ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.74/76 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า คาดกรอบสัปดาห์หน้า 31.50-32.00 จับตารายงานตัวเลข GDP ของไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 17, 2019 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.74/76 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.66 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า ซึ่งเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของ สหรัฐฯ หลายตัวที่ออกมาค่อนข้างดี แต่ระหว่างวัน เงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ เนื่องจากไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าเงินบาทมากนัก

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.50 - 32.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.65/67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.96 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1163/1167 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1180 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,608.11 จุด ลดลง 6.64 จุด (-0.41%) มูลค่าการซื้อขาย 47,014 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,393.78 ลบ. (SET+MAI)
  • สัปดาห์หน้า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) รายงาน GDP ไตรมาส 1/2562
และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ต้องจับตาว่ารอบนี้สภาพัฒน์จะปรับลดประมาณการ GDP ของไทยลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่
3.5-4.5% หรือไม่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ทั้ง การส่งออก การบริโภค การลงทุน และอัตราเงินเฟ้อ
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดเงินบาทสัปดาห์หน้า (17-24 พค.2562 ) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.50-32.00
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะผันผวนได้ทั้งแข็งค่าและอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ประเด็นหนุนการแข็งค่า
ของเงินบาทมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่สูงต่อเนื่อง ประกอบกับความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอลงและส่งผลให้
ธนาคารกลางสหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดีเนื่องจากจีนและประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนสูง
ดังนั้นหากหยวนอ่อนค่าเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯก็จะส่งผลกดดันค่าเงินเอเซียโดยรวมรวมทั้งเงินบาทให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สหรัฐฯด้วย
  • นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ไทยพร้อมร่วมมือกับธนาคารโลก เพื่อยกระดับประเทศและภูมิภาคในทุกด้าน โดยในระยะยาว ไทย
ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้าน ซึ่งต้องการคำแนะนำและความเชี่ยวชาญจากธนาคารโลก ทั้งนี้ ไทยพร้อมสนับสนุนการจัดทำกรอบความเป็นหุ้น
ส่วนเพื่อการพัฒนาระดับประเทศ (Country Partnership Framework: CPF) กับธนาคารโลก เชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะนำ
ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ไทยอย่างยั่งยืน
  • สื่อทางการของรัฐบาลจีน ระบุว่า หากสหรัฐฯ ไม่เดินหน้าภายใต้รูปแบบหรือแนวทางใหม่ ที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจ
อย่างแท้จริง การเดินทางมาเจรจาการค้าของเจ้าหน้าที่สหรัฐในจีนก็ไม่มีความหมายอันใด พร้อมระบุด้วยว่า สหรัฐฯ ได้เจรจาเรื่องความ
ต้องการที่จะให้มีการเจรจาต่อรองต่อไป แต่ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็เล่นแง่เล็กๆ น้อยๆ เพื่อจะทำลายบรรยากาศ ซึ่งอ้างถึงความเคลื่อน
ไหวในการเข้ามาควบคุมบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ในสัปดาห์นี้
  • นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ให้ความเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะดำเนินมาตรการผ่อน
คลายทางการเงินมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ในขณะนี้ หากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง
0.25% ภายในสิ้นปี 2562 และปรับลดลงอีก 0.5% ภายในสิ้นปี 2563 พร้อมประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวต่ำกว่า 2% ในไตร
มาสต่อๆ ไป เนื่องจากผลกระทบการคุมเข้มนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางอิตาลี เปิดเผยว่า อิตาลีไม่สามารถประวิงเวลาในการเริ่มปรับลดหนี้สาธารณะของประเทศ ซึ่ง
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการจุดประเด็นหนี้สินขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หลังจากปัญหานี้ได้กดดันอิตาลีมาเป็นเวลาหลายปี และขณะนี้อยู่ใกล้
ระดับวิกฤติแล้ว โดยล่าสุด หนี้สาธารณะของอิตาลีใกล้แตะระดับ 2.4 ล้านล้านยูโร (2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเท่ากับ 132% ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ หนี้สาธารณะของอิตาลีอยู่ที่ระดับสูงสุดในสหภาพยุโรป (EU)
  • สัปดาห์หน้า สหรัฐจะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ
(FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมรอบวันที่ 30 เม.ย.- 1 พ.ค.62, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค., ยอดขายบ้านใหม่ และมือสอง
เดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ