พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคไต้หวันในปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 9, 2010 13:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ทั่วไป

ในปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตถือเป็นสิ่งจาเป็นในชีวิตประจาวันไปแล้ว ไม่ว่าการทางานหรือการใช้ชีวิตประจาวันต่างก็หลีกไม่พ้นการใช้อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกในอุตสาหกรรม ICT จากสถิติของ Foreseeing Innovative New Digiservices (FIND), Institute for Information Industry (III) ชี้ว่า จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2552 มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 16.13 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.9 ของจานวนประชากรทั้งหมด (ประมาณ 23 ล้านคน) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 6.5 และจากการความสะดวกในชีวิตประจาวันผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นี่เอง ทาให้การซื้อขายสินค้าผ่านทางเวปไซด์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยจากการสถิติของ Market Intelligence & Consult Institute (MIC) ชี้ว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตในปี 2552 สูงถึงประมาณ 311,600 ล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 32 เหรียญไต้หวัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 จากปีก่อนหน้า โดยในจานวนนี้เป็นการซื้อขายแบบ C2C คิดเป็นมูลค่า 142,700 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 จากปี 2551 และเป็นการซื้อขายแบบ B2C มูลค่า 168,800 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5

2. สินค้า

ในส่วนของสินค้าที่มีการซื้อขายแบบ B2C มากทางอินเตอร์เน็ตในไต้หวันนั้น ที่นิยมมากที่สุดได้แก่สินค้าเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (ร้อยละ 48.5) รองลงมาได้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 13) และผลิตภัณฑ์อีเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 10.2) ซึ่งทั้งสามประเภทนี้สามารถครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 71.6 ถัดจากนั้นจึงเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมความงานและสุขภาพ (ร้อยละ 9.3) บัตรเข้าชมต่างๆ (ร้อยละ 5.6) และ หนังสือ(ร้อยละ 2.4) ตามลาดับ

3. ผู้บริโภค

ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 90 เคยมีประสบการณ์ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยกลุ่มอายุที่มีพฤติกรรมซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุดคือระหว่าง 20-39 ปี โดยในส่วนของจานวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์โดยเฉลี่ยนั้น ผู้บริโภคที่เป็นชายจะใช้จ่ายเงินสูงกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายจะใช้จ่ายเฉลี่ย 13,510 เหรียญไต้หวัน ในขณะที่ผู้หญิงจะใช้จ่ายเฉลี่ย 8,631 เหรียญไต้หวัน สาเหตุสาคัญที่ทาให้ผู้บริโภคชายมีการใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่าหญิงนั้นเป็นเพราะประเภทสินค้าที่นิยมสั่งซื้อ โดยผู้ชายนิยมซื้อสินค้า 3C ซึ่งมีราคาต่อหน่วยสูงกว่าสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ผู้หญิงนิยมสั่งซื้อ

4. พฤติกรรมการใช้จ่าย

นำเสนอสินค้าบนหน้าเวปมากที่สุด ในขณะที่ผู้บริโภคหญิงจะให้ความสำคัญกับราคาสินค้าและติดตามจากการสารวจพบว่า แนวโน้มของผู้ที่สั่งซื้อสินค้าผ่านเวปไซด์แบบประมูล (Auction) เริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากอัตราการขยายตัวในปี 2548 ที่ร้อยละ 28 เหลือเพียงร้อยละ 20 ในปี 2552 แต่ในขณะเดียวกัน การสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโดยตรงทางอินเตอร์เน็ตกลับมากขึ้นเรื่อยๆ จากร้อยละ 71 (ปี 2548) เป็นร้อยละ 78 (ปี 2552) แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ในแบบ B2C ซึ่ง MIC ชี้ว่าสาเหตุสาคัญมาจากการที่ผู้บริโภคให้ความสาคัญกับเวลามากขึ้น จึงยอมที่จะซื้อสินค้าในราคาที่แพงกว่า แต่ไม่ประสงค์จะเสียเวลามาติดตามการสั่งซื้อที่แม้จะได้ราคาที่ถูกกว่า แต่ก็มีส่วนต่างไม่มากหากสั่งซื้อเป็นจานวนน้อย สาหรับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าเรียงตามลาดับความสาคัญ ได้แก่ ราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว มีโปรโมชั่นเสริมหรือมีของแถม โดยผู้บริโภคที่เป็นชายนั้น จะให้ความสาคัญกับข้อมูลแนะนาสินค้า/บริการ ที่มีระบุบนเวปไซด์ และเทคนิคการประสบการณ์ของผู้ที่เคยใช้งาน/ใช้บริการมากกว่า

5. โอกาสของผู้ประกอบการไทย

จากสัดส่วนการมีส่วนร่วมและแนวโน้มการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ทาให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวันของผู้บริโภคไต้หวันไปแล้ว นอกจากนี้จากการสารวจยังพบว่าผู้บริโภคไต้หวันกว่าร้อยละ 80 นิยมการการสั่งซื้อสินค้าจากเวปไซด์ในประเทศ อันเนื่องจากความสะดวกด้านภาษาและโลจิสติกส์ แต่ก็มีผู้บริโภคไต้หวันเป็นจานวนไม่น้อยที่สั่งซื้อสินค้าจากเวปไซด์ต่างประเทศ (ร้อยละ 16.3) โดยเป็นการสั่งซื้อจากเวปไซด์ของญี่ปุ่นมากที่สุด (ร้อยละ 70) รองลงมาได้แก่จากสหรัฐฯ (ร้อยละ 43) ยุโรป (ร้อยละ 21) และจีน (ร้อยละ 19) โดยประเภทสินค้าที่นิยมสั่งซื้อจากเวปไซด์ต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ เครื่องแต่งกายสตรี ผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสุขภาพ สินค้ากระเป๋าสตรี (แบรนด์เนม) หนังสือและนิตยสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอีเล็กทรอนิกส์ และสินค้าแบรนด์เนมสาหรับผู้ชาย เห็นได้ชัดว่าผู้บริโภคหญิงนิยมการสั่งซื้อจากเวปไซด์ต่างประเทศมากกว่าชาย

และเมื่อพิจารณาจากประเภทสินค้าที่มีการสั่งซื้อมากที่สุดแล้วจะพบว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของไทย เช่น ร้านอาหาร ศูนย์สปา โรงแรม รีสอร์ตต่างๆ รวมไปจนการขายแพคเกจทัวร์ในประเทศไทย มีโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคไต้หวันได้ง่ายที่สุด เนื่องจากไม่มีปัญหาด้านโลจิสติกส์ แต่ทั้งนี้ควรจะต้องมีการจัดทาเวปไซด์ที่เป็นภาษาจีน (Traditional Chinese) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคไต้หวัน นอกจากนี้สินค้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสุขภาพ ถือเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพสูงในตลาดโลกก็มีโอกาสไม่น้อยในการขยายตลาดออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีชาวไต้หวันเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจานวนไม่น้อยในแต่ละปี การส่งและรับของในประเทศไทยในช่วงที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนไทย จะช่วยแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์ได้ไปในตัว

นอกจากนี้แล้ว ความสาเร็จในการประกอบธุรกิจในไต้หวันจะสามารถช่วยในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีนได้ง่าย เพราะผู้บริโภคจีนให้การยอมรับและมีความสนใจจะติดต่อกับธุรกิจที่ประสบความสาเร็จ/มีชื่อเสียงในไต้หวันมากกว่าจากชาติอื่น ผู้ประกอบการไทยจึงสามารถใช้ไต้หวันเป็นกระดานหกในการกระโดดเข้าสู่ตลาดจีนได้เป็นอย่างดี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ