ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.07 อ่อนค่าในรอบ 2 เดือน คาดสัปดาห์หน้าอ่อนต่อ มองกรอบ 33.00-33.20

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 26, 2018 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.07 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.95 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่าขึ้นสู่ระดับที่ 33 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือนนับตั้งแต่ 20 ส.ค.61 สาเหตุ เป็นเพราะมีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมาจาก sentiment ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกเทขาย รวมทั้งค่าเงินสกุล อื่นๆ ในภูมิภาคมีแรงเทขายเช่นกัน จึงทำให้สกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี สถานการณ์เศรษฐกิจในอิตาลี ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และซาอุดิอาระเบีย กรณีการเสีย ชีวิตของนักข่าวชาวซาอุฯ ก็ยังเป็นปัจจัยความกังวลที่ตลาดติดตามสถานการณ์อยู่เช่นกัน

นักบริหารเงิน ประเมินเงินบาทต้นสัปดาห์หน้ายังมีแนวโน้มอ่อนค่า คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00 - 33.20 บาท/ ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นเงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.91 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.35 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1360 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1370 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,628.96 จุด ลดลง 15.37 จุด (-0.93%) มูลค่าการซื้อขาย 40,939 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,335.10 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย แนะจับตาตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการ
รายงานในสัปดาห์หน้าว่าจะแสดงถึงการชะลอตัวสอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกหรือไม่ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์จะรายงานตัวเลขอัตรา
เงินเฟ้อเดือนตุลาคม 2561 ในวันพฤหัสที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาภาวะความผันผวนมากขึ้นของตลาดการเงิน
เนื่องจากมีหลายปัจจัยเสี่ยงระหว่างประเทศเพิ่มเข้ามามากขึ้นในช่วงนี้
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มสินเชื่อในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 โดยระบุว่า แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนหลาย
ทาง โดยเฉพาะปัจจัยฤดูกาลที่คงมีผลบวกต่อสินเชื่อทุกประเภท แต่ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ยังต้องจับตาผลกระทบจาก
ภาคต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกและการท่องเที่ยว หลังมีสัญญาณชะลอตัวในช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) แนะให้จับตาตลาดส่งออกจีนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีสัญญาณชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนที่ได้
รับผลกระทบจากสงครามการค้ากับสหรัฐ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง เห็นได้จากตัวเลขสินค้าส่งออกของไทยไปจีนในเดือน
กันยายน 2561 หดตัว ทั้งยานยนต์ ยางล้อ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตลาดยานยนต์ของจีนชะลงตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 3
เดือนที่ผ่านมา คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยผู้ว่าการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมหารือเพื่อเร่งออกมาตรการแก้ปัญหากรณีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยลด
ลง โดยคาดว่าจะมีการนำเสนอมาตรการแก้ปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้
  • รมว.พาณิชย์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงฯ ทั้งกรมการค้าภายใน, กรมการค้าต่าง
ประเทศ, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทำแผนงานบริหาร
จัดการสินค้าเกษตร เพื่อผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่มีปัญหาล้นตลาด เนื่องจากในช่วง 3 เดือน
นับจากนี้ หรือตั้งแต่เดือนพ.ย.ต่อเนื่องถึงต้นปี 62 ผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดจะทยอยออกสู่ตลาด
  • นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากความ
หละหลวมของมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อในตลาด ซึ่งส่งผลตัวเลขหนี้สินภาคเอกชนในปัจจุบันของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.6 ล้านล้าน
ดอลลาร์
  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีจีนว่า จะสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากที่ความ
สัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดีขึ้นท่ามกลางข้อพิพาทการค้ากับสหรัฐ
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางได้ลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินแบบทวิภาคีกับธนาคาร
กลางญี่ปุ่นแล้วในวันนี้ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มูลค่า 2 แสนล้านหยวน (ราว
2.878 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นจำนวนเงิน 3.4 ล้านล้านเยน และการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนสู่สกุลเงินหยวนในอัตราเดียว
กัน
  • ญี่ปุ่น คาดการเจรจาต่อรองข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (TPP) แบบที่มีสมาชิก 11 ประเทศนั้น
อาจจะมีผลบังคับใช้ในช่วงสิ้นปีนี้
  • นักลงทุนจับตา GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. ในคืนวันนี้
  • สัปดาห์หน้าจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐเดือนต.ค.จาก
Conference Board, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลง
มตัอัตราดอกเบี้ย, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมตัอัตราดอกเบี้ย, สหภาพยุโรป (EU) แถลง
อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือน ต.ค., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนต.ค. เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ