ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.43/46 แนวโน้มอ่อนค่า-ศก.สหรัฐสดใสหนุนดอลลาร์แข็ง คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.35-33.50

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 23, 2018 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 33.43/46 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.30/33 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเริ่มกลับไปในทิศทางอ่อนค่า หลังจากที่แข็งค่าขึ้นมาชั่วคราวจากปัจจัยที่ดอลลาร์อ่อนค่าอันเนื่องจากผู้นำ สหรัฐกล่าวหาว่าจีนและสหภาพยุโรปกำลังปั่นค่าเงินเพื่อสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แต่ปัจจัยดังกล่าวเป็นเพียงผลกระทบ ชั่วคราว เพราะโดยปัจจัยพื้นฐานแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จึงทำให้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่น

"การที่ดอลลาร์อ่อนค่าจากผลการทวีตของทรัมป์เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งการที่วันนี้ดอลลาร์กลับ มาแข็งค่าได้ เพราะโดยพื้นฐานแล้วตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื้นๆ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35 - 33.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.99 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.94/96 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1690 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1631/1632 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,675.75 จุด เพิ่มขึ้น 4.69 จุด (+0.28%) มูลค่าการซื้อขาย 49,265 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,589.89 ลบ.(SET+MAI)
  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การออกพันธบัตรสีเขียว (Green
Bond) ซึ่งเป็นการระดมทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้ลงทุนหรือสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีแนวโน้มว่าจะ
มีการออกพันธบัตรในลักษณะเช่นนี้มากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครง
สร้างพื้นฐานอีกมาก ดังนั้น มองว่าในระยะต่อไปจะมีการออกพันธบัตรในลักษณะนี้อีกเรื่อยๆ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพราะมีเงินที่ต้องการลงทุนในพันธบัตรประเภทนี้อยู่จำนวนมากในโลก
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ลงนามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยน
เงินตราฉบับที่ 4 (ฉบับปรับปรุง) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ภายใต้ความตกลงฉบับที่ 4 (เดิม) ธนาคารกลางทั้ง 2
ประเทศสามารถแลกเปลี่ยน (Swap) สกุลเงินประเทศของตน (บาทหรือเยน) เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐได้ แต่ความตกลงฉบับปรับปรุง
ใหม่นี้จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้ฝ่ายไทยสามารถแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นเงินเยนได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินดอลลาร์สหรัฐด้วย ซึ่งวง
เงินสูงสุดยังคงเดิมคือ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 33.10-33.50 บาท/
ดอลลาร์ โดยตลาดจะจับตาสงครามค่าเงินระลอกใหม่ หลังสหรัฐฯ และจีนต่างส่งสัญญาณว่าไม่ต้องการให้สกุลเงินของประเทศตนแข็ง
ค่า นอกจากนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งอาจเพิ่มความผันผวนให้กับตลาดการเงินช่วง
ท้ายสัปดาห์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ที่ 33.20-33.70 บาท/ดอลลาร์ โดยจุด
สนใจของตลาดอยู่ที่ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สถานการณ์ค่าเงินหยวน และผลการประชุมนโยบายการเงิน
ของธนาคารกลางยุโรป

ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่, ยอดขายบ้านมือ สอง, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน มิ.ย., ตัวเลข GDP ไตรมาส 2/2561, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสำหรับเดือนก.ค.

  • ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60-มิ.ย.61) รัฐบาลจัดเก็บ

รายได้สุทธิ จำนวน 1,832,121 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 62,408 ล้านบาท หรือ 3.5% และสูงกว่า

ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 5.4% โดยมีสาเหตุจากการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นสูงกว่าประมาณการ 27,522 ล้านบาท คิดเป็น

22.9% และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 25,171 ล้านบาท หรือ 23.9% ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้า

หมาย ได้แก่ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีรถยนต์ และภาษียาสูบ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ