ตลาดสินค้าปลากระป๋องในอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 7, 2010 16:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์ทั่วไป

ชาวอิตาเลียนถือเป็นชนชาติที่รับประทานอาหารประเภทปลาคิดเป็นสัดส่วนน้อยที่สุดเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารประเภทปลาประมาณ 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือคิดเป็นประมาณ 23 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งนับว่าน้อย หากเทียบกับคุณค่าทางอาหารกับเนื้อชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น ยังนิยมบริโภคปลาสด (Non-processed fish) มากกว่า ด้วยประเทศอิตาลีอยู่ติดทะเล และมีอุตสาหกรรมอาหารทะเลขนาดใหญ่ทันสมัย จึงสามารถหาบริโภคได้ง่าย จะเห็นได้จากมูลค่าการนาเข้าปลาแปรรูปสู่ยุโรป ประเทศเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส นาเข้ามากตามลาดับ สาหรับอิตาลีและสเปนนั้นนิยมปลาสด (Tradition) มากกว่า

อย่างไรก็ตาม จากผลของเศรษฐกิจตกต่า ทาให้ผู้บริโภคใช้จ่ายโดยรวมลดลง ส่งผลกระทบถึง Sector ปลาด้วย แม้ว่าชาวอิตาเลียนจะมีแนวโน้มหันมารับประทานอาหารประเภทปลาเพิ่มขึ้น ทั้งจากเหตุผลทางสุขภาพและวิถีการดาเนินชีวิตเร่งรีบ แต่การใช้จ่ายของครอบครัวที่ระมัดระวังมากขึ้น ทาให้ภาพรวมการใช้จ่ายในการซื้อปลาลดลง โดยเฉพาะปลาสด ส่วนปลาแปรรูปนั้นมีแนวโน้มทรงตัว และเพิ่มขึ้นในบางเทศกาล

ภาพรวมอุตสาหกรรมปลากระป๋อง (รวมทั้งบรรจุขวดแก้ว)

ผู้ผลิตปลากระป๋องในอิตาลีมีประมาณ 200 ราย จ้างคนงาน 4,000 ราย มีมูลค่าการผลิตประมาณ 900 ล้านยูโร การบริโภคภายในประเทศ (ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายและร้านอาหารต่างๆ) คิดเป็นร้อยละ 42 ส่งออกร้อยละ 17 และนาเข้าร้อยละ 46

การบริโภคปลากระป๋องในอิตาลี
ในตลาดอิตาลี ปลากระป๋องส่วนใหญ่ทามาจากปลาทูน่า ปลา Anchovy และ แมคคาเรล เป็นที่รู้จักและบริโภคกันมากและมานานแล้วตั้งแต่อดีต บริโภคกันมากทั้งสดและบรรจุกระป๋อง ทั้งนี้ ทูน่าและแมคคาเรลยังเป็นหนึ่งในปลา 10 ชนิด ที่มีการจับมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในตลาดอิตาลียังนิยม ปลา Ghiaccio ปลา Swordfish ปลาซัลมอล ปลาซาดีน หอยลาย และอื่นๆ ซึ่งเก็บรักษาโดยใส่ในน้ามันโอลีฟ น้ามันพืชอื่นๆ น้าเกลือ น้าซอส และเกลือแห้ง เป็นต้น

ทั้งนี้ ตลาดในประเทศยังแบ่งการเลือกบริโภคสินค้าปลากระป๋องออกเป็นสินค้าระดับ premium และระดับ medium-low(หรือ Standard) อย่างชัดเจน โดยปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคสินค้าระดับ premium ซึ่งมักบรรจุในขวดแก้ว มีเพิ่มขึ้น แม้ปัจจุบันจะยังมีสัดส่วนการบริโภคประมาณร้อยละ 10 ทั้งนี้ ยี่ห้อที่จัดอยู่ในระดับ premium ได้แก่ As do mar , Consocio และ Callipo ซึ่ง differentiated ระดับสินค้าจากราคาจาหน่ายในตลาดอยู่แล้ว

การบริโภคปลากระป๋องในอิตาลีปี 2008 มีมูลค่า 1,390 ล้านยูโร ทั้งนี้ แบ่งการบริโภคตามชนิดของปลาดังนี้

ประเภทปลา           ร้อยละ
ปลาทูน่า                80
ปลา Anchovy            8
ปลาแมคคาเรล          4.5
ปลาแซลมอล            1.6
หอย                  1.5
ปลาซาร์ดีน             1.2
อื่นๆ                  3.2

ทั้งนี้ ปลาทูน่ากระป๋องนับเป็น Segment ที่มีความสาคัญที่สุดในตลาดปลากระป๋องในอิตาลีคิดเป็นร้อยละ 80 ในตลาด ครอบครัวอิตาเลียนบริโภคทูน่ากระป๋องประมาณ 3.15 กิโลกรัม/ปี/ครอบครัว หรือรวมประมาณ 62,000 ตัน/ปี

ทั้งนี้ การพิจารณาซื้อสินค้าโดยทั่วไป ผู้บริโภคจะพิจารณาซื้อสินค้าจากคุณภาพ ราคา ความสะดวก (Convenience) การจัดวางจาหน่ายบนชั้นวาง (availibility on shelves) และวิธีการนาไปประกอบอาหาร

ประเภทของผู้บริโภคในอิตาลี แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่คานึงถึงคุณภาพและรสชาติสินค้าในการนามาประกอบอาหาร กลุ่มนี้จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อดังๆ หรือสินค้าระดับ premium

2. กลุ่มที่สนใจสุขภาพ จะเลือกซื้อสินค้าธรรมชาติ (al naturale) ซึ่งจะพิจารณาเลือกซื้อสินค้าประเภทที่ให้คุณค่าทางอาหาร และ light

3. กลุ่มที่สนใจนาปลากระป๋องมาประกอบอาหาร กลุ่มนี้จะไม่สนใจรสชาติของสินค้าเท่าใดนักแต่จะคานึงถึงราคาเป็นสาคัญ ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อปลากระป๋องที่ผลิตภายใต้ private brands และสินค้าที่อยู่ในระหว่างโปรโมชั่น

4. กลุ่มที่คานึงถึงความสะดวกในการนาสินค้ามาประกอบอาหาร (Convenience) เพื่อประหยัดเวลาในการทาอาหาร โดยเฉพาะในวิถีชีวิตที่รีบเร่ง

การผลิต

อิตาลีรู้จักเทคนิคการเก็บรักษาปลาในน้ามันโอลีฟในระดับอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงมานานแล้ว จนกระทั่งปี 1878 ได้เผยแพร่เทคนิคดังกล่าวในประเทศสเปนและโปตุเกส เพราะประเทศอิตาลีอยู่ติดทะเลและได้เปรียบประเทศอื่นๆ ที่สามารถจับปลาสดในน่านน้าเมดิเตอเรเนียนที่อุดมสมบูรณ์ได้ปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม จากความต้องการบริโภคปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทาให้ปลาในน่านน้าเมดิเตอเรเนียนมีไม่เพียงพอกับความต้องการ อิตาลีจึงต้องนาเข้าปลาจากน่านน้าอื่นมากขึ้นในช่วงปีหลัง อันได้แก่ จากมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมาในรูปปลาแช่แข็ง ปลาที่นิยมมากที่สุด คือ ทูน่า

ปลาทูน่าที่เป็นที่นิยมมาแปรรูป ได้แก่ พันธุ์ Thunnus Albacares หรือ Yellow fin น้าหนักตัวประมาณ 40 กิโลกรัม

ส่วนพันธุ์ Thunnus thynnus หรือ Blue fin มีขนาดใหญ่ประมาณ 150 กิโลกรัม นิยมจับทานสด และส่วนใหญ่ส่งตลาดญี่ปุ่น เพื่อทำ Sashimi

สำหรับพันธุ์ทูน่าที่นิยมรองลงมาคือ Euthynnus pelamis หรือ skip-jack น้าหนักประมาณ 20 กิโลกรัมมีลักษณะท้องลายสังเกตง่าย มีรสชาดแรง เนื้อสีเข้มและออกขมเล็กน้อย

สำหรับปลาแมคคาเรลในประเทศอิตาลี พบได้ในชายฝั่งเมดิเตอเรเนียน เป็นที่นิยมมากเนื่องจากเนื้อนุ่มเป็นพิเศษและมีไขมันสูงที่สุดเทียบกับปลาในกลุ่มเดียวกัน(กลุ่มปลาสีน้าเงิน หรือ pesce azzurro ได้แก่ Tuna , Sardine, Anchovy , Herring และ Mackerel )

ประเทศผู้ผลิตปลาแปรรูปอันดับต้นๆ ในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอิตาลีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สามารถผลิตสินค้าปลาแปรรูป (conserved fish)ได้มูลค่าสูงสุดในอิตาลี คือ บริษัท BOLTON Alimentary S.p.A. ผู้ผลิตปลากระป๋องยี่ห้อ Rio mare , Palmera และ Alco ปี 2006 มีมูลค่าการจาหน่าย 700 ล้านยูโร ครองส่วนแบ่งปลากระป๋องในตลาดอิตาลีร้อยละ 40 สาหรับอันดับสองได้แก่ บริษัท Nostromo (เป็นส่วนหนึ่งของ Gruppo Calvo สัญชาติสเปน หนึ่งในผู้ผลิตปลาแปรรูปขนาดใหญ่ของโลก) ผู้ผลิตปลากระป๋องยี่ห้อ Nostromo ครองส่วนแบ่งปลากระป๋องในตลาดอิตาลีร้อยละ 10 อันดับ 3 และ 4 คือบริษัท STAR ผู้ผลิตปลากระป๋องยี่ห้อ MareAperto ครองส่วนแบ่งปลากระป๋องในตลาดอิตาลีร้อยละ 6 และบริษัท MAZZOLA IGINO SPA ผู้ผลิตปลากระป๋องยี่ห้อ MARUZZELLA ครองส่วนแบ่งปลากระป๋องในตลาดอิตาลีร้อยละ 5 ตามลาดับ

อิตาลีมีกาลังการผลิตสินค้าในหมวดดังกล่าว (HS1604 — ข้อมูลจาก WTA) ประมาณร้อยละ 64 เทียบกับความต้องการภายในประเทศ โดยส่งออกเพียงร้อยละ 17 ประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ในประเทศในอียู ได้แก่ กรีซ ฝรั่งเศส เยอรมัน สโลเวเนีย ออสเตรีย เป็นต้น และนาเข้าประมาณร้อยละ 47 ประเทศคู่ค้าสาคัญคือ สเปน เยอรมัน เอควาดอร์ และประเทศไทย

บริษัท BOLTON Alimentary S.p.A.

เดิมชื่อบริษัท Manzotin ตั้งขึ้นในปี 1951 โดยเริ่มจำหน่ายเนื้อวัวในวุ้นเจลาตินเป็นสินค้าเริ่มแรก หลังจากนั้นในปี 1960 กิจการของบริษัทขยายตัวมากจนกลายเป็นบริษัทจากัดมหาชน ในปี 1964 ได้เปลี่ยนมาผลิตปลาทูน่ากระป๋อง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Trinity Alimentari Italia S.p.A. สินค้าทูน่ากระป๋องยี่ห้อแรกของบริษัทคือ RIO MARE และกลายเป็นผู้นำด้านทูน่ากระป๋องทันที หลังจากนั้น บริษัทได้ผลิตสินค้าตัวใหม่อีกหลายตัวออกสู่ตลาดได้แก่ Tonno rio mare extravergine , Rio mare pate, Insalatissime , Rio mare profumi mediterranei , tuna without oil , tuna fillet , salmon with/without oil , mackerel with/without oil เป็นต้น

ปี 2003 Trinity Alimentari Italia S.p.A. ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Gruppo Bolton และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Bolton Alimentari S.p.A. และได้กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าปลากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีและครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศมากที่สุด คือ ร้อยละ 40 (บริษัท Nostromo ครองอันดับที่สองมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10 นอกนั้นเป็นบริษัทขนาดเล็กประมาณ 10 ราย แต่ละบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดน้อยและมุ่งทาเฉพาะตลาดบน (Niche market)

ช่องทางจำหน่าย

ในระยะหลังๆ มีการแข่งขันกันมากโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่กับร้าน discount-chain และ supermarket ต่างๆ ที่ผลิตสินค้าออกมาในลักษณะ mass tuna products ทั้งนี้ สินค้าร้อยละ 69 จาหน่ายโดย Supermarket , Ipermarket และ Minimart และมีสัดส่วนการวางจาหน่ายสินค้าดังกล่าวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังทาโปรโมชั่นในสินค้าดังกล่าวบ่อยและมากเกือบตลอดปี น่าสังเกตว่าตลาดปลากระป๋องไม่มีการ differentiation ระหว่างผลิตภัณฑ์มากนัก ทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายได้พยายามลองสร้างความต่างให้กันสินค้าตนโดยการแนะนำตำรับอาหารที่ใช้ปลา ใช้เกลือน้อยลง ระบุคุณค่าทางอาหารเพื่อดึงดูดใจ หรือการออกรูปแบบ packaging ใหม่ๆ การโฆษณาว่าสินค้ามีคุณภาพและดูแลสุขภาพ รูปแบบใหม่ๆ ที่สะดวกในการนำไปรับประทาน การลงทุนโฆษณาในสื่อต่างๆ (แบรนด์ที่ลงทุนมากที่สุดได้แก่ Rio mare และ Nostromo ) รวมทั้งการเน้นโยบายลดราคาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดในปีหลังๆ นี้ เป็นต้น

ช่องทางการจำหน่ายสินค้าปลาแปรรูปในกระป๋องที่สาคัญที่สุด คือ Modern distributors (Super&Hypermarket or GDA) มีสัดส่วนการวางจาหน่ายของปลาทูน่า แมคคาเรล และ ซัลมอล ร้อยละ 80%,10% และ 10% ตามลาดับ นอกจากนี้ ใน Modern distributors (GDA) ยังมีรายการโปรโมชั่นสินค้าในกลุ่มดังกล่าวบ่อยและมากเกือบตลอดปี (คิดเป็นร้อยละ 50 ของการจำหน่าย)

ประเภทสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาด แบ่งได้เป็น

1. ในน้ามัน (Sotto olio) 80%

2. ธรรมชาติ (Al Natural) 12%

3. อื่นๆ (Others) 8%

ทั้งนี้ สินค้าปลากระป๋อง
  • ในน้ามัน(sotto olio) ยังแบ่งเป็นระดับ premium มีจาหน่ายประมาณร้อยละ 10 , สินค้า mainstream (include private label) ร้อยละ 85 ,และสินค้าระดับล่างร้อยละ 5 โดยสินค้าระดับ premium และ mainstream มีแนวโน้มการเติบโตมากที่สุด
  • ส่วนสินค้าปลากระป๋องธรรมชาติ(Al naturale) มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว สาหรับกลุ่มลูกค้าที่ดูแลสุขภาพซึ่งมีจานวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ราคาขายปลีก

บรรจุภัณฑ์ในท้องตลาดมีขนาดหลากหลายตั้งแต่ 60,80,105,112,120,140,160,200,224,240,300, 320,480 กรัม และ 1 กิโลกรัม ยี่ห้อและราคาที่พบในท้องตลาด มีดังนี้

แนวโน้มสินค้าปลากระป๋อง

จากผลของเศรษฐกิจตกต่า ผู้บริโภคใช้จ่ายลดลง ตลาดสินค้าปลา (prodotti ittici) ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยมีการบริโภคโดยรวมลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าปลาสด เนื่องจากจับปลาได้น้อยลง นาเข้าลดลง และส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าในตลาดสินค้าปลา ยังมีกลุ่มสินค้าปลาแปรรูปที่มีแนวโน้มการบริโภคคงที่ในช่วงปีหลังหรือเพิ่มขึ้นในบางช่วง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสมาสต์

การนำเข้า-ส่งออก (HS1604)

การนำเข้า มูลค่าการนำเข้า อิตาลีนำเข้าปี 2009 คิดเป็นมูลค่า 785 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ 2.88 จากปี 2008

ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สเปน เยอรมัน เอควาดอร์ และประเทศไทย

หน่วย ล้านยูโร

No. Country           2007     2008     2009     Share     %09/08
1  Spain             207.8    219.5    205.4     26.18      -6.42
2  Germany            90.8    102.1     92.9     11.84      -9.02
3  Ecuador            58.5     60.4     67.8      8.64       12.2
4  Thailand           24.6     29.2     52.7      6.72      80.01
5  Cote d Ivoire      41.7     37.6     44.5      5.68       18.6
ที่มา WTA EuroStat


สินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทย ดังตาราง
                                                                                    หน่วย ล้านยูโร
HS Code      Description                  2007      2008       2009      Share       %09/08
1604       Prepared or preserved fish     24,6      29,2       52,7      87,43        80,01
160414     Tuna,Etc,Not Minced            19,9      23,7       46,2       87,7        94,93
160420     Fish, Other                     4,6       5,4        6,4      12,23         19,4
160415     Mackerel,Not Minced           0,004      0,07       0,01       0,03       -81,53
160419     Fish,Othr Whole,Pcs            0,03      0,08       0,01       0,02       -86,34
160413     Sardine,Etc,N Mince           0,009     0,008      0,009       0,02          7,9
ที่มา WTA EuroStat

การส่งออก มูลค่าการส่งออก อิตาลีส่งออกปี 2009 คิดเป็นมูลค่า 143.1 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ 2 จากปี 2008
                                                                                     หน่วย ล้านยูโร
HS Code           Description            2007        2008        2009        Share        %09/08
1604       Prepared or preserved fish   142.3       146.1        143.1       23.29         -2.03
160414     Tuna,Etc,Not Minced           91.2        94.3         93.7        65.5         -0.61
160416     Anchovie,Not Minced           16.4        16.2         16.4        11.5          1.44
160420     Fish, Other                   13.9        15.4         14.4       10.09          -6.7
160430     Caviar,Caviar Subst           12.1         9.8          9.5        6.64          -3.2
160413     Sardine,Etc,N Mince            3.0         3.6          3.5        2.47         -3.71
160411     Salmon, Whole,Piece            2.3         3.7          2.6        1.84        -30.08
160419     Fish,Othr Whole,Pcs            2.0         1.5          1.4         1.0         -7.87
160415     Mackerel,Not Minced            0.6         0.8          0.8        0.57         -5.63
160412     Herring,Whole,Piece            0.4         0.3          0.5        0.39         42.84
ที่มา WTA EuroStat


ประเทศคู่ค้าสาคัญ ได้แก่ กรีซ ฝรั่งเศส เยอรมัน สโลเวเนีย และ ออสเตรีย
                                                       หน่วย ล้านยูโร
No. Country        2007     2008      2009     Share      %09/08
1  Greece          20.2     22.1      23.1     16.15        4.58
2  France          19.5     21.5      19.6     13.72       -8.69
3  Germany         17.6     16.2      14.6     10.25       -9.59
4  Slovenia         7.8      8.0       8.8      6.21       10.12
5  Austria          8.3      8.2       8.4      5.87        2.33
ที่มา WTA EuroStat


งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
          1. งานแสดงสินค้าอาหาร CIBUS จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้าเมือง Parma โดย Fiera di Parma S.p.A. (Via Rizzi 67/a-43031 Baganzola(PR) Tel. +390521996206/233 www.cibus.it) ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่สาคัญและประสบความสาเร็จมากที่สุดงานหนึ่งของอิตาลี มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารอิตาเลียนซึ่งมีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้พบปะเจรจาการค้า ศึกษารูปแบบและชนิดอาหารใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ เปิดสาหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยในปีนี้จะจัดเป็นครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2010

พื้นที่งานฯ           130,000 ตารางเมตร
ผู้เข้าแสดงในงานฯ    2,351 ราย
ผู้ซื้อ               1,000 ราย
ผู้เยี่ยมชม           60,750 ราย จาก 55 ประเทศ (อิตาเลียน 89% ต่างชาติ 11%)
ผู้สื่อข่าวอีกกว่า       900 ราย


2. งานแสดงสินค้าอาหาร TUTTO FOOD จัดขึ้นในศูนย์
          แสดงสินค้า RHO fiera ณ เมืองมิลานโดย Fiera Milano S.p.A. (Strada Statale del Sempione, 28-20017 Rho ,Milano www.tuttofood.it) ช่วงเดือนพฤษภาคม ทุกสองปี โดยครั้งต่อไปจะจัดระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2011 นับเป็นครั้งที่ 3 เป็นงานแสดงสินค้าอาหาร ตั้งแต่ในรูปวัตถุดิบไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดนัดพบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นแหล่งศึกษาแนวโน้มตลาดการผลิตและแนวโน้มผู้บริโภค รวมทั้งผู้จัดฯ ต้องการให้งานฯ ดังกล่าวเป็นงานแสดงสินค้าใหม่ที่จะเป็นประตูเปิดไปสู่ยุโรปและตลาดโลก เป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมทุกอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังต้องการผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารประจาชาติของอิตาลีที่มีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์มายาวนานนั้น เป็นหนึ่งในสินค้า made-in-italy เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ให้ชัดเจนขึ้น

พื้นที่งานฯ                  74,000 ตารางเมตร
ผู้เข้าแสดงในงานฯ           1,550 ราย(อิตาเลียน 70% ต่างชาติ 30%))
ผู้เยี่ยมชม                  30,000 ราย (อิตาเลียน 75% ต่างชาติ 25%) จาก 82 ประเทศทั่วโลก
สถิติปี 2009

ภาษีการนำเข้า
                    Categories                          Tariff (%)       Tariff preference (%)
HS1604    Prepared or preserved fish
-160411   Fish, whole or in pieces, but not minced
-160420   Other prepared or preserved fish                 5.5-25                2-21.5
ที่มา http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/tarhome_en.htm



          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ