ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.28/30 ระหว่างวันผันผวน สัปดาห์หน้าคาดกรอบ 33.15-33.45 จับตาประชุม FOMC

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 26, 2018 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.28/30 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.23 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทค่อนข้างจะผันผวน โดยช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่าไปทำ low ที่ระดับ 33.15 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะเริ่มขยับ อ่อนค่ามาในช่วงบ่าย และทำ high ที่ระดับ 33.33 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ในช่วงเช้าที่บาทแข็งค่าคาดว่าเป็นไปตามทิศทางของเงินยู โร หลังจากตลาดรับข่าวดีที่ยุโรปและสหรัฐฯ มีการเจรจาในลักษณะที่ประนีประนอมกันมากขึ้น ประกอบกับยังมี flow เข้ามาใน ตลาด ในขณะที่ช่วงบ่ายเงินบาทกลับไปอ่อนค่า เพราะนักลงทุนมองว่าดอลลาร์สหรัฐยังมีโอกาสที่จะปรับขึ้นได้อีก จึงทำให้มีแรงซื้อ ดอลลาร์ตุนไว้

อย่างไรก็ดี สัปดาห์หน้าคงต้องติดตามปัจจัยสำคัญ คือ การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC) เพื่อพิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งการประชุมรอบนี้ก็มีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยได้

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.15 - 33.45 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.3125 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.78/80 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1711/1715 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1743 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,701.87 จุด เพิ่มขึ้น 11.79 จุด (+0.70%) มูลค่าการซื้อขาย 49,499 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,308.93 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่าจะสามารถขยายตัวได้ 4.5% (ช่วง
คาดการณ์ที่ 4.2 – 4.8%) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.9% โดยมีการส่งออกสินค้าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ
  • ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2561 เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน และไตร
มาสที่ 2 ปี 2561 มีสัญญาณขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีสะท้อนจากการจัดเก็บภาษี
มูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในระดับสูง ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีต่อ
เนื่อง ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศสะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง

สำหรับด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และดัชนีผลผลิตการเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ รายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงสุดในรอบ 42 เดือน

  • รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2561 พบว่ายังคงขยายตัว นำโดยภาค
ตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุน
ภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าแนวโน้มสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คงจะประคองการเติบโตต่อเนื่องจากครึ่งแรก สู่
เป้าหมายที่ 5.0% โดยมีสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำ ขณะที่ธนาคารหลายแห่งโดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่ม
ที่มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนใหญ่ยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อทั้งปีไว้เท่าเดิม ซึ่งให้ภาพที่สะท้อน
ความระมัดระวัง ท่ามกลางความขัดแย้งของนโยบายการค้าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ที่อาจกดดันโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โลก รวมทั้งความเสี่ยงจากความผันผวนของกระแสเงินทุน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจไทย
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินความเป็นไปได้ของผลกระทบสงครามการค้าของสหรัฐฯ-จีน ที่จะเกิดกับการส่งออกของ
ไทยในปี 2562 โดยเชื่อว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนน่ายืดเยื้อตลอดปี และจะยุติอยู่แค่การเก็บภาษีรอบ 5 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐฯ กับรอบ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยรวมแล้วจะทำให้การส่งออกของไทยในปี 2562 สูญเสียประโยชน์คิดเป็น
มูลค่าสุทธิ 2,400-2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 0.5-0.6% ของ GDP โดยประเมินจากรายการสินค้าที่สหรัฐฯ ประกาศ
ออกมาเบื้องต้น
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75-2.00% ในการ
ประชุมรอบห้าของปีนี้ ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะมีนัยสำคัญต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้คงหนีไม่พ้น
ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งอาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลให้
การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงได้ อย่างไรดี ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง ยังคงเปิดโอกาสให้เฟด
สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปอีก 1-2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเปิดฉากประชุมประจำเดือนในวันนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ที่ประชุมจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำต่อไปอีก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการออกมาแสดงความเห็นล่าสุดเกี่ยว
กับการจัดเก็บภาษีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ รวมทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน
  • นักลงทุนจับตาการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์หน้า เช่น การแถลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการ
ประชุม FOMC, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. จาก Conference Board, ส่วนฝั่งสหภาพยุโรป เช่น ตัวเลข GDP ไตร
มาส 2/2561, อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค., ในขณะที่ฝั่งญี่ปุ่น จะมีการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พร้อมแถลงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายเช่นกัน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเดือนมิถุนายน 2561 ในวันที่
31 กรกฎาคม 2561 และกระทรวงพาณิชย์จะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2561 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2561

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ