ด้วยปรากฎเป็นข่าวใน นสพ. ท้องถิ่นและสื่ออื่นๆ ของฮ่องกงและมาเก๊าเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ ซึ่งอาจส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้หลายฝ่ายในฮ่องกงให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากข้าวถือเป็นสินค้ายุทธศาสตร์ของฮ่องกง ที่ต้องสำรองให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศและสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน โดยหน่วยงาน Trade and Industry Department มีหน้าที่กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองฮ่องกง ได้ติดตามข่าวดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และขอรายงานภาวะตลาดข้าวในฮ่องกง ดังนี้
2. ส่วนแบ่งตลาดข้าวจากประเทศไทยในฮ่องกง ลดลงเป็นลำดับ จากร้อยละ 73.5 ในช่วงมกราคม 2553 เป็นร้อยละ 69.8 ในเดือนพฤษภาคม 2553 ในขณะที่ ข้าวจากเวียดนามขยายส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 (ม.ค.53) เป็นร้อยละ 12.9(พ.ค. 53)
3. จากการสอบถาม Mr. Kenneth Lee นายกสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง ได้ให้ความเห็นว่า สำหรับผู้นำเข้ารายใหญ่ที่มีประสบการณ์ในแวดวงค้าข้าวมายาวนาน มิได้ตื่นตระหนกกับข่าวดังกล่าว และยังเชื่อว่า ไทยยังสามารถส่งออกข้าวได้ในปริมาณที่ฮ่องกง — มาเก๊า ต้องการ
ข้าวหอมมะลิจากไทย ราคาสูงกว่าข้าวจากประเทศอื่น เช่น จีน เวียดนาม ค่อนข้างมาก การนำเข้าข้าวหอมมะลิที่บรรจุใส่ถุงโดยตรงจากประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบในการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากเป็นสินค้าคุณภาพสูง ตลาดตอบรับดี แต่การนำเข้าเพื่อมาบรรจุถุงเอง โดยนำมาผสมกับข้าวจากที่อื่นๆ เพื่อลดต้นทุนจะได้รับผลกระทบ จนทำให้ต้องนำข้าวจากเวียดนามที่คุณภาพด้อยกว่ามาผสมเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาตลาดและคุณภาพของข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย ควรที่จะมีการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์เพื่อตอกย้ำความแตกต่างของคุณภาพข้าวจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการส่งเสริมส่งออกข้าวในลักษณะบรรจุถุงภายใต้แบรนด์และเครื่องหมายรับรองจากประเทศไทยให้มากขึ้น
4. รมว.พาณิชย์(นางพรทิวา นาคาศัย) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนมาเก๊าระหว่างการเยื่อนมาเก๊าเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553 สรุป ได้ดังนี้
ถึงแม้ว่าปีนี้อาจเจอปัญหา ความแห้งแล้งบ้าง แต่ไทยยังมีความมั่นใจในผลผลิตเพราะยังมีพื้นที่อีกหลายที่ผลผลิตยังเป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งทุกๆ 4 เดือนก็จะมีผลผลิตข้าวออกมาเพิ่ม ดังนั้นทางรัฐบาลมีความมั่นใจว่ายังมีสต๊อกข้าวเพียงพอต่อการส่งออก ทางรัฐบาลจะพยายามรักษาระดับราคาข้าวให้มีเสถียรภาพ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย และอยู่บนพื้นฐานของกลไกตลาดโลก และราคาข้าวจะไม่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมา และที่สำคัญเกษตรกรชาวนาก็ต้องยืนหยัดอยู่ได้ ส่วนราคาข้าวของไทยที่ว่าแพงนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพและมาตรฐานของข้าว เช่น ข้าวหอมมะลิ เพราะติดตลาดมากทั้งในมาเก๊าและฮ่องกง
สคร.ฮ่องกง
ที่มา: http://www.depthai.go.th