ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.63 แกว่งในกรอบแคบ ตลาดยังไร้ปัจจัยใหม่ รอดูผลการประชุม ECB

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 9, 2019 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 30.66 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบ 30.63-30.67 บาท/ดอลลารฺ์ เนื่องจากตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้า มา โดยนักลงทุนรอดูผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 12 ก.ย.62 และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วง ปลายสัปดาห์

"บาทแกว่งตัวแคบๆ ในกรอบตามแรงซื้อขายดอลลาร์ แต่ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่โดดเด่น ตลาดรอผลประชุม ECB และตัวเลข เศรษฐกิจสหรัฐช่วงสุดสัปดาห์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 30.60-30.70 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 107.07 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.92 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1042 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1018 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,671.22 จุด เพิ่มขึ้น 1.16 จุด, +0.07% มูลค่าการซื้อขาย 46,745.68 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 904.24 ล้านบาท (SET+MAI)
  • รมว.คลัง เผยเศรษฐกิจไม่ได้แย่อย่างที่โพลออกมา เชื่อว่าการที่รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง จะช่วย
ทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมระบุว่า หากมาตรการที่รัฐบาลออกมายังไม่เพียงพอต่อการช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย
รัฐบาลก็พร้อมที่จะพิจารณาออกมาตรการอื่นๆ มาเพิ่มเติม
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภายใน
เดือนก.ย.นี้ เพื่อหามาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคการเกษตรให้มีมูลค่ามากขึ้น
  • นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตรียมผลักดันแผนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ตามกำหนดเส้นตายเดิมในวันที่ 31
ต.ค. นี้ แม้กำลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากรัฐสภาและสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมที่พากันลาออกเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อความดึงดันของ
เขาที่จะนำอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง หรือ No Deal Brexit
  • รัฐมนตรีคลังฮ่องกงเปิดเผยว่า เหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 15 แล้วนั้น ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่
เดินทางเข้ามายังฮ่องกงลดฮวบลงเกือบ 40% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงหนักสุดนับตั้งแต่ฮ่องกงเผชิญการ
แพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ในเดือนพ.ค. 2546 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทาง
มายังฮ่องกงลดลงเกือบ 70% หลังจากโรค SARS ได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ