ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.33 แข็งค่าจากช่วงเช้าสอดคล้องภูมิภาค ตลาดรอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 15, 2025 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.33 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 33.43 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.30-3.45 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ซึ่งเมื่อเงินบาท เคลื่อนไหวเข้าใกล้ 33.50 บาท/ดอลลาร์ ก็มีแรงขายดอลลาร์เพื่อทำกำไร จึงทำให้เงินบาททยอยปรับแข็งค่า แต่ยังเป็นการแข็งค่าในทิศ ทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค

"วันนี้ไม่ได้มีปัจจัยอะไรใหม่ พอบาทเข้าใกล้ 33.50 ก็มีแรงขายดอลลาร์ จึงทำให้เงินบาททยอยแข็งค่า" นักบริหารเงิน
ระบุ

สำหรับคืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ หลายตัว เช่น ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนเม.ย., ยอดค้า ปลีก เดือนเม.ย. และยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ พร้อมกันนี้ ตลาดรอติดตามถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีนี้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20 - 33.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 145.90 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.12 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1201 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1196 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,194.49 จุด ลดลง 22.22 จุด (-1.83%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 45,794.74 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,177.68 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.คลัง ประเมินว่า ผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ จะทำให้เศรษฐกิจไทยสะดุดอย่างน้อย 2 ปี โดยเฉพาะ
ภาคการส่งออก ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงมีนโยบายให้สถาบันการเงินของรัฐ (SFIs) ปรับกลยุทธ์การดำเนินงาน โดยการลดเป้า
หมายกำไรจากการทำธุรกิจ เพื่อจัดสรรเม็ดเงินงบประมาณมาทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบ
การ
  • แบงก์ออมสิน เตรียมออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงิน 1 แสนล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ต่อให้กับสถาบันการเงิน
อื่นในอัตราดอกเบี้ย 0.01% เพื่อไปปล่อยกู้ในอัตรา 3.50% ให้กับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ รวมทั้งเตรียมลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือนเม.ย.68 อยู่ที่ระดับ 55.4 ปรับตัวลดลงทุกรายการ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และ
อยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือนต.ค.67 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าจากนโยบาย Trump 2.0
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อินเดีย ได้ยื่นข้อเสนอในการทำข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ ว่า จะไม่
เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว มีขึ้นในช่วงที่อินเดียพยายามเจรจาการค้าให้สำเร็จ ภายในกรอบเวลา 90 วัน ที่
เป็นช่วงผ่อนผันที่ทรัมป์ประกาศไว้เมื่อวันที่ 9 เม.ย.68 เพื่อชะลอการขึ้นภาษีต่อประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงอินเดีย ที่ถูกกำหนดอัตราภาษี
26%
  • กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ออกโรงเตือนว่า มาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ อาจทำให้การ
ส่งออกของภูมิภาคแทบไม่เติบโตเลยในปีนี้ โดยรัฐมนตรีการค้ากลุ่มเอเปค คาดการณ์ว่ายอดส่งออกของเอเปคในปี 2568 จะขยับขึ้นเพียง
0.4% ซึ่งลดฮวบจากปีก่อนที่เติบโตถึง 5.7%
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า GDP ไตรมาส 1/2568 ขยายตัว 0.7% แข็งแกร่งกว่าในไตร
มาส 4/2567 ที่ขยายตัวเพียง 0.1% และ 0% ในไตรมาส 3/2567 ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาส
2 ปีนี้ จะขยายตัวเพียง 0.1% เท่านั้น โดยระบุถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของอังกฤษ จะเผชิญภาวะขาลง
  • คณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เสนอให้ทุ่มเม็ดเงินลงทุน 4 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ
(productivity) ให้กับบรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลสามารถบรรลุเป้าหมาย
การผลักดันให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี

ราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย., ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย., ตัว

เลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ