สถานการณ์สินค้าอาหารไทยในตลาดเยอรมนีเดือนมิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 19, 2010 16:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2553 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารมียอดการขายเป็นมูลค่า 36,000 ล้านยูโร ลดลงจากปีก่อนระยะเดียว กันเล็กน้อย เนื่องจากยังคงมีการแข่งขันลดราคาของร้านค้าประเภท Discounter นอกจากนี้ ตลาดเริ่มสนใจConvenience Food ลดน้อยลงเรื่องมา โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (เม.ย. 2552 - มี.ค. 2553) มียอดขายประมาณ 1,310 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ 2 ในขณะที่ปี 2552 มียอดขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.5 จากการสำรวจของ LZ Net พบว่า อาหารประเภท Ready to Eat แช่แข็ง ได้รับความนิยมมากจากครอบครัวใหญ่ๆ มีลูกกันแล้ว โดยเฉพาะ พิซซ่า แซนด์วิชและขนมปังมีไส้ต่างๆ ส่วนอาหารกระป๋องประเภทซุ๊ป อาหาร Instant บรรจุถุงพลาสติก ได้รับความสนใจจากครอบครัวประเภท Single และวัยรุ่น สำหรับคนสูงอายุจะนิยมอาหาร สำเร็จรูปอาหารเป็นชุด แช่เย็นมากที่สุด ซึ่งต่อไปจะมีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น เนื่องจากส่วนแบ่งผู้สูงอายุในเยอรมนี ตลอดจนใน ประเทศอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สินค้าส่งออกของไทย

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเยอรมนี มีส่วนแบ่งตลาดและของประเทศคู่แข่งสำคัญๆ ดังนี้

ไก่แปรรูป        เบลเยี่ยม  20.0%   เนเธอร์แลนด์  18.9%   ไทย          12.2%
กุ้งแช่แข็ง        เวียดนาม  16.8%   บังคลาเทศ    14.4%   เนเธอร์แลนด์   12.3%   ไทย  10.7%
ข้าว            อิตาลี     30.5%   เนเธอร์แลนด์  18.4%   เบลเยี่ยม      12.0%   ไทย  10.7%
กุ้งกระป๋อง       ไทย      26.8%   เนเธอร์แลนด์  20.5%   เดนมาร์ค      11.1%
สับปะรดกระป๋อง   ไทย      40.0%   เนเธอร์แลนด์  22.0%   เคนยา        17.0%   อินโดนีเชีย  14.%
ปลาทูน่ากระป๋อง   ฟิลิปปินส์   23.7%   เนเธอร์แลนด์  18.7%   เอควาดอร์     17.5%   ไทย 4.3%

ตลอดปี 2553 นี้ มีการคาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะมีความต้องการสินค้าอาหารในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะใน ประเทศกำลังพัฒนา ที่มีแนวโน้มจะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้จะมีความสามารถ มีกำลังซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น และจะ ให้ความสนใจสินค้าที่แปลกใหม่ รวมทั้งสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นและสินค้าประเภทเกษตรอินทรีย์ เหล่านี้จะเป็นช่องทาง ให้ผู้ผลิตสำคัญๆ จากประเทศอุตสาหกรรมมีความสนใจและต่างมีโครงการที่จะไปลงทุนผลิตสินค้าในประเทศเหล่านั้น

ปัญหาอุปสรรค

1. ความต้องการสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นมากและอย่างรวดเร็ว มีเรือบรรทุกสินค้าไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ประกอบการ เดินเรือประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการจอดพักเรือไว้ในช่วงที่ตลาดโลกมีความต้องการสินค้าลดลงมาก การเพิ่มขึ้นของการขนส่งเกิดขึ้น เร็วมากจนผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน

2. สินค้าไทยยังคงมีปัญหาอยู่ มีการตรวจพบสารเคมี สารพิษ สารต้องห้ามตกค้างในผักและผลไม้สดจากไทยอยู่

3. ตลาดค้าปลีกในเยอรมนีและประเทศอื่นๆ ในยุโรป ยังคงมีการลดราคาเพื่อแย่งชิงส่วนตลาด ทำให้ราคาสินค้าของ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าถูกดกดันให้เสนอขายในราคาที่ต่ำที่สุด

4. สินค้าของไทยยังคงมีราคาสูงกว่าคู่แข่ง ประกอบกับราคาค่าขนส่งและอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลยูโรและ เหรียญสหรัฐ จึงทำให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยลงบ้าง

การผลิตอาหารแปรรูปที่สำคัญๆ ในเยอรมนี
(ล้านยูโร               ปี 2550     ปี 2551     ปี 2552    เพิ่ม/ลด %    จำนวนโรงงาน
รวมทั้งสิ้น              122,921    132,055    109,572      -16.8           5,001
นมและผลิตภัณฑ์           18,531     19,082     16,633      -12.8             169
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์          14,283     14,491     14,035       -3.1           1,122
เนื้อสัตว์                10,571     13,380     13,234       -1.1             686
ขนมปัง                 11,226     12,117     12,209       +0.8           2,521
ขนม ช็อคโกแลต           7,896      8,336      8,169       -2.0             209
ยอดการจำหน่าย
(ล้านยูโร)                 2550         ปี 2551        ปี 2552      เพิ่ม/ลด %
รวมทั้งสิ้น               130,515        138,004       115,583       -16.25
ในประเทศ              107,784        112,919        93,254       -17.42
ต่างประเทศ              22,731         25,085        22,329       -10.99
  - อาหารสำเร็จรูป                                     1,143         +3.7
  - อาหารสัตว์เลี้ยงในบ้าน                                2,389         +5.9
จำนวนคนงาน :  เกษตรกรประมาณ  1 ล้านคน
              โรงงานแปรรูปอาหาร 500,000 คน
ที่มา :  สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมนี



การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยไปเยอรมนี
                              ปี 2551      ปี 2552     ปี 2552     ปี 2553      เพิ่ม/ลด%
                                                        (ม.ค.-พ.ค.)
สินค้าเกษตร  (ล้านเหรียญสหรัฐ)
รวมทั้งสิ้น                        287.7       191.4       68.1      114.5       +68.13
ไก่แปรรูป                         63.2        43.7       19.6       20.1        +2.65
กุ้งสดแช่แข็ง                       25.5        28.3        9.9       12.4       +24.46
ข้าวหอมมะลิ                       10.4        14.6        9.6        9.3       - 2.35
ครัสตาเซีย                         7.8         6.7        3.2        4.6       +44.94

สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร
รวมทั้งสิ้น                        247.8       211.2       85.6      111.5       +30.21
กุ้งแปรรูป                         44.9        53.5       18.9       22.6       +19.93
สับปะรดกระป๋อง                    40.2        25.8       12.9       11.3       -12.63
ปลาทูน่ากระป๋อง                    20.5        10.5        3.2        6.7      +106.46
อาหารสุนัขและแมว                  13.7        13.5        5.8        5.9       + 2.12
ผลไม้แปรรูป                       11.6         9.0        3.7        4.6       +24.43
ที่มา:  กรมศุลกากรไทย



          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ