ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.19 แนวโน้มอ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หนุนดอลล์แข็ง มองกรอบวันนี้ 33.18-33.28

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 31, 2017 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.19 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.22 บาท/ดอลลาร์

วันนี้ทิศทางของเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลง เนื่องจากผลของดอลลาร์สหรัฐที่กลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ใน ภูมิภาค หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ประกาศออกมาล่าสุดปรับตัวดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งในเรื่องของ GDP ไตรมาส 2/60 และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น "วันนี้เงินบาทมีทิศทางขยับกรอบขึ้นไปสูงขึ้น เพราะตอนนี้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ เนื่องจากตัวเลข เศรษฐกิจออกมาดี ทั้ง GDP การจ้างงาน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการบริโภคในประเทศยังแข็งแกร่ง และเป็นตัวช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้ เติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 3 ได้" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.18-33.28 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.55 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 109.91 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1875 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.1942 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.2120 บาท/
ดอลลาร์
  • ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์พีพีพี 5 ปี รวม 55 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.62 ล้านล้าน
บาท เปิดทางเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ อนุมัติหลักเกณฑ์เปรียบเทียบต้นทุน ความเสี่ยง และความคุ้มค่าในการประเมินทาง
เลือกการลงทุน
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยในงานไทยแลนด์ โฟกัส ว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย
(เอดีบี) จัดทำข้อมูลว่า 15 ปีนี้เอเชียต้องใช้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 862 ล้าน
ล้านบาท เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP ประจำไตรมาส 2/2560 เมื่อวานนี้ โดยระบุ
ว่า เศรษฐกิจขยายตัว 3.0% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 2.6% และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.7%
  • ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานสหรัฐ รายงานว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 237,000 ตำแหน่ง
ในเดือนส.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 185,000 ตำแหน่ง
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำไตรมาส 2/2560
เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% ซึ่งชะลอตัวลงอย่างมากจากที่เพิ่มขึ้น 2.2% ในไตรมาสแรก
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) ขาน
รับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของสหรัฐและตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.ที่ขยายตัวดีเกิน
คาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำซึ่งเป็น
สินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 และตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน
เดือนส.ค.ที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้กล่าวแถลงนโยบายเศรษฐกิจที่เมืองสปริงฟิลด์ รัฐมิสซิสซูรี เมื่อคืนนี้ โดย
ย้ำว่า เป้าหมายการปฏิรูประบบภาษีของเขาคือการเดินหน้าปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงสู่ระดับ 15% จากระดับ 35% ใน
ปัจจุบัน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ

ปธน.ทรัมป์ระบุด้วยว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ระดับ 3% ไว้ได้ จะช่วยสร้างงานให้กับ ชาวอเมริกันจำนวน 12 ล้านตำแหน่ง ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่คิดเป็นมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์

  • นักลงทุนยังจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้าง
งานจะขยายตัวเพียง 180,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ขยายตัวมากกว่า 200,000 ตำแหน่ง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนก่อนหน้านั้น
ขณะเดียวกันคาดว่า อัตราว่างงานเดือนส.ค.จะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 4.3%
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,

ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ค., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home

sales) เดือนก.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนส.ค.จากสถาบัน

จัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนก.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.จากมหาวิทยาลัย

มิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ