.09 billion (’51)               1.5% (’52)
*The figure totals the FDI into the Philippines from January to August 2009
9. งบประมาณปี 2553 ของสิงคโปร์ สรุปสาระ ดังนี้
- งบประมาณค่าใช้จ่าย
   กระทรวง/หน่วยงาน          งบประมาณ           กระทรวง/หน่วยงาน                          งบประมาณ
                        (พันล้านเหรียญสิงคโปร์)                                          (พันล้านเหรียญสิงคโปร์)
กลาโหม                        11.5            Information Communication and the Arts         1.0
ศึกษาธิการ                       9.7            แรงงาน                                         1.0
คมนาคม                         5.0            การคลัง                                         0.7
สาธารณสุข                       4.2            การต่างประเทศ                                   0.4
การค้าและอุตสาหกรรม              3.4            ยุติธรรม                                         0.3
มหาดไทย                        3.2            สำนักนายกรัฐมนตรี                                 0.3
National Development           2.5            Other Organs of State                          0.3
Community Development, Youth
  and Sports                   2.0            Special Transfers*                             5.2
Environment and Water Resources1.1            รวม  (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3)                         51.5**
*Top-ups to CPF Medisave accounts and Set up National Productivity Fund
(เงินเพิ่มบัญชีกองทุนเงินสะสมค่ารักษาพยาบาลและการจัดตั้งกองทุน National Productivity)
ที่มา : Ministry of Finance

- งบประมาณรายได้
         รายได้จาก              พันล้านเหรียญสิงคโปร์                  รายได้จาก                  พันล้านเหรียญสิงคโปร์
Net  Investment Income               7.8            Fees, Charges and Others                      2.3
Corporate Income Tax                 7.6            Customs and Excise Taxes                      2.2
Personal Income Tax                  7.0             Betting Taxes                                2.1
Goods and Services Tax               7.0             Motor Vehicle Taxes                          1.5
Assets Taxes                         2.7            Withholding Tax                               1.3
Stamp Duty                           2.7            Statutory Board’s Contributions               1.2
Other Taxes                          2.4            Vehicle Quota Premiums                        0.9
                                                    รวม   (เพิ่มขึ้นร้อยละ  6.5)                      48.6*

* มูลค่ารวมอาจไม่ตรงกับการบวกรวมของทุกรายการ เนื่องจากการปรับตัวเลขในบางรายการ

ที่มา : Ministry of Finance ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553

ข. การลงทุนในสิงคโปร์

1.ธนาคาร CibiBank ในสิงคโปร์ ได้ขยายกิจการ โดยในปี 2552 เปิดสาขาเพิ่มอีก 4 แห่ง และจัดตั้งตู้ ATMs อีก 50 ตู้ รวมเป็นสาขาทั้งหมด 26 แห่ง และตู้ ATMs จำนวน 220 ตู้ ทั่วสิงคโปร์

2.City Developments (CDL) เริ่มการสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ณ ถนน Beach ภายในปี 2554 ซึ่งโครงการนี้ จะเป็น “Environmental Filter” ประกอบด้วยสำนักงาน โรงแรม ร้านค้าปลีก และที่พักอาศัย ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2559

ค. การลงทุนในต่างประเทศ

1. คณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนซาอุดิอาระเบีย IE Singapore ได้นำคณะผู้แทนการค้าสินค้าการให้บริการสุขอนามัยของสิงคโปร์ 9 บริษัท เดินทางเยือน Riyadh และ Jeddah ในซาอุดิ อาระเบีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เพื่อให้บริษัทฯพิจารณาเข้าไปลงทุนด้านการบริการสุขอนามัยในซาอุดิ อาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดใน Gulf Cooperation Council (GCC) และเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ในปี 2552 การเจริญเติบโต GDP ร้อยละ 0.15 และคาดว่า ในปี 2553 จะมีการเจริญเติบโตร้อยละ 3 อีกทั้ง ภาครัฐได้ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยอย่างมาก โดยมูลค่าการบริการสุขอนามัยในปี 2552 เป็นเงิน 16.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 จากปีที่ผ่านมา (13.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และได้จัดสรรงบประมาณร้อยละ 10 (ประมาณ 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ของงบประมาณแผ่นดินรวม เพื่อใช้สำหรับการบริการด้านสุขอนามัยและการพัฒนาสังคม อนึ่ง จำนวนโรงพยาบาลในซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้นจาก 314 แห่งในปี 2544 เป็น 400 แห่งในปี 2552 และมีแผนการจะเพิ่มเป็น 500 แห่งในปี 2556 การเจริญเติบโตของประชากรร้อยละ 2.4 ต่อปี เทียบกับอัตราเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกที่มีการเจริญเติบโตร้อยละ 1.17 ส่งผลให้มีความต้องการด้านสุขอนามัยในซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้น ดังนั้น สิงคโปร์มีความสามารถในการขยายธุรกิจด้านการให้บริการสุขอนามัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย บุคคลกรมีความชำนาญพิเศษ รวมถึงมีระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด

2. การลงทุนของ Changi Airports International (CAI) สิงคโปร์ โดยได้จัดซื้อหุ้นร้อยละ 5 ของบริษัท Gemina (Holding company of Aeroporti di Roma : AdR) ผู้ดำเนินการสนามบินใหญ่ที่สุดในกรุงโรม เป็นมูลค่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ นับเป็นครั้งแรกที่ CAI ลงทุนในยุโรปและจะดำเนินการด้านการพัฒนาและขยาย AdR รวมถึงช่วยในระบบการจัดการ ที่สนามบิน การพัฒนาธุรกิจและการวางแผนสำคัญๆ ทั้งนี้ การลงทุนของ CAI ในประเทศอื่นๆ ได้แก่ 1) Bengal Aerotropolis Projects ถือหุ้นร้อยละ 26 มูลค่า 28 ล้านเหรียญสิงคโปร์ 2) Shenzhen Airport Group เข้าร่วมเป็นคู่ค้าในปี 2550 เพื่อพัฒนาสนามบินภูมิภาคของจีน (ไม่เปิดเผยมูลค่า) 3) Beijing Capital International Airport เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ (ไม่เปิดเผยมูลค่า) และ 4) China-Singapore Sirport Management Academy จัดสร้างศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินร่วมกับ Xiamen International Airport Group ในเดือนพฤศจิกายน 2546 (ไม่เปิดเผยมูลค่า)

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์และ European Union จะเริ่มหารือกันเกี่ยวกับ Free Trade Agreement (FTA) ซึ่งการหารือรอบแรกระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2553 โดย Mr. Ng Bee Kim, MTI Director-General เป็นหัวหน้า (ทั้งนี้ เป็นบุคคลสำคัญในการหารือ FTA ระหว่างสิงคโปร์กับไอซ์แลนด์ Liechtenstein นอรเวย์ และสวิสเซอร์แลนด์) คาดว่า การหารือจะได้รับผลสำเร็จด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสิงคโปร์จะต้องเผชิญกับการต่อรองจากทุกประเทศในกลุ่ม EU ทั้งนี้ การค้าระหว่างสิงคโปร์กับ EU ในปี 2552 มีมูลค่า 86.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ EU เป็นประเทศคู่ค้าส่งออกอันดับที่ 15 ของสิงคโปร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครื่องบิน

2. สิงคโปร์และอิยิปต์ ได้มีการหารือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน และมีข้อตกลง Comprehensive Economic Cooperation Agreement (CECA) ซึ่งคาดว่า จะมีการลงนามกันภายใน 18 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ จะจัดให้มี free trade plus ที่สามารถส่งเสริมด้าน Investment flows and cover trade และ Investment and technical cooperation ซึ่งในปัจจุบัน สิงคโปร์ได้เข้าไปลงทุนในอิยิปต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 เทียบกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาโดยมีบริษัทสิงคโปร์ประมาณ 33 ราย ได้จัดตั้งธุรกิจในอิยิปต์ ได้แก่ Singapore Airlines, BreadTalk, Charles and Keith, Sembcorp และ Hyflux เป็นต้น อิยิปต์เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 66 ของสิงคโปร์ การค้ารวมมีมูลค่า 28.19 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ในปี 2552 อิยิปต์มีการเจริญเติบโตเศรษฐกิจร้อยละ 4.7 มีเงินลงทุนจากต่างชาติ 11.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ คาดว่า การเจริญเติบโตเศรษฐกิจในปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 5-5.5

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคม 2553

1. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ นำคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์จำนวน 10 ราย เยือนงานงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ระหว่างวันที่ 26 ก.พ.-2 มี.ค. 2553

2. อำนวยความสะดวกนำรองอธิบดีและคณะข้าราชการกรมพัฒนาธุรกิจการค้าศึกษาดูงานการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจการค้าในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม 2553

3. ประสานจัดส่งรายชื่อคณะนักธุรกิจสิงคโปร์จำนวน 12 ราย เยือนงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (TIFF 2010) ระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2553

4. ติดต่อประสานงานให้คณะของคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎรศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบสินค้าเกษตรในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2553

5. ประสานขออนุมัติโครงการนำคณะผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์จำนวน 9 ราย เยือนประเทศไทย (นครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุง) ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2553

6. ประสานงานกับ Taff เพื่อเชิญบริษัทสิงคโปร์นำสินค้าจัดแสดงใน Singapore Pavilion งาน BIFF & BIL 10 (1-4 เมย.53)

7. เชิญผู้นำเข้าสิงคโปร์เข้าชมงาน BIFF & BIL 10 (1-4 เมย.53)

8. ประสานขออนุมัติโครงการนำคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์สินค้าของขวัญและของชำร่วย จำนวน 10 ราย เยือนประเทศไทย(เชียงใหม่) ระหว่างวันที่ 3-7 เมย. 53

9. เชิญผู้นำเข้าสิงคโปร์เข้าชมงาน BIG & BIH 10 (20-25 เมย.53)

10. ประสานขออนุมัติเชิญสื่อมวลชน Mr. Toh Yong King, Jackson, Editor นิตยสาร Wheels Asia เยือนงานแสดงสินค้า TAPA 2010 ระหว่างวันที่ 26-30 เมษายน 2553

11. ประสานงานกรมฯ เรื่องข้อมูล Exhibitors สิงคโปร์ จำนวน 3 บริษัท เข้าร่วมงาน TAPA 2010 ภายใต้ Singapore Pavilion (ASEAN) (28 เมย.-2 พค.53)

12. ประสานงานเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงานแสดงสินค้า TAPA 2010 (28-30 เมย.-2 พค.53)

13. ติดต่อประสานงานเพื่อคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์เยือนสิงคโปร์ พบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสิงคโปร์ (ร่างแผนการคณะฯเยือนสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29 เมย.- 3 พค.53)

14. ประสานข้อมูลรายละเอียดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในสิงคโปร์ (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 19-23 พค.53)

15. ประสานงานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ