สภาพัฒน์ เผยหนี้ครัวเรือน Q4/57 แตะ 85%ต่อ GDP แต่ยังไม่เสี่ยงศก.ภาพรวม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 23, 2015 17:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2557 คาดว่าในไตรมาส 4 มูลค่าหนี้สินครัวเรือนจะยังเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มในอัตราที่ชะลอตัว ซึ่งคาดว่าจะทำให้สัดส่วนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 85

ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 แต่ชะลอลง โดยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและการบริโภคอื่นๆยังเพิ่มขึ้นส่วนการผิดนัดชำระหนี้สินภายใต้การกำกับและบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังไม่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อภาพรวม โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ได้ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และสินเชื่อภายใต้การกำกับผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และยอดคงค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

"สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ลดลง การผิดชำระหนี้สินเชื่อภายใต้การกำกับและบัตรเครดิตเพิ่มขึ่นต่อเนื่อง แต่ยังไม่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อภาพรวม" รองเลขาธิการ สศช.กล่าว

อย่างไรก็ดี ต้องเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย ซึ่งสศช.ประเมินว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนขณะนี้ยังไม่มีความเสี่ยงต่อการเงินของประเทศ

พร้อมกันนี้ ยังพบว่าการจ้างงานลดลง อัตราว่างงานต่ำ ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นช้า โดยไตรมาสสี่ของปี 2557 การมีงานทำลดลง 0.1 เป็นการลดลงของการมีงานทำในภาคเกษตร ร้อยละ 4.9 ส่วนนอกภาคเกษตรมีอัตรการมีงานทำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.5 ขณะที่อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับร้อยละ 0.66 ในปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งถูกดูดซับโดยภาคนอกเกษตรที่ยังต้องการแรงงานพื้นฐานจำนวนมาก ภาพรวมปี 2557 การจ้างงานลดลงร้อยละ 0.4 อัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ 0.84

สศช.ยังพบผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยเอดส์มีแนวโน้มลดลง แต่ต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมเสียงทางเพศของกลุ่มเยาวชนที่มาจากเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะพบมากในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้น ปวช. 2 ยังพบว่าเยาวชนมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนอายุต่ำกว่า 15.6 ปี แต่ในเรื่องของการสร้างวินัยทางจราจรทางบกกลับพบอัตราผู้เสียชีวิตลดลง แต่อุบัติเหตุกลับเพิ่มขึ้น

ในส่วนของการยกระดับสมรรถนะแรงงาน : ความท้าทายที่ต้องเร่งดำเนินการนั้น สศช.เห็นว่า แรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในการศึกษาภาคบังคับ และเป็นแรงงานสูงอายุมากขึ้นตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กว่าร้อยละ 57.6 เป็นแรงงานนอกระบบ เน้นการทำงานอิสระ แต่ยังพบว่าแรงงานจะมีความตึงตัวเพราะผลิตสาขางานที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด

"ตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา คุณภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ยังขาดทักษะจำเป็น เช่น ภาษาต่างประเทศ, ความคิดสร้างสรรค์ในการวิเคราะห์" รองเลขาธิการ สศช.ระบุ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ