ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.81 อ่อนค่าจากช่วงเช้า หลังกนง.ลดดอกเบี้ยเซอร์ไพร์สตลาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 7, 2019 17:49 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 30.81 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.71 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 30.70-30.90 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ค่อนข้างผันผวน แต่ถือว่าอ่อนค่าไม่มากนักถ้าเทียบกับการที่ กนง.เซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการลดดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่ในการ ประชุม กนง.รอบที่แล้วยังมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการประชุมครั้งนี้จะคงดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เนื่องจากมีมุมมองต่อเศรษฐกิจใน เชิงลบทุกรายการ ซึ่งหลังจากนี้ตลาดคงจับตารอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำออกมาใช้"นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยเรื่องผลประชุม กนง.คาดว่าตลาดคงรับข่าวกันไปเต็มที่ในวันนี้ และมีการรอขายแถวๆ 30.90-31.00 บาท/ ดอลลาร์ค่อนข้างมาก

ส่วนปัจจัยสำคัญหลังจากนี้ ตลาดคงกลับมาเกาะติดความไม่แน่นอนของการค้าโลก โดยเฉพาะสถานการณ์สงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯและจีนต่อไป

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้ระหว่าง 30.75-30.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 106.25 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 106.20 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1183 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1211 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,669.44 จุด ลดลง 2.04 จุด, -0.12% มูลค่าการซื้อขาย 84,465.14 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,604.29 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก
1.75% เป็น 1.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจ
ไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ และต่ำกว่าศักยภาพ โดยการส่งออกหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้

ในการประชุม กนง.ครั้งต่อไปจะมีการทบทวนและประกาศตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจใหม่ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้เดิม ขณะที่การส่งออกที่เคยประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวได้ 0% ในระยะต่อไปก็มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาด เมื่อพิจารณาจากปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบที่เริ่มชะลอตัว

  • ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ตามที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลด
ดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 1.50% ซึ่งผิดจากที่ตลาดคาดไว้ว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบาย ภายหลังจากที่มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อต้น
เดือนธ.ค.61 และนับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบมากกว่า 7 ปี มติ กนง.ดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทผันผวน โดยเงินบาท
อ่อนค่าลงทันทีจากระดับ 30.757 บาท/ดอลลาร์ มาแตะระดับสูงสุดที่ 30.880 บาท/ดอลลาร์
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีความเห็นต่อผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) ที่สร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยการลงมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.50% เป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับ
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ส่งผลให้เงินบาทอ่อนลงค่าอย่างรวดเร็วแตะระดับ 30.90 ต่อดอลลาร์ สำหรับแนวโน้มต่อไป คาดว่า อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ 1.50% ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยประเด็นสงครามการค้าโลกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อการปรับมุมมอง
ของธนาคาร
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบนี้ลด
ดอกเบี้ยจาก 1.75% เหลือ 1.50% นับว่าเหนือความคาดหมายที่ลดเร็วกว่าคาด จากก่อนหน้านี้มองว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยช่วงปลายปี
และไม่ได้มีการส่งสัญญาณก่อนหน้าเหมือนปกติที่ก่อนจะทำอะไรมักจะเห็นเสียงแตกของกนง. เช่น จากมติ 7-0 ที่คงดอกเบี้ยในการประชุม
รอบก่อนหน้า น่าจะออกผลด้วยมติ 6-1 หรือ 5-2 ก่อน แต่กลับมีการลดดอกเบี้ยในรอบนี้เลย
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย โดยขณะนี้ จึงยัง
คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2562 ไว้ตามกรอบเดิม
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดอีก 2 สัปดาห์
แล้วเสร็จ และเสนอเข้าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ พิจารณา โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะประชุมนัดแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ มองว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจจะเกิดขึ้นอีกในช่วง

ปลายปีนี้ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง รวมทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ