ดีป้า แนะเร่งปั้นบุคลากรรองรับ 7 อุตสาหกรรมทคโนโลยีดิจิทัลไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 11, 2019 14:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายณัฐพล นิมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ร่วมกับฟอร์ท แอนด์ซัลลิสัน รายงานผลการคาดการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทย ในระยะ 5 ปี 10 ปี และ 15 ปี เพื่อสะท้อนโอกาสและความเป็นไปได้ของการส่งเสริมการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ในการศึกษาได้นำมากำหนดโรดแมพของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับประเทศไทย ควรมุ่งเน้น 7 ด้าน คือ อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things) ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โทรคมนาคมยุคใหม่ เทคโนโลยีกระจายข้อมูลบัญชี การประมวลผลควอนตัม และระบบอัตโนมัติ

สำหรับในระยะ 5 ปีแรก (63-68) ควรเน้น 6 เทคโนโลยี คือ อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โทรคมนาคมยุคใหม่ เทคโนโลยีบล็อกเชนจ์ และระบบอัตโนมัติ ส่วนระยะกลาง 10 ปี และระยะยาว 15 ปี ควรดำเนินการเหมือนช่วงแรก และเพิ่มการประมวลผลควอนตัม

"จากภาพการเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อรองรับการพัฒนาในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเราถือว่าคนเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ที่ต้องเร่งพัฒนาก่อน ภาคอุตสาหกรรมสมาร์ทดีไวด์ อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัลคอนเทนท์ อุตสาหกรรมสื่อสาร ดิจิทัลเซอร์วิส ฯลฯ ต้องการคน 40,000 คน ต่อปีเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม แต่มีกำลังการผลิตปีละ 13,000 - 20,000 คน รัฐจึงต้องมีนโยบายให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนมาเรียนในสายที่จำเป็นและดึงคนมาจากต่างประเทศ รัฐมีนโยบายตั้งรับความเปลี่ยนแปลงขณะที่เอกชนต้องมีมาตรการตั้งสู้กับความเปลี่ยนแปลงด้วย"

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังได้เสนอแนะให้ประเทศไทยเร่งพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล บล็อกเชน และอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการผลิต ภาคบริการ การท่องเที่ยวและสาธารณสุข ลดช่องว่างในการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัล ด้วยการดึงผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และร่วมมือกับบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ในการทำโครงการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญ เร่งตั้งศูนย์กลางความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทั้ง 7 ด้าน ต่อยอดการพัฒนา IoT Institute สร้างแพลตฟอร์มความรู้ ส่งเสริมเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ในระยะยาวควรส่งเสริมประเทศไทยในความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี Deep Technology สนับสนุนเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตในระดับสากล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ