ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.95 กลับมาแข็งค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯกดดอลล์อ่อน-รอดูรายงาน GDP Q1/60 สหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 29, 2017 09:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.95 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.00 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทจะยังพักตัวอยู่ในกรอบเดิมๆ ซึ่งเงินบาทได้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบมาตลอดสัปดาห์นี้ เนื่องจาก ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ และล่าสุดดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายของสหรัฐฯ ในเดือนพ.ค.ก็ยัง ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ช่วงนี้จึงมีหลายปัจจัยที่ยังกดดันให้ดอลลาร์อ่อนค่า

"ตอนนี้ดอลลาร์ขาด story ที่จะทำให้ขึ้นต่อ ประธานธนาคารกลางของหลายประเทศต่างมีมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจของ ประเทศตัวเอง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ย เช่น แคนาดา อังกฤษ รวมทั้ง ECB จึงส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่า ล่าสุด ยอด pending home sales ของสหรัฐก็ออกมาไม่ดี คนจึงขาดความเชื่อมั่นที่ถือดอลลาร์ ตอนนี้ดอลลาร์เลยอ่อน" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.90-34.00 บาท/ดอลลาร์ พร้อมทั้งต้องจับตาการ รายงานตัวเลข GDP ของสหรัฐในไตรมาส 1/60 ว่าจะโตได้ถึง 1.2% หรือไม่ และตัวเลขเงินเฟ้อว่าจะดีขึ้นหรือไม่ เพราะตลาด ยังไม่เชื่อว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกครั้งในปีนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 112.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1405 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1362 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.979 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมจะต่อมาตรการลดการออกขายพันธบัตรระยะสั้นในเดือน ก.ค.ปีนี้ต่อไป
อีก เป็นเดือนที่ 4 ต่อเนื่องจากที่เคยใช้ทำมาในเดือน เม.ย. เดือน พ.ค. และเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยจะยังคงลดวงเงินการ
ประมูลพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุ 3 เดือน และ 6 เดือนลงทั้งสองอายุสัญญา รวม 2 หมื่นล้านบาท/สัปดาห์ หรือลด
  • นักวิเคราะห์ บล.กสิกรไทยคาด จีดีพีไทยปี 2560 โต 3.3-3.5% ชี้ส่งออกโตแต่บริโภคไม่ฟื้น เหตุค่าจ้างนอกภาค
การเกษตรติดลบ เม็ดเงิน FDI ยังไม่กล้ามา คาดกรอบดัชนีหุ้นสิ้นปีปิด 1,570 จุด แต่ช่วง ส.ค.อาจลงไปแตะ 1,530 จุด ผลพวง
กำไร บจ.ช่วงไตรมาส 2 ส่อลดจากราคาน้ำมันลง
  • ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หารือบีโอไอ การันตีลงทุนญี่ปุ่นสนใจอีอีซี พร้อมตั้งคณะกรรมการ 3 กลุ่มเร่งศึกษา
โอกาสการลงทุน ด้านบีโอไอพร้อมให้ความร่วมมือและร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับหอการค้าญี่ปุ่น
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ระบุว่า ตัวเลขหนี้ทั่วโลกแตะระดับ 217 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาส
แรกของปีนี้ หรือเทียบเท่ากับ 327% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้ได้ลดลงในกลุ่มประเทศที่
พัฒนาแล้ว แต่ในตลาดที่กำลังพัฒนา ตัวเลขหนี้ได้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • นายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ได้ออกมาส่งสัญญาณการยกเลิกมาตรการกระตุ้นทางการเงิน เนื่อง
จากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการส่งสัญญาณที่ไม่ชัดเจนของนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในประเด็นการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 6.59 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.
ค. ลดลง 1.2 พันล้านดอลลาร์ จากระดับ 6.71 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย.
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
(pending home sales) ลดลง 0.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน โดยปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เพราะได้รับผล
กระทบจากราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น และสต็อกบ้านในระดับต่ำ
  • สกุลเงินยูโรและปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 มิ.ย.) โดย
ยูโรได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งทำให้ตลาดการเงินเข้าใจว่า เขา
กำลังส่งสัญญาณที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น แม้ว่าเจ้าหน้าที่ ECB ได้ออกมาชี้แจงในภายหลังว่า นายดรากีไม่
ได้ส่งสัญญาณเช่นนั้นก็ตาม ขณะที่สกุลเงินปอนด์ได้ปัจจัยหนุนจากการที่นายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้
กล่าวถึงความจำเป็นที่อังกฤษจะต้องยกเลิกมาตรการกระตุ้นทางการเงิน ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1382
ดอลลาร์ จากระดับ 1.1339 ดอลลาร์ ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 112.32 เยน จากระดับ 112.15 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ
สกุลเงินหลักๆ อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นและผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ได้สกัดแรงบวกของราคาทองคำ
  • นายเคลาส์ เรกลิง ประธานกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) คาดการณ์ว่า รัฐบาลกรีซจะสามารถเลิกรับ
เงินช่วยเหลือจากกลุ่มเจ้าหนี้ได้ในช่วงกลางปี 2561 โดยขณะนี้กรีซควรมุ่งไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่น
กลับคืนมา
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ไตรมาส 1 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ