ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.26 รับเม็ดเงินไหลเข้าซื้อพันธบัตร มองกรอบพรุ่งนี้ 33.12-33.30 มีโอกาสแข็งค่าหลุดแนวรับสำคัญ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 1, 2017 17:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.26 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.27/28 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทในช่วงเย็นนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่หลุดแนวรับสำคัญที่ระดับ 33.20 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมี Flow ช่วย support ไว้ ซึ่งวันนี้ต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรเกือบ 24,000 ล้านบาท ถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ดี เงินบาทยังมี โอกาสจะแข็งค่าต่อ หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศออกมาในทิศทางที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงได้ อีก

"เงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าหลุดแนวรับสำคัญที่ 33.20 บาท/ดอลลาร์ได้ ถ้าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาไม่ดี คงต้อง รอดูที่จะทยอยประกาศออกมา หากออกมาแย่ ดอลลาร์สหรัฐก็จะอ่อนค่าในวงกว้าง" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.12-33.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.34 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.28/29 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1815 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1827/1830 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,576.45 จุด เพิ่มขึ้น 0.37 จุด (+0.02%) มูลค่าการซื้อขาย 39,095 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 463.28 ลบ.
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนก.ค.60 เพิ่มขึ้น 0.17% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน
(Core CPI) เพิ่มขึ้น 0.48% ซึ่ง CPI ที่สูงขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากสินค้ากลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่
ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และผลกระทบฐานสูงจากภาวะภัยแล้งในปีที่ผ่านมาได้คลายตัวลง จึงทำให้ราคาอาหารสด
ขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีนี้ไว้ในกรอบ 0.7-1.7%
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ปรับคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของมูลค่าการส่ง
ออกในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็น 5% จากเดิมที่คาดไว้ 3.5% เนื่องจากมีปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
หลัก และความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทยมีมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากคู่แข่งสำคัญ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง และ 2.การปรับตัวของผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ต่อกระแสเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Thing (IoT) โดย
เฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในไตรมาส 4
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนในเดือน ก.ค.60 ดัชนีฯ ทรงตัว
ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 50.3 โดยรวมความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อ ผลประกอบการ ต้นทุนและการจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
ก่อนมากนัก
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดว่า การส่งออกในปี 60 น่าจะสามารถรักษาการ
ขยายตัวได้ตามกรอบประมาณการที่ 3.5-4.5% หลังจากในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 7.8% ขณะที่คงกรอบประมาณการอัตราการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 60 ไว้ที่ 3.5-4.0% และเงินเฟ้อที่ 0.5-1.5% ตามเดิม
  • ผลการสำรวจของไอเอชเอส มาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซน อยู่ที่
56.6 ในเดือนก.ค. ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 56.8 และตัวเลขในเดือนมิ.ย.ที่ 57.4 ทั้งนี้แม้ดัชนี PMI ยูโรโซนได้หดตัวลงแต่ก็
ยังอยู่ในแดนบวก โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของสมาชิกยูโรโซนทุกประเทศอยู่ในช่วงขยายตัว นำโดยออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ และ
เยอรมนี
  • คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คาดหวังที่จะผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีให้ผ่านความเห็นชอบจากสภา
คองเกรส ภายในเดือนพ.ย.นี้ โดยคณะกรรมาธิการซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎระเบียบด้านภาษีของสภาคองเกรส อาจจะเพิ่มรายละเอียด
และร่างแผนการปฏิรูปภาษี หลังวันแรงงานของสหรัฐซึ่งตรงกับวันที่ 4 ก.ย.
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ ได้แก่ การใช้จ่าย-รายได้ส่วนบุคคลเดือนมิ.ย., ดัชนีราคา
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิ.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค., ดัชนีภาคการ
ผลิตเดือนก.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนมิ.ย. และยอดขายรถเดือนก.
ค.
  • โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี มีแผนปรับคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี
ในวันพฤหัสบดีนี้ หลังคะแนนความนิยมฝั่งรัฐบาลร่วงลงจากกระแสข่าวทุจริตจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการที่นายอาเบะ ถูกกล่าวหาว่าเอื้อ
ผลประโยชน์ให้แก่เพื่อนคนสนิทที่ต้องการสร้างอาคารแห่งใหม่ในมหาวิทยาลัยที่ดูแลอยู่
  • นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งถือเป็น

วัน "Super Thursday" โดย BoE อาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ