เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.13 และ 130.60 ตามลำดับ
ยางพารา: มาเลเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -24.67 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 101.24 ตามลำดับ
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการ ขยายตัวลดลงร้อยละ -13.17 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 40.96 ตามลำดับ
น้ำมันสำเร็จรูป: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 36.71 และ 96.13 ตามลำดับ
แผงวงจรไฟฟ้า: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -20.37 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 78.70 ตามลำดับ
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนจากประเทศที่ผลิตและส่งออกพืชผลเกษตร มาเป็นการผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้เนื่องจากมาเลเซียมีแรงงานที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และรัฐบาลส่งเสริมบรรยากาศในการลงทุน ปัจจุบันมาเลเซียเป็นแหล่งผลิตให้กับบรรษัทข้ามชาติทั้งจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป ไต้หวัน และเกาหลี รวมถึงผู้ประกอบการในประเทศต่างก็เร่งยกระดับการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก สำหรับสาขาการผลิตในมาเลเซียที่น่าสนใจ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และเครี่องใช้ไฟฟ้า การส่งออกสินค้า โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.) มาเลเซียส่งออกทั้งสิ้น 205.06 พันล้านริงกิต ขณะที่การนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 142.67 พันล้านริงกิต
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ( SWOT ANALYSIS)
- จุดแข็ง (Strengh)
ประเทศมาเลเซียมีแรงงานที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านงานที่ต้องอาศัยความละเอียดและประณีต ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมาเลเซียได้มีการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก อีกทั้งประชากรยังมีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของมาเลเซียคือ ระบบคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ระบบโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน
- จุดอ่อน (Weakness)
การพัฒนาคนในระดับผู้บริหาร ช่างและแรงงาน ปรับตัวไม่ทันต่ออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในเรื่องของการลงทุนที่สูง และอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุน อีกทั้งยังยากต่อการหาแหล่งเงินทุน
- โอกาส (Opportunity)
กฎเกณฑ์ทางการค้าของ WTO ที่สนับสนุนให้เกิดการค้าเสรี และลดการกีดกันทางการค้าด้านภาษีจะทำให้การส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มดีขึ้น และยังมีโอกาสดึงนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลให้การสนับสนุน
- อุปสรรค์ (Threat)
การเปิดเสรีทางการค้า ทำให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันได้เสรีมากขึ้น อีกทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการรับรองมาตรฐานของมาเลเซียไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจจากประเทศมาเลเซีย ที่มาเยี่ยมชมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (สงขลา) จำนวน 45 ราย ซึ่งเป็นนักธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธุรกิจแผ่นกันกระแทกสำหรับเฟอร์นิเจอร์ส่งออก และธุรกิจโลจิสติกส์ โดยนักธุรกิจมาเลเซียส่วนใหญ่ให้ความสนใจศักยภาพพื้นที่จังหวัดสงขลาที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบของอาหารฮาลาล ธุรกิจโลจิสติกส์ และฯลฯ ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทย ยังเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ และครั้งนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่าง 2 ประเทศได้เป็นอย่างดี
ที่มา: http://www.depthai.go.th