โดยราคาในเขตกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันตกให้ขายไม่เกินกก.ละ 133 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 133 บาท ภาคตะวันออกไม่เกิน กก.ละ 134 บาท ภาคใต้ไม่เกิน กก.ละ 133 บาท และภาคเหนือไม่เกิน กก.ละ 134 บาท ยกเว้นเนื้อสุกรชนิดที่มีคุณภาพพิเศษ เช่น เนื้อสุกรอนามัย เนื้อสุกรไร้สารที่มีการรับรองจากหน่วยงานราชการ
ส่วนราคาขายหมูเนื้อแดงไม่ตัดแต่งสะโพกและไหล่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนอีก กก.ละ 2-3 บาท ในเขตกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันตกไม่เกิน กก.ละ 123 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 123 บาท ภาคตะวันออกไม่เกิน กก.ละ 124 บาท ภาคใต้ไม่เกินกก.ละ 123 บาท และภาคเหนือไม่เกิน กก.ละ 124 บาท ขณะที่ราคาขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดงเพิ่มขึ้นกก.ละ 2-3 บาท ในเขตกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันตกไม่เกิน กก.ละละ 108 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เกินกก.ละ 108 บาท ภาคตะวันออกไม่เกิน กก.ละ 109 บาท ภาคใต้ ไม่เกิน กก.ละ 108 บาท และภาคเหนือไม่เกินกก.ละ 109 บาท
ทั้งนี้ ราคาแนะนำสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มสัปดาห์นี้ กลับปรับตัวลดลงเฉลี่ย กก.ละ 1-2 บาท ในเขตกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ให้ขายไม่ต่ำกว่ากก.ละ 65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ต่ำกว่ากก.ละ 65บาท ภาคตะวันออกไม่ต่ำกว่ากก.ละ 66 บาท ภาคใต้ ไม่ต่ำกก.ละ 65 บาท และภาคเหนือไม่ต่ำกว่ากก.ละ 66 บาท
ขณะที่ราคาจำหน่ายส่งหมูชำแหละ(หมูซีก) เฉลี่ยลดลงกก.ละ 1 บาท ในเขตกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันตกไม่เกินกก.ละ 78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกินกก.ละ 78 บาท ภาคตะวันออกไม่เกินกก.ละ79 บาท ภาคใต้ไม่เกินกก.ละ 78 บาท และภาคเหนือไม่เกิน กก.ละ 79 บาท
"กรมฯ จะติดตามสถานการณ์และราคาสุกรอย่างใกล้ชิด และขอให้ผู้จำหน่ายปลีกปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน ถ้าหากไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้ามีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ แจ้งที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ หากพบการกระทำผิดกรมฯ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด" น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ กล่าว